พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

อดีตนายกรัฐมนตรีสยาม

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ป.จ. ม.ป.ช. ต.ม. ป.ป.ร. ๔ อ.ป.ร. ๑ นามเดิม พจน์ พหลโยธิน (29 มีนาคม พ.ศ. 2430 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490) เป็นผู้นำทางทหารและนักการเมืองชาวไทย อดีตนายกรัฐมนตรีสยามคนที่ 2 ตั้งแต่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หลังการรัฐประหารและต่อมาได้วางมือจากการเมือง ตั้งแต่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481

พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)
พระยาพหลพลพยุหเสนาในเครื่องแบบทหาร
นายกรัฐมนตรีสยาม คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
(5 ปี 178 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
ตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477
(0 ปี 103 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)
ถัดไปหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477
(0 ปี 103 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ถัดไปพระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ.2477 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477
(0 ปี 174 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยาประเสริฐสงคราม
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478
(0 ปี 313 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยาอภิบาลราชไมตรี
ถัดไปพระยาศรีเสนา (ศรีเสนา สมบัติศิริ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479
(0 ปี 195 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยามานวราชเสวี
ถัดไปพระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ.2480 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
(0 ปี 134 วัน)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
ถัดไปพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 – 4 มกราคม พ.ศ. 2481
(5 ปี 182 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
ถัดไปพลเอก หลวงพิบูลสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2489
(1 ปี 216 วัน)
ก่อนหน้าพลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
ถัดไปพลเอก อดุล อดุลเดชจรัส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
พจน์

29 มีนาคม พ.ศ. 2430
เมืองพระนคร ประเทศ​สยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 (59 ปี)
วังปารุสกวันจังหวัดพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)[1]
พรรคการเมืองคณะราษฎร
คู่สมรส
บุตร
  • ภาพร
  • พรจันทร์
  • ชัยจุมพล
  • พุทธินาถ
  • พจี
  • พวงแก้ว
  • พรหมธรมหัชชัย
บุพการี
  • พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน) (บิดา)
  • จับ พหลโยธิน (มารดา)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ปรัสเซีย
ไทย สยาม
 ไทย
สังกัด กองทัพปรัสเซีย
กองทัพบกไทย
กองทัพไทย
ประจำการ2453–2455 (ปรัสเซีย)[ต้องการอ้างอิง]
2454–2490 (ไทย)
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชากองทัพบกไทย
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง[2]

พระยาพหลพลพยุหเสนาขึ้นชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีชีวิตเรียบง่าย ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง เขาเป็นนายกรัฐมนตรีสามสมัย และลาออกจากตำแหน่งเมื่อรัฐบาลแพ้เสียงในสภา เป็นผู้นำคณะราษฎรที่เป็นที่ยอมรับของทุกสายช่วยประสานงานระหว่างฝ่ายพลเรือนและทหาร และมือสะอาด แม้มีโอกาสมากมายที่สามารถแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวแต่ก็ไม่เคยฉกฉวยโอกาสเหล่านั้น ยามที่เขาถึงแก่อสัญกรรมพบว่าครอบครัวเขาไม่มีเงินพอจัดพิธีศพ และได้รับสมญานามว่า เชษฐบุรุษประชาธิปไตย[3]

ปฐมวัย

แก้
 
พจน์ พหลโยธิน ณ ประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2448

พจน์ พหลโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรพระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน)[4] ชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว [5] [6] มหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มารดาเป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ ชื่อว่านางจับ ซึ่งเป็นภรรยาคนที่ห้าของนายกิ่ม ภายหลังบิดาถึงแก่อนิจกรรม ท่านก็อยู่ภายใต้การอุปการะของพี่ชายต่างมารดาที่ชื่อนพ (ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลโยธินรามนิทราภักดี)

