จักรพรรดิไทโช
จักรพรรดิไทโช (ญี่ปุ่น: 大正天皇; โรมาจิ: Taishō-tennō, 31 สิงหาคม ค.ศ. 1879 – 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ 123 และเป็นพระองค์ที่ 2 ที่ปกครองจักรวรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิไทโชมีพระนามจริงว่า โยชิฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 嘉仁; โรมาจิ: Yoshihito)
จักรพรรดิไทโช | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||||||
ครองราชย์ | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469 (14 ปี 148 วัน) | ||||||||
พิธีขึ้น | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 พระราชวังหลวงเกียวโต | ||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเมจิ | ||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิโชวะ | ||||||||
พระราชสมภพ | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2422 พระราชวังโทงู อากาซากะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โยชิฮิโตะ (嘉仁) | ||||||||
สวรรคต | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469 (47 พรรษา) พระตำหนักฮายามะ ฮายามะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น | ||||||||
ฝังพระศพ | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 สุสานหลวงมุซะชิ เมืองฮาจิโอจิ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | ||||||||
จักรพรรดินี | ซะดะโกะ คุโจ ต่อมาคือจักรพรรดินีเทเม อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 | ||||||||
พระราชบุตร | |||||||||
| |||||||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเมจิ | ||||||||
พระราชมารดา | พระสนมนารูโกะ | ||||||||
ลายพระอภิไธย |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระจักรพรรดิไทโชมีพระนามจริงว่า เจ้าชายโยชิฮิโตะ เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังอโอยามะ กรุงโตเกียว เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิเมจิ ที่พระราชสมภพแต่พระสนมนารูโกะ เนื่องจากเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียว ทำให้พระองค์ได้รับการอภิบาลจากจักรพรรดินีโชเก็ง พระอัครมเหสี ภายหลังประสูติได้ 6 วัน ทรงได้รับราชทินนามเป็น ฮารุโนะมิยะ (明宮) เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2422 เจ้าฮารุมีพระวรกายอ่อนแอมาตั้งแต่ประสูติ ด้วยสาเหตุทางพันธุกรรมจากพระราชบิดา ก่อนหน้าที่พระองค์จะประสูติ พระเชษฐาและพระเชษฐภคินีของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนถึง 4 พระองค์ โดย 2 พระองค์แท้งในครรภ์และ 2 พระองค์สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทารก
เมื่อพระองค์พระชนมายุได้ 5 พรรษา พระองค์ต้องประทับอยู่ที่พระราชวังอะโอะยะมะอย่างสันโดษกับเหล่าข้าราชบริพาร ในแต่ละวันพระองค์ทรงเรียนหนังสือในวิชา การอ่านเขียน, คณิตศาสตร์ และศีลธรรมในช่วงเช้า และกีฬาในช่วงบ่าย แต่พัฒนาการของพระองค์ดำเนินอย่างช้ามาก เนื่องจากพระพลานามัยที่ไม่แข็งแรงและประชวรบ่อย ในปี พ.ศ. 2429 พระองค์เข้ารับการเรียนการสอนร่วมกับเพื่อนร่วมห้องราว 15-20 คนที่ถูกคัดสรรมาจากบรรดาบุตรหลานของเจ้านายชั้นอนุวงศ์และขุนนาง
พระองค์ได้รับประกาศเป็นรัชทายาทเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2430 ในวันคล้ายวันพระประสูติครบ 8 ปีของพระองค์ โดยทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430
ชีวิตส่วนพระองค์
แก้เจ้าชายโยชิฮิโตะ อภิเษกสมรสกับซาดาโกะ คูโจ ต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินีเทเม ซึ่งเป็นพระธิดาในมิชิทะกะ คุโจ ซึ่งเป็นคนจากวงศ์ตระกูลฟุจิวะระ มีพระโอรสธิดาทั้งหมด 4 พระองค์
พระราชบุตร
แก้พระนาม | ประสูติ | อภิเษกสมรส | พระบุตร | |
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโชวะ | 29 เมษายน พ.ศ. 2444 สวรรคต 7 มกราคม 2532 |
26 มกราคม พ.ศ. 2467 | จักรพรรดินีโคจุง | ชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิ เจ้าหญิงซาจิโกะ ฮิซะโนะมิยะ คาซูโกะ ทากัตสึกาซะ อัตสึโกะ อิเกดะ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนมิยะ ทากาโกะ ชิมาซุ |
เจ้าชายยาซูฮิโตะ ชิจิบุโนะมิยะ | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2445 สิ้นพระชนม์ 4 มกราคม 2496 |
28 กันยายน พ.ศ. 2471 | เซ็ตสึโกะ มัตสึไดระ | |
เจ้าชายโนบูฮิโตะ ทากามัตสึโนะมิยะ | 3 มกราคม พ.ศ. 2448 สิ้นพระชนม์ 3 กุมภาพันธ์ 2530 |
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 | คิกูโกะ โทกูงาวะ | |
เจ้าชายทากาฮิโตะ มิกาซะโนะมิยะ | 2 พ.ศ. 2458 สิ้นพระชนม์ 27 ตุลาคม 2559 |
22 ตุลาคม พ.ศ. 2484 | ยูริโกะ ทากางิ | ยาซูโกะ โคโนเอะ เจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะ เจ้าชายโยชิฮิโตะ คัตสึระโนะมิยะ มาซาโกะ เซ็ง เจ้าชายโนริฮิโตะ ทากามาโดโนมิยะ |
สวรรคต
แก้ต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2469 มีประกาศว่าจักรพรรดิไทโชประชวรด้วยอาการพระปับผาสะบวม และสวรรคตลงด้วยอาการพระหทัยวาย ในเวลา 01.25 น. ของวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ที่พระราชวังฮะยะมะ จังหวัดคะนะกะวะ พระองค์ได้รับการขนานนามว่า จักรพรรดิองค์แรกแห่งโตเกียว[1]
พระราชอิสริยยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระจักรพรรดิโยชิฮิโตะ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | เท็นโนเฮกะ (天皇陛下) |
การขานรับ | เฮกะ |
- 31 สิงหาคม 1879 – 6 กันยายน 1879: เจ้าชายโยชิฮิโตะ
- 6 กันยายน 1879 – 3 พฤศจิกายน 1888: เจ้าชายโยชิฮิโตะ ฮารุโนะมิยะ
- 3 พฤศจิกายน 1888 – 30 กรกฎาคม 1912: มกุฏราชกุมารโยชิฮิโตะ
- 30 กรกฎาคม 1912 – 25 ธันวาคม 1926: สมเด็จพระจักรพรรดิ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Seidensticker, Edward. (1990). Tokyo Rising, p. 18.
ก่อนหน้า | จักรพรรดิไทโช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิเมจิ | จักรพรรดิญี่ปุ่น (พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2469) |
จักรพรรดิโชวะ | ||
เจ้าชายมุสึฮิโตะ ภายหลังคือ จักรพรรดิเมจิ |
มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น (พ.ศ. 2403 - พ.ศ. 2455) |
เจ้าชายฮิโระฮิโตะ ภายหลังคือ จักรพรรดิโชวะ |