เมื่ออายุราวแปดขวบ บิดาพาไปฝากเรียนกับขุนอนุกิจวัตร ครูใหญ่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลลัย (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดพิชัยญาติ) ต่อมาในพ.ศ. 2444 พี่ชายที่เป็นทหารได้ฝากเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก[7][3] พจน์สอบได้อันดับหนึ่งในชั้นห้า จึงได้รับเลือกศึกษาวิชาทหารที่จักรวรรดิเยอรมันในปี พ.ศ. 2447 พจน์เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมนายร้อยในเมืองพ็อทซ์ดัมเป็นเวลาหนึ่งปี และเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยปรัสเซียในกรุงเบอร์ลินอีกสองปี[8] ซึ่งที่นี่ พจน์และนักเรียนไทยหลายคนได้เป็นเพื่อนร่วมชั้นกับแฮร์มัน เกอริง

ราชการทหาร

แก้

เมื่อจบการศึกษาใน พ.ศ. 2453 พจน์เข้ารับราชการทหารนายสิบในกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ของกองทัพเยอรมัน

ระหว่างนี้ได้รับยศร้อยตรีของสยามในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2454 และต่อมาในปีพ.ศ. 2455 พจน์เดินทางจากเยอรมนีไปศึกษาวิชาช่างแสงทหาร ณ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แต่กลับถูกเรียกตัวกลับก่อนเรียนจบ เนื่องจากนักเรียนทหารในเดนมาร์กเรียกร้องขึ้นเบี้ยหวัดจากกระทรวงกลาโหมสยาม กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงกริ้วและเรียกตัวนักเรียนทั้งหมดกลับ[7]

เมื่อกลับมาถึงสยามในกลางปี พ.ศ. 2457 พจน์ได้เลื่อนเป็นร้อยโทและเข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี ราวปี พ.ศ. 2459 ได้เป็นผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่บางซื่อ ในปีถัดมาได้เป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา[9] (ยศร้อยเอก) ปีถัดมาได้บรรดาศักดิ์เป็น หลวงสรายุทธ์สรสิทธิ์ ตำแหน่งผู้บังคับการทหารบกปืนใหญ่ที่ 2 จังหวัดพระนคร[10] และในปีพ.ศ. 2462 ได้สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ทหารบก กระทรวงกลาโหม และได้รับมอบหมายให้เดินทางไปตรวจรับปืนใหญ่และดูกิจการทหารในจักรวรรดิญี่ปุ่น ปรากฏว่าพจน์ปฏิบัติงานได้ดีเยี่ยมจนได้รับพระราชทานตราตั้งจากจักรพรรดิไทโชเป็นเกียรติยศสำหรับตนเองและประเทศชาติ เมื่อกลับมาสยามได้เลื่อนเป็นพันตรี และเจริญก้าวหน้าทางตำแหน่งขึ้นตามลำดับ

พ.ศ. 2473 เขาเป็นตำแหน่งจเรทหารปืนใหญ่ในยศพันเอก มีหน้าที่ตรวจการและให้ความรู้แก่เหล่าทหารปืนใหญ่ในกรมกอง ในช่วงนี้เขาเห็นว่าบรรดาเสนาบดีและทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้านั้นต่างยึดความคิดตนเองเป็นใหญ่ ไม่คิดจะฟังความคิดเห็นของทหารสามัญชน[11] เขาได้คัดค้านการซื้อปืนสโตร๊กบันของฝรั่งเศสเพราะเห็นว่าเป็นปืนเก่าล้าสมัย แต่นายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้ากลับดีเห็นงามกับการซื้อปืนชนิดนี้[11]

การปฏิวัติสยาม

แก้

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหนึ่งในสี่ทหารเสือร่วมกับพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน), พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) และพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนของการวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาพหลฯ รู้ดีว่าตัวเองไม่ได้ฉลาดที่สุดในกลุ่ม จึงให้พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทหาร รับผิดชอบวางแผนก่อการทั้งหมด ส่วนตัวเขาจะขอเป็นเพียงผู้นำไปปฏิบัติ

ก่อนก่อการ พระยาพหลพลพยุหเสนาได้กล่าวกับภรรยาไว้ว่า "...การที่คิดเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ ก็มิได้แน่ใจว่าจะทำสำเร็จดอก มองเห็นข้างศีรษะจะหลุดจากบ่านั้นมากกว่า แต่ที่เห็นแน่ตระหนักในใจก็คือ ถ้าไม่เร่งรัดจัดเปลี่ยนระบอบการปกครองเสียในเวลานี้แล้ว ต่อไปภายหน้าบ้านเมืองก็คงจะประสบแต่ความหายนะถึงล่มจมลงไปเป็นแน่..."[11] แล้วจึงออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์พิทยายุทธที่ขับรถมารับ มุ่งหน้าไปยังตำบลนัดพบ คือ บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ์ ในเวลา 05.00 น. เพื่อสมทบกับกลุ่มของพระยาทรงสุรเดช พร้อมกับเหน็บปืนพกโคลต์รีวอลเวอร์ที่เอวเป็นอาวุธข้างกาย ก่อนที่จะเดินทางไปที่กรมทหารม้าที่ 1 เกียกกาย เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติตามแผนของพระยาทรงสุรเดช ซึ่งที่คลังแสงภายในกรมทหารแห่งนี้ พระยาพหลฯ เป็นผู้ใช้คีมตัดเหล็กทำการตัดโซ่ที่คล้องประตูคลังแสง เพื่อขนกระสุนและปืนออกมา[12] ระหว่างนี้ พระประศาสน์ฯ ตรงไปเอารถเกราะออกจากโรงรถทหารอย่างเร่งรีบ[13]

เมื่อทหารทุกหน่วยมาพร้อมที่ลานพระบรมรูปแล้ว เวลาเจ็ดนาฬิกาเศษ พระยาพหลฯ เชิญนายทหารสัญญาบัตรมารายล้อม ในมือถือกระดาษแผ่นหนึ่งที่มีข้อความภาษาเยอรมัน แต่อ่านออกมาเป็นภาษาไทยด้วยน้ำเสียงแตกพร่าว่า[14] "บัดนี้คณะราษฎรอันประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ได้พร้อมใจกันเข้ายึดอำนาจการปกครองไว้แล้วโดยเด็ดขาด เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเยี่ยงนานาอารยประเทศทั้งหลาย..."[13] จากนั้นจึงนำกำลังเข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นกองบัญชาการ การปฏิวัติสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยในเวลาราวเที่ยงวัน

บทบาททางการเมือง

แก้
 
ผู้นำคณะราษฎร ประกอบไปด้วย หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์, พระยาพหลพลพยุหเสนา, ปรีดี พนมยงค์

เมื่อท่านต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 2 ของประเทศ แทนที่พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ที่ถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 การทำหน้าที่ของท่านไม่ราบรื่น เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงคราม ที่กำลังจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้น ทำให้ท่านต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จากนั้นก็ลงจากตำแหน่ง แล้วเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอีก 3 กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง ท่านก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 4 โดยนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังจากนั้น ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 และยุติบทบาททางการเมืองไป ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมาก็คือหลวงพิบูลสงคราม นายทหารรุ่นน้องที่ท่านไว้ใจนั่นเอง

พระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับพระราชทานวังปารุสกวัน จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นที่พำนัก แม้ถึงตอนที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งท่านได้ใช้ที่นี่เป็นที่พำนักพักอาศัยตราบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต[1]

พระยาพหลพลพยุหเสนา มีคติประจำใจว่า "ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชาย ต้องไว้ชื่อ" ชีวิตของท่านไม่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเลยแม้จะผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ มามากก็ตาม[1] ใน พ.ศ. 2487 ระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัฐบาลพันตรีควง อภัยวงศ์ ที่ขึ้นมาแทนที่รัฐบาลของจอมพลแปลก ที่ได้ลาออกไปก่อนหน้านั้น เมื่อรัฐบาลมีมติปลด จอมพลแปลก ออกจากตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ (ปัจจุบันคือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) ก็ได้ขอให้ท่านรับตำแหน่งนี้เอาไว้ ทั้งที่ท่านประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกแล้ว ประกอบกับร่างกายที่เป็นอัมพาตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก แต่ท่านก็รับไว้ในที่สุด แม้จะปรารภว่าจะให้เป็นท่านเป็นแม่ทัพกล้วยปิ้งหรืออย่างไร อีกทั้งระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพันตรีควง ในช่วงนี้ เป็นที่หวาดวิตกว่า อาจมีรัฐประหาร ด้วยกำลังทหารจากจังหวัดลพบุรี ที่ยังให้การสนับสนุนจอมพลแปลกอยู่ เพื่อยุติภาวะอันนี้ พันตรีควง จึงตัดสินใจเดินทางไปพบจอมพลแปลกด้วยตัวเองถึงที่บ้านพักส่วนตัว ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี หลังจากเจรจากันแล้ว จอมพลแปลกได้ยืนยันว่า ไม่มีความคิดเช่นนั้นเลย อีกทั้งยังมีความรักใคร่ พันตรีควง เสมือนเป็นน้องชายตนเอง ในการครั้งนี้ ด้วยความเป็นห่วงพันตรีควง พระยาพหลพลพยุหเสนาได้โทรศัพท์ไปสอบถามถึงบ้านพักของพันตรีควงถึง 2 ครั้ง เมื่อไม่ได้ความ ก็เดินทางออกจากวังปารุสกวันไปที่หลักสี่เพื่อรอคอยการกลับมาของพันตรีควงด้วยตนเอง ทั้งที่สภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย [2]

พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ล้มป่วยลงด้วยโรคอัมพาตเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2488 เนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก แต่ด้วยความสามารถของนายแพทย์และด้วยกำลังใจอันเข้มแข็ง ช่วงที่พระยาพหลฯ ล้มป่วย ท่านได้เคยสั่งไว้กับปรีดี พนมยงค์ และ หลวงอดุลเดชจรัส ซึ่งเปรียบเสมือนพินัยกรรมการเมืองไว้ว่า

“ประชาธิปไตย ซึ่งคณะผู้ก่อการ 24 มิถุนายน 75 ได้ปฏิบัติมาก็เพื่อให้แก่ คนไทยทุกคน ไม่ใช่ให้แก่หมู่คณะใด ฉะนั้น เมื่อสิ้นบุญไปแล้ว ก็ขอให้คนไทยทุกคนจงรักษาไว้ อย่ายอมให้หมู่คณะใดมายื้อแย่งไปใช้อย่างผิด ๆ”[15]

ท่านได้ต่อสู้โรคร้ายมาตลอดราว 2 ปีเศษ จนเมื่อเวลา 21.40 น. ของคืนวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2490 ได้เกิดอาการหายใจลึกและสะท้อน ชีพจรอ่อน พูดไม่ได้ มีเสมหะในลำคอมาก ม่านตาไม่ขยาย อาการทรุดลงตามลำดับ จนถึงเวลา 3.05 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ก็ได้ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยวัย 59 ปี 322 วัน นายแพทย์พร้อมกันลงความเห็นว่าเส้นโลหิตในสมองได้แตกอีกเป็นครั้งที่ 2 จึงเป็นเหตุให้ถึงแก่อสัญกรรม[16] ซึ่งงานศพของท่านทางครอบครัวไม่มีเงินเพียงพอที่จะจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ จนทางรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องเข้ามารับอุปถัมภ์ จัดการงานพระราชทานเพลิงให้ท่านแทน[1] ศพของพระยาพหลฯ ได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วังปารุสกวันและพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอยู่จำศีลภาวนาเมื่อคราวอุปสมบท

เหตุการณ์สำคัญขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แก้
  • 11 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2476 - การพยายามกระทำรัฐประหารโดยคณะกู้บ้านกู้เมือง
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (ปัจจุบัน พ.ศ. 2478) - รัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ
  • 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 - การจับกุมตัวคณะนายสิบ ข้อหากบฏในพระราชอาณาจักร
  • 9 สิงหาคม 2480 - กระทู้ถามเรื่องที่ดินพระคลังข้างที่ ของ นายเลียง ไชยกาล
 
ช่องเก็บอัฐิ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ภายในพระเจดีย์ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

อนุสรณ์

แก้

ภายหลังการอสัญกรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนตามนามสกุลของท่าน คือ ถนนพหลโยธิน และมีการสร้างโรงพยาบาลและใช้ชื่อเป็นการระลึกถึงท่าน คือ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งท่านถือว่าจังหวัดกาญจนบุรีเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีสะพานพหลพลพยุหเสนา ในเทศบาลเมืองกาญจนบุรีและปัจจุบัน มีการสร้างพิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อยู่ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของท่านมาก่อนในขณะเป็นผู้บังคับบัญชา ภายในรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ รูปปั้น ชุดเครื่องแบบ ตลอดจนรูปถ่าย จดหมายลายมือของท่าน และบัตรประจำตัว เพื่อเป็นแหล่งศึกษาชีวประวัติและเชิดชูเกียรติของท่าน ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัด อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2563 ราชกิจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเปลี่ยนชื่อค่ายทหาร จากชื่อ "ค่ายพหลโยธิน " มีที่ตั้ง ณ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ว่า "ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร " และพระราชทานนามย่อว่า "ค่ายภูมิพล"[17]

ครอบครัว

แก้

พระยาพหลพลพยุหเสนา สมรสครั้งแรกกับ คุณหญิงพิศ แต่ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับบุญหลง ธนะโสภณ มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน คือ

  1. นางสาวภาพร พหลพลพยุหเสนา
  2. นางพรจันทร์ ศรีพจนารถ
  3. พลตรี ชัยจุมพล พหลพลพยุหเสนา
  4. พันตรี พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา
  5. นางพจี พหลโยธิน สุทธินาค
  6. นางพวงแก้ว สาตรปรุง
  7. พันตำรวจโท พรหมธรมหัชชัย พหลพลพยุหเสนา

เกียรติยศ

แก้

ยศทหาร

แก้
  • 23 มกราคม พ.ศ. 2454: นายร้อยตรี[18]
  • 11 สิงหาคม พ.ศ. 2457: นายร้อยโท[19]
  • 2 กันยายน 2457 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน[20]
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459: นายร้อยเอก[21]
  • 29 สิงหาคม 2460 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรยศทหารบกไปพระราชทาน[22]
  • 21 เมษายน พ.ศ. 2462: นายพันตรี[23]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466: นายพันโท[24]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: นายพันเอก[25]
  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480: นาวาเอก นาวาอากาศเอก[26]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484: พลโท[27]
  • 21 ธันวาคม พ.ศ. 2485: พลเอก[28]
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486: พลเรือเอก พลอากาศเอก[29]

บรรดาศักดิ์

แก้
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2461: หลวงสรายุทธ์สรสิทธิ์[30]
  • 6 สิงหาคม 2462 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน[31]
  • 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2467: พระสรายุทธ์สรสิทธิ์[32]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474: พระยาพหลพลพยุหเสนา[33]
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485: ประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์[34]
  • 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488: คืนบรรดาศักดิ์ พระยาพหลพลพยุหเสนา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

ตำแหน่งทางวิชาการ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ส.พลายน้อย. พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2555. 137 หน้า. ISBN 9740208754
  2. 2.0 2.1 จรี เปรมศรีรัตน์. กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 : 61 ปีประชาธิปัตย์ยังอยู่ยั้งยืนยง. นนทบุรี : ใจกาย, 2552. 323 หน้า. ISBN 9789747046724
  3. 3.0 3.1 “เชษฐบุรุษ” พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พ.ศ. 2430-90 ศิลปวัฒนธรรม. 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
  4. เวปไซด์ทำเนียบรัฐบาลระบุว่าชื่อ "ถิ่น พหลโยธิน" [1]
  5. "ผมเชื่อว่ายังมีทหารแบบคุณพ่อ" พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ลูกชายผู้นำคณะราษฎร".
  6. "ประวัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-29.
  7. 7.0 7.1 นเรศ นโรปกรณ์, 100 ปี พระยาพหลฯกรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2531), 17.
  8. ย้อนราก “3 ทหารเสือ” คณะราษฎร ผลผลิตจากโรงเรียนนายร้อยเยอรมนี ศิลปะวัฒนธรรม. 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
  9. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการกับออกจากประจำการ (หน้า ๑๓๐๐) ราชกิจจานุเบกษา
  10. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายนายทหารรับราชการ (หน้า ๓๖๓๘) ราชกิจจานุเบกษา
  11. 11.0 11.1 11.2 กุหลาบ สายประดิษฐ์, เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บูรพาแดง, 2518)
  12. 24 มิถุนายน (6) จากเดลินิวส์ โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ.
  13. 13.0 13.1 หลอกทหารมาปฏิวัติ 2475 แผนการลวงของพระยาทรงสุรเดช ศิลปวัฒนธรรม. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563
  14. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  15. นริศ จรัสจรรยาวงศ์. (มิถุนายน, 2564). นระ 2475 ลาเวที ทิ้งชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ดวงหน้าสุดท้ายและอนุสาวรีย์ของ 3 ผู้นำคณะราษฎร. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 42 : ฉบับที่ 8.
  16. หนังสือ 111ปี ฯพณฯ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เชษฐบุรุษ พิมพ์ครั้งที่1 กันยายน 2552 หน้าที่ 90-91
  17. "โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนาม "ค่ายพหลโยธิน", "ค่ายพิบูลสงคราม" ตั้งแต่ 29 ธ.ค. 2562". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-03-29.
  18. พระราชทานยศทหารบก ราชกิจจานุเบกษา
  19. ตั้งตำแหน่งยศทหารบก ราชกิจจานุเบกษา
  20. รายวันส่งสัญญาบัตรยศนายทหารบกไปพระราชทาน
  21. พระราชทานยศนายทหารบก ราชกิจจานุเบกษา. 4 มิถุนายน 2459
  22. ส่งสัญญาบัตรยศทหารบกไปพระราชทาน
  23. พระราชทานยศทหารบก ราชกิจจานุเบกษา. 27 เมษายน 2462
  24. พระราชทานยศทหารและข้าราชการในกระทรวงกลาโหม ราชกิจจานุเบกษา. 20 พฤษภาคม 2466
  25. พระราชทานยศ
  26. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  27. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  28. พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2018-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา. 1 มกราคม 2486
  29. พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2018-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา. 23 พฤศจิกายน 2486
  30. "พระราชทานตั้งเลื่อนบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35: 208. 28 เมษายน 2461. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน
  32. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 1244. 20 กรกฎาคม 2467. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (ง): 3011. 15 พฤศจิกายน 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง การยกเลิกบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (33ก): 1089. 15 พฤษภาคม 2485. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-13. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๓๐๓๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  36. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑๒, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๘๐
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๒, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  38. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๐, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔
  39. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๗๙, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  40. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๕๖, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
  41. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๙๐, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  42. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๐๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๐
  43. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๗๗, ๒ มีนาคม ๒๔๗๒
  44. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๕๙, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  45. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๓, ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๕
  46. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๖๒๖, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๕
  47. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๙, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  48. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๓๐, ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๒
  49. "ตำแหน่งทางวิชาการ ศาสตราจารย์ธรรมศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
ก่อนหน้า พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ถัดไป
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)    
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 2
(21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 11 กันยายน พ.ศ. 2481)
  หลวงพิบูลสงคราม
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477)
  หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
(16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2477)
  พระสารสาสน์ประพันธ์
พลตรี พระยาประเสริฐสงคราม   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(1 เมษายน พ.ศ. 2477 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477)
  พลตรี หลวงพิบูลสงคราม
พระยาอภิบาลราชไมตรี   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
  พระยาศรีเสนา
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479)
  พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ)
พระยาฤทธิอัคเนย์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480)
  พระยาฤทธิอัคเนย์
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
  ผู้บัญชาการทหารบก (สมัยแรก)
(6 สิงหาคม พ.ศ. 2475 - 4 มกราคม พ.ศ. 2481)
  พันเอก หลวงพิบูลสงคราม
พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต   ผู้บัญชาการทหารบก (สมัยสอง)
(25 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2489)
  พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส