จักรพรรดินีโคจุง

สมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ หรือพระนามเมื่อเสด็จสวรรคตคือจักรพรรดินีโคจุง (ญี่ปุ่น: 香淳皇后โรมาจิkōjun kōgō; 6 มีนาคม ค.ศ. 1903 – 16 มิถุนายน ค.ศ. 2000) พระนามเดิม เจ้าหญิงนางาโกะแห่งคูนิ (ญี่ปุ่น: 良子女王โรมาจิNagako Joō) เป็นพระจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิโชวะ และเป็นพระราชมารดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ถือเป็นจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น[1] รวม 63 ปีเต็ม

จักรพรรดินีโคจุง
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
พระพันปีหลวง
จักรพรรดินีนางาโกะทรงฉลองพระองค์ราชสำนักเต็มยศพร้อมเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นที่ 1 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1 ราวค.ศ. 1928
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ดำรงพระยศ25 ธันวาคม ค.ศ. 1926 – 7 มกราคม ค.ศ. 1989
(62 ปี 13 วัน)
พระพันปีหลวง
ดำรงพระยศ7 มกราคม ค.ศ. 1989 – 16 มิถุนายน ค.ศ. 2000 (10 ปี 13 วัน)
พระราชสมภพ6 มีนาคม ค.ศ. 1903
จังหวัดโตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
สวรรคต16 มิถุนายน ค.ศ. 2000
(97 พรรษา)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ฝังพระศพ25 กรกฎาคม ค.ศ. 2000
สุสานหลวงมูซาชิ ฮาจิโอจิ
พระราชสวามีจักรพรรดิโชวะ (ค.ศ. 1924–1989)
พระราชบุตร
ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาเจ้าชายคูนิโยชิ คูนิโนะมิยะ
พระราชมารดาชิกาโกะ ชิมาซุ

พระองค์เป็นจักรพรรดินีพระองค์แรกของญี่ปุ่นที่ไม่ได้มาจากตระกูลฟูจิวาระ โดยทั้งจักรพรรดินีโชเก็งและจักรพรรดินีเทเมล้วนมาจากตระกูลฟูจิวาระทั้งสิ้น เมื่อจักรพรรดินีนางาโกะเสด็จสวรรคต พระนางจึงได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดินีโคจุง ซึ่งมีความหมายว่า ความบริสุทธิ์หอมหวาน[2]

เชื้อสายและพระอิสริยยศ

แก้

พระนางเป็นสมาชิกพระราชวงศ์ญี่ปุ่นซึ่งสืบเชื้อสายจากเจ้าคูนิ โนะ มิยะ และตั้งแต่ประสูติจนกระทั่งจักรพรรดิโชวะขึ้นสืบราชสมบัติ พระอิสริยยศและสถานะของพระองค์คือ เจ้าหญิงนางาโกะ และตามกฎราชวงศ์ญี่ปุ่นจะทูลพระนางว่า "ไฮเนส" (เดนกะ)

ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1924 (ปีไทโชที่ 13) พระนางอภิเษกสมรสกับเจ้าชายผู้สำเร็จราชการฮิโรฮิโตะ ซึ่งต่อมาคือจักรพรรดิโชวะ[3] ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรส 2 พระองค์และพระราชธิดา 5 พระองค์ ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926 จักรพรรดิไทโชเสด็จสวรรคต จักรพรรดิโชวะได้สืบราชบัลลังก์ พระนางจึงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินี

ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1989 (ปีโชวะที่ 64) จักรพรรดิโชวะเสด็จสวรรคต มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ พระราชโอรสองค์ใหญ่ ได้สืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิอากิฮิโตะ จักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ 125 และพระชายาของพระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดินีมิจิโกะ จักรพรรดินีนางาโกะจึงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระพันปีหลวง ในวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1996 (ปีเฮเซที่ 8) พระนางทรงมีพระชนมายุ 93 พรรษา ทรงมีพระชนมพรรษายืนยาวกว่าจักรพรรดินีฟุจิวะระ โนะ ฮิโระโกะ พระมเหสีในจักรพรรดิโกะ-เรเซ ผู้ทรงเป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าซึ่งมีพระชนมายุ 92 พรรษาตามการนับอายุแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น จักรพรรดินีนางาโกะ พระพันปีหลวงจึงกลายเป็นสมาชิกราชวงศ์ที่ทรงพระชนมายุยาวนานที่สุด ถ้าไม่นับยุคสมัยเทพเจ้า

พระนางเสด็จสวรรคตในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2000 (ปีเฮเซที่ 12) และทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศหลังสวรรคตว่า "จักรพรรดินีโคจุง"

ด้วยจักรพรรดิโชวะ พระราชสวามีของพระนาง เป็นจักรพรรดิผู้ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ พระนางก็ทรงเป็นจักรพรรดินีญี่ปุ่นที่เคียงข้างราชบัลลังก์มาอย่างยาวนานที่สุดเช่นกัน (62 ปี 14 วัน) และทรงเป็นจักรพรรดินีที่ทรงมีพระชนมายุมากที่สุด (สวรรคตขณะ 97 พรรษา) หากไม่นับสมัยเทพเจ้า พระนางทรงเป็นจักรพรรดินีและมกุฎราชกุมารีพระองค์สุดท้ายที่สืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์[i]

เมื่อจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน พระองค์ที่ 126 ขึ้นสืบราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 2019 (ปีเรวะที่ 1) จักรพรรดิโชวะและจักรพรรดินีโคจุงทรงกลายเป็นบรรพบุรุษร่วมกันใกล้สุดของเจ้าชายที่มีสิทธิสืบราชบัลลังก์ญี่ปุ่น 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ, เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะและเจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนะมิยะ

พระราชประวัติ

แก้

ขณะทรงพระเยาว์

แก้

เจ้าหญิงนางาโกะ ประสูติ ณ กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ปีเมจิที่ 36 (ค.ศ.1903) เวลา 06.25 น. เป็นพระธิดาคนที่ 3 จาก 6 พระองค์ ในเจ้าชายคูนิโยชิ คูนิโนะมิยะ กับ ท่านหญิงชิกาโกะ ชิมาซุ ท่านหญิงชิกาโกะเป็นธิดาในชิมาซุ ทาดาโยชิ (รุ่นที่ 2)[4][5] พระองค์มีพระเชษฐา 2 พระองค์ พระขนิษฐา 2 พระองค์ และพระอนุชา 1 พระองค์ โดยในช่วงที่พระนางประสูติ เป็นช่วงที่วัฒนธรรมจากตะวันตกไหลบ่าเข้ามาในญี่ปุ่น เจ้าคูนิ พระบิดา ยังทรงเลี้ยงดูเจ้าหญิงนางาโกะตามจารีตดั้งเดิมมาโดยตลอด โดยพระบิดาของเจ้าหญิงนางาโกะ สืบเชื้อสายมาจากราชสกุลฟุชิมิ ซึ่งไม่ได้มาจากตระกูลฟูจิวาระ (มีตระกูลย่อย ได้แก่ ตระกูลโคโนะเอะ, อิชิโจ, นิโจ, คะซะสึคะซะ และคุโจ) ส่วนพระมารดาสืบเชื้อสายมาจากไดเมียว ทำให้เจ้าหญิงนางาโกะ เป็นพระจักรพรรดินีพระองค์แรก ที่ไม่ได้มาจากตระกูลฟูจิวาระ[6]

เมื่อเจ้าหญิงนางาโกะประสูติ ตระกูลคูนิได้แสวงหาแม่นมจากกระทรวงพระราชสำนัก และผู้ว่าราชการของแต่ละจังหวัดได้แนะนำสตรีทั้งหมด 6 คน[7] ในที่สุดก็ได้เลือก มง เซกิเนะ (ขณะนั้นเธออายุได้ 20 ปี) ซึ่งเพิ่งสูญเสียบุตรในครรภ์ไป เธอจึงได้รับการคัดเลือกจากตระกูลเก่าแก่ของจังหวัดไซตามะ[7] มงได้ระลึกความทรงจำว่า เจ้าหญิงนางาโกะทรงโปรดการเสวยมากและมีพระพลานามัยแข็งแรงมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งนั่นทำให้เจ้าหญิงชิกาโกะ พระชนนีของเจ้าหญิงประหลาดใจมาก[8] ตระกูลคูนิใช้ชีวิตเรียบง่าย และฉลองพระองค์ของเจ้าหญิงนางาโกะก็มาจากฝีมือการตัดเย็บของมง ซึ่งเธอก็ได้เย็บเสื้อผ้าตัวอื่นๆ ขึ้นมาใหม่ด้วย[9] เจ้าหญิงนางาโกะทรงมีจิตใจดีแต่ก็แข็งแกร่ง เนื่องจากทรงเป็นพระเชษฐภคินีของพระขนิษฐาทั้งสองพระองค์ พระนางจึงดูแลพระขนิษฐาเป็นอย่างดี มีบันทึกว่า บางครั้งพระขนิษฐาสองพระองค์ (เจ้าหญิงโนบูโกะและเจ้าหญิงโทโมโกะ) มักจะเลียนแบบการกระทำของพระเชษฐภคินีเสมอ[10]

 
เจ้าหญิงนางาโกะแห่งคูนิ ขณะพระชนมายุ 7 ชันษา(พระบรมฉายาลักษณ์ ค.ศ. 1910)
เจ้าหญิงนางาโกะแห่งคูนิ ขณะพระชนมายุ 7 ชันษา(พระบรมฉายาลักษณ์ ค.ศ. 1910) 
 
เจ้าหญิงทั้งสามแห่งตระกูลคูนิ(ฉายในปีค.ศ. 1912)
เจ้าหญิงทั้งสามแห่งตระกูลคูนิ(ฉายในปีค.ศ. 1912) 

เข้ากากุชูอิน

แก้
 
ชั้นเรียนในโรงเรียนสตรีกากุชูอิน เจ้าหญิงนางาโกะทรงอยู่แถวหน้าฝั่งขวา (ภาพถ่ายในปี 1916)

ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1907 (ปีเมจิที่ 40) เจ้าหญิงนางาโกะทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนอนุบาลกากุชูอิน ซึ่งเป็นโรงเรียนของสตรีชั้นสูงของญี่ปุ่นในระดับนั้น ตามบันทึกความทรงจำของทากะ อาดาจิ[ii] บันทึกว่า ในโรงเรียนอนุบาล พระบรมวงศานุวงศ์จะเสวยพระกระยาหารเที่ยงแยกจากเด็กคนอื่นๆ รวมถึงมีการแยกเด็กชายและเด็กหญิง แต่ในตอนนั้น เจ้าหญิงนางาโกะและเจ้าหญิงโนบูโกะ พระขนิษฐา ได้ร่วมห้องเสวยกับเจ้าชายฮิโรฮิโตะ (ซึ่งต่อมาคือจักรพรรดิโชวะ) และเจ้าชายยาซูฮิโตะ (ซึ่งต่อมาคือ เจ้าชิชิบุ)[11] ยูกะ โนกูชิ ซึ่งเป็นอาจารย์โรงเรียน เห็นเหตุการณ์นี้ก็มีลางสังหรณ์ว่าเจ้าชายฮิโรฮิโตะและเจ้าหญิงนางาโกะอาจจะได้อภิเษกสมรสกันในอนาคต[12]

ใน ค.ศ. 1909 (ปีเมจิที่ 42) เจ้าหญิงได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสตรีกากุชูอิน ในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทรงอยู่ในชั้นเรียนและไม่เข้าใจความหมายของคำว่า กะละมัง สิ่งนี้ช่วยสอนให้พระนางเริ่มเรียนรู้วิธีการซักผ้าด้วยพระองค์เอง และเจ้าหญิงทรงร่วมซักผ้ากับเหล่าแม่บ้านด้วยกันเป็นระยะเวลาหลายปี[13]

ในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 (ปีเมจิที่ 45/ปีไทโชที่ 1) หลังการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิเมจิ พระราชอัยกาในพระราชสวามีในอนาคตของพระนาง เจ้าหญิงนางาโกะได้เสด็จเข้าพระราชวังหลวงพร้อมกับเจ้าหญิงชิกาโกะ พระชนนี และเจ้าชายคูนิโนะมิยะ พระชนก เพื่อแสดงความเคารพแก่จักรพรรดินีโชเก็ง พระพันปีหลวง ซึ่งตัวเจ้าหญิงทรงเป็นที่ดึงดูดความสนพระทัยของพระพันปีหลวง[14]

ในค.ศ. 1915 (ปีไทโชที่ 4) เจ้าหญิงทรงเข้าศึกษาต่อมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสตรีกากุชูอินตามคำแนะนำของจักรพรรดินีโชเก็ง พระพันปีหลวง ซึ่งพระนางเสด็จสวรรคตไปแล้วเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1914 (ปีไทโชที่ 3) และในฤดูร้อนของปี 1915 เจ้าชายฮิโรฮิโตะทรงปีนภูเขาคามิในเมืองฮาโกเนะพร้อมด้วยพระสหายร่วมชั้นของพระองค์ เจ้าหญิงนางาโกะก็เป็นหนึ่งในกลุ่มสหายหลายคนที่ไปส่งเจ้าชายที่เรียวกังมิยาอูชิซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน[15]

ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916 (ปีไทโชที่ 5) มีการจัดพระราชพิธีสถาปนามกุฎราชกุมารของเจ้าชายฮิโรฮิโตะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจักรพรรดินีเทเม หรือ จักรพรรดินีซาดาโกะเสด็จเยือนโรงเรียนสตรีกากุชูอินอย่างไม่เป็นทางการเพื่อทรงทอดพระเนตรพฤติกรรมและเฟ้นหาสตรีที่เหมาะสมสำหรับมกุฎราชกุมาร[16] พระสหายร่วมชั้นของเจ้าหญิงจำได้ว่าแม้ว่าในหมู่เด็กหญิงวิ่งเล่นกันอย่างบ้าคลั่ง แต่เจ้าหญิงนางาโกะก็ยังทรงประพฤติดี สงบ และคล่องแคล่ว[17] ในบรรดารุ่นพี่ของเจ้าหญิงนางาโกะได้แก่ เจ้าหญิงมาซาโกะ นาชิโมโตะ ซึ่งเป็นพระญาติ (ต่อมาเจ้าหญิงมาซาโกะ นาชิโมโตะ ได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิงบังจา มกุฎราชกุมารีแห่งเกาหลีจากการสมรสกับเจ้าชายอี อึน มกุฎราชกุมารเกาหลี ซึ่งทำให้ได้สัญชาติเกาหลี) และพระสหายร่วมชั้นของพระนาง คือ โทกิโกะ อิชิโจ (ซึ่งต่อมาคือ เจ้าหญิงฟูชิมิจากการเสกสมรสกับเจ้าชายฟูชิมิ ฮิโรโยชิจากตระกูลฟูชิมิ โนะ มิยะ) ตัวเลือกทั้งสามเป็นว่าที่พระคู่หมั้นของมกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ[18]

จักรพรรดินีเอโช พระพันปีหลวงมาจากตระกูลคูโจ จักรพรรดินีโชเก็งมาจากตระกูลอิชิโจ และจักรพรรดินีซาดาโกะ มาจากตระกูลคูโจ ดังนั้นโทกิโกะ อิชิโจจึงเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้ที่สุด[19] อย่างไรก็ตามมีความกังวลว่า เจ้าหญิงมาซาโกะ นาชิโมโตะมีพระชนมายุเท่ากันกับมกุฎราชกุมาร แต่มีปัญหาของตระกูลนาชิโมโตะที่มีบุตรยาก และพระบิดาของเจ้าหญิงมีอิทธิพลทางการเมืองไม่มากนัก ส่วนโทกิโกะ อิชิโจเป็นพระญาติฝ่ายจักรพรรดินีที่มีสายเลือดใกล้ชิดกันเกินไป ดังนั้นจึงมีการเลือกเจ้าหญิงนางาโกะแห่งคูนิเป็นว่าที่พระชายาในมกุฎราชกุมาร[19] ว่ากันว่ามกุฎราชมารฮิโระฮิโตะได้เสด็จประทับรถม้ามายังโรงเรียน ซึ่งในเวลานั้นเจ้าหญิงนางาโกะ ถือเป็นสตรีที่ถือว่ามีพระสิริโฉมพระองค์หนึ่ง แม้พระองค์จะสวมฉลองพระองค์เป็นกิโมโน และกระโปรงฮากามะ ซึ่งเป็นกระโปรงจับจีบแบบญี่ปุ่น รวบพระเกศาด้วยริบบิ้นสีขาว และถุงพระบาทสีดำ เมื่อมกุฎราชกุมารฮิโระฮิโตะทอดพระเนตรเห็น และให้ความสนพระทัยเจ้าหญิงนางาโกะ[1] พระองค์ก็ตัดสินพระทัยที่จะเลือกมาเป็นพระคู่หมั้น[20]

การศึกษาของเจ้าหญิงและการเลื่อนพระราชพิธีอภิเษกสมรส

แก้
 
เจ้าหญิงนางาโกะแห่งคูนิ ในค.ศ. 1918 พระชนมายุ 15 พรรษา

ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1918 (ปีไทโชที่ 7) ไวเคานต์ทากานาโอะ ฮาตาโนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระราชสำนัก ได้แจ้งต่อเจ้าชายคูนิโยชิ คูนิโนะมิยะ พระราชบิดาของเจ้าหญิง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 ที่ประจำอยู่ที่เมืองโทโยฮาชิ จังหวัดไอจิ ว่า เจ้าหญิงนางาโกะทรงได้รับเลือกให้เป็นพระชายาในมกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ[21] เจ้าชายคูนิโยชิจึงรีบเสด็จกลับโตเกียว และไปยังพระราชวังในทันที จากนั้นทรงตอบรับการหมั้นระหว่างพระธิดาของพระองค์กับมกุฎราชกุมารต่อจักรพรรดิโยชิฮิโตะ (ไทโช) และจักรพรรดินีซาดาโกะ[21]

หลังจากข่าวนี้ถูกเปิดเผยในวันที่ 19 มกราคม มีการประกาศในช่วงเข้าแถวตอนเช้าของกากุชูอินว่าในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เจ้าหญิงต้องถอนออกจากการศึกษาเพราะต้องทรงหมั้น จากนั้นตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน เจ้าหญิงนางาโกะต้องได้รับการศึกษาอบรมในฐานะโคไตชิฮิ (มกุฎราชกุมารี) ในสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นภายในตำหนักของตระกูลคูนิ สถาบันการศึกษานี้ถูกเรียกว่า "โอฮานะโกเต็น" (วังดอกไม้) นอกเหนือจากพระขนิษฐาที่เข้าศึกษาด้วยแล้ว ยังมีพระสหายร่วมชั้นเรียนที่สนิท เช่น ซาดาโกะ ซาโต (บุตรสาวคนโตของทัตสึจิโร ซาโต ซึ่งต่อมาเป็นภรรยาของชิเงยูกิ คาโต) และโนบูโกะ ฮิรายามะ (บุตรสาวคนที่ห้าของชิเงโนบุ ฮิรายามะ) ทั้งหมดได้ร่วมศึกษาพร้อมกัน หลังจากจบหลักสูตรที่กากุชูอิน[22] ได้มีการวางแผนการศึกษาของเจ้าหญิงไว้ว่าจะใช้เวลาสองหรือสามปี ในสถาบันดังกล่าว เจ้าหหญิงประทับอยู่กับหัวหน้าฝ่ายการศึกษา คิคุโนะ โกคัง และศึกษาในหลากหลายวิชาเช่น ด้านวิชาการ วัฒนธรรม เทนนิส และศิลปะการใช้ดาบนากินาตะ[23] นอกจากนี้เจ้าหญิงยังทรงเรียนเปียโนกับอายาโกะ โกเบ[24]

อาคารวังดอกไม้นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อเตรียมการศึกษาแก่มกุฎราชกุมารีโดยเฉพาะ ซึ่งต่อมามีการบริจาคอาคารให้แก่โรงเรียนมัธยมปลายสตรีเขตสามแห่งจังหวัดโตเกียว ซึ่งตั้งอยู่ในแขวงอาซาบุ โตเกียว (ปัจจุบันคือ ย่านอาซาบุ-จูบัง เขตมินาโตะ (โตเกียว))[25] เนื่องด้วยการปฏิรูปการศึกษาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนมัธยมปลายสตรีเขตสาม จังหวัดโตเกียว จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมศึกษาโคมาบะมหานครโตเกียว และย้ายไปตั้งในย่านโอฉาชิ, เขตเมงูโระ, โตเกียว วังดอกไม้ หรือ อาคารโอฮานะ จึงถูกย้ายมาที่ตั้งปัจจุบันและกำหนดไว้เป็น "หอพักเกียวโกะ"[25]

ในค.ศ. 1919 (ปีไทโชที่ 8) มกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะทรงเพิ่งทราบข่าวการหมั้นหมายของพระองค์[26] ในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน จักรพรรดินีซาดาโกะ หรือ จักรพรรดินีเทเม พระราชทานทองข้อพระกรเพชรแก่เจ้าหญิงนางาโกะ ว่าที่พระชายาในอนาคตของพระราชโอรส ซึ่งเป็นทองข้อพระกรเดียวกันกับที่พระนางได้รับพระราชทานมาจากจักรพรรดินีโชเก็ง[27] ในวันที่ 4 พฤศจิกายน เจ้าชายและเจ้าหญิงคูนิ กราบทูลเชิญมกุฎราชกุมารเสด็จมายังตำหนักที่ประทับในย่านชิบูย่า เพื่อให้เจ้าหญิงนางาโกะเข้าเฝ้าฯ[28] อย่างไรก็ตามการดูตัวพระองค์ในครั้งนี้เป็นเพียงพิธีการเท่านั้นและทั้งสองพระองค์ไม่ได้ตรัสอะไรกันเลย[26]

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 (ปีไทโชที่ 10) มกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จักรพรรดิโยชิฮิโตะที่ทรงพระประชวร ในปีเดียวกันนั้นเองได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "เหตุการณ์ร้ายแรงในราชสำนัก" ขึ้น เมื่อเก็นโร ยามางาตะ อาริโตโมะ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและนายกรัฐมนตรีสองสมัยในรัชกาลก่อน ออกมาบีบบังคับให้ตระกูลคูนิ โนะ มิยะถอนตัวออกจากการหมั้นหมายครั้งนี้ จอมพลชราอ้างถึงความเสี่ยงทางพันธุกรรมของเจ้าหญิงนางาโกะที่มีเชื้อสายเป็นโรคตาบอดสี ซึ่งสืบมาจากตระกูลชิมาซุ ซึ่งทำให้พระนางไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารี รายละเอียดของเหตุการณ์ดังกล่าวมีการดำเนินการเป็นความลับขั้นสูงสุด แต่ก็มีความคาดเดาแพร่สะพัดออกมามากมาย และมีความเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นแผนการสมคบคิดของยามางาตะเพื่อรักษาอิทธิพลในราชสำนักของเขาให้ดำรงอยู่ต่อไป การดำเนินแผนการของยามางาตะครั้งนี้ กลับทำให้หลายคนแสดงความเห็นอกเห็นใจตระกูลคูนิมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ฝ่ายต่อต้านยามางาตะก่อตัวขึ้นออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ยามางาตะพยายามที่จะควบคุมราชสำนัก[29] รวมถึงนายกรัฐมนตรี ฮาระ ทากาชิ ตลอดจนคณะรัฐมนตรีฮาระ ได้ใช้เหตุการณ์นี้เพื่อกำจัดยามางาตะออกจากอำนาจ และในที่สุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ กระทรวงพระราชสำนักได้ออกประกาศว่า "ประเด็นการสถาปนาเจ้าหญิงนางาโกะเป็นมกุฎราชกุมารี กระทรวงเราได้ยินข่าวลือต่างๆ มากมายหลากหลายทั่วโลก แต่การตัดสินใจดังกล่าวยังคงไม่เปลี่ยนแปลง" และเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการแก้ไขวิกฤต (การห้ามเผยแพร่บทความต่างๆ ในหนังสือพิมพ์ก็ถูกยกเลิกในวันต่อมาด้วย)

เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เจ้าชายคูนิโยชิทรงทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อจักรพรรดินีซาดาโกะ ว่า เจ้าหญิงไม่ทรงสามารถปฏิเสธการหมั้นหมายได้อาศัยตามประกาศของกระทรวงพระราชสำนัก ซึ่งเจ้าชายกดดันให้จักรพรรดินีต้องทรงตัดสินพระทัยดำเนินการโดยทันที[30] ตั้งแต่วันหมั้นจนถึงวันเกิดเหตุการณ์ มีบทความพร้อมพระฉายาลักษณ์ของเจ้าหญิงนางาโกะเพียง 5 บทความเท่านั้น[31] แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว บทความหลายบทความได้ถูกตีพิมพ์ขึ้น เริ่มต้นด้วยนิตยสารภาษาอังกฤษ เดอะฟาร์อีสต์ ที่ให้ความสำคัญแก่เจ้าหญิงนางาโกะในฐานะหญิงสาวผู้ทรงธรรมจริยา (คุณสมบัติ) เพียบพร้อมที่จะสามารถเป็นมกุฎราชกุมารีและจักรพรรดินีในอนาคต[32] แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนใหญ่มาจากพระอาจารย์ส่วนพระองค์ของเจ้าหญิงคือ คิคุโนะ โกคัง และผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพระราชวัง นาโอฮาชิโร คูริตะ และนอกเหนือจากบทความแล้วยังมีความเรียงและรูปถ่ายของเจ้าหญิงนางาโกะด้วย จึงเชื่อได้ว่า ตระกูลคูนิ โนะ มิยะพยายามเข้าครอบงำสื่อสิ่งพิมพ์[33]

นอกจากนี้จักรพรรดินีซาดาโกะ หรือ จักรพรรดินีเทเม ซึ่งควรที่จะทรงมีความประทับพระทัยที่ดีต่อเจ้าหญิงนางาโกะ พระนางกลับทรงลังเลที่จะเดินหน้าการหมั้นหมายครั้งนี้ เนื่องจากพระนางทรงพิโรธต่อเจ้าชายคูนิโยชิที่ไม่ทรงขออภัยพระนาง และทรงพิโรธพระสัสสุระในอนาคตของมกุฎราชกุมารที่สร้างความทะเยอทะยานทางการเมืองในเหตุการณ์นี้[34] หลังจากเจ้าชายได้รัฐบาลหนุนหลังไปพร้อมๆ กับการกำจัดยามางาตะออกจากอำนาจ

หลังจากเหตุการณ์คลี่คลาย มกุฎราชกุมารได้เสด็จเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรก (การเสด็จประพาสยุโรปของมกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ) พระองค์ได้รับการต้อนรับจากราชวงศ์อังกฤษ และทรงได้รับอิทธิพลการสมรสแบบสามีภรรยาคนเดียว พระองค์ได้ทรงซื้อกระจกพระหัตถ์ทำจากเงินให้แก่สตรีพี่น้องคูนิ โนะ มิยะทั้งสามพระองค์ ระหว่างทรงเยี่ยมชมสินค้าที่ฝรั่งเศสอย่างลับๆ[35] ในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1922 (ปีไทโชที่ 11) มกุฎราชกุมารทรงเรียกรัฐมนตรีกระทรวงพระราชสำนัก มากิโนะ โนบุอากิ ให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเดินทางไปกลับของเหล่านางสนองพระโอษฐ์ เพื่อควบคุมและรักษาความลับของราชวงศ์ในอนาคต[36]

 
เจ้าชายฮิโรฮิโตะขณะดำรงเป็นมกุฎราชกุมาร(ปี 1916 ขณะพระชนมายุ 15 พรรษา)
เจ้าชายฮิโรฮิโตะขณะดำรงเป็นมกุฎราชกุมาร(ปี 1916 ขณะพระชนมายุ 15 พรรษา) 
 
เจ้าหญิงนางาโกะในช่วงการหมั้น(ปี 1918 ขณะพระชนมายุ 15 พรรษา)
เจ้าหญิงนางาโกะในช่วงการหมั้น(ปี 1918 ขณะพระชนมายุ 15 พรรษา) 
 
ตระกูลคูนิ โนะ มิยะฉายพระรูปเป็นที่ระลึกในช่วงประกาศหมั้นหมาย เจ้าหญิงนางาโกะประทับอยู่แถวหน้า
ตระกูลคูนิ โนะ มิยะฉายพระรูปเป็นที่ระลึกในช่วงประกาศหมั้นหมาย เจ้าหญิงนางาโกะประทับอยู่แถวหน้า 
 
หนังสือพิมพ์โตเกียวอาซาฮีชิมบุน รายงานว่า "ไม่มีการเปลี่ยนแปลงงานหมั้น รัฐมนตรีกระทรวงพระราชสำนักลาออกแล้ว (11 กุมภาพันธ์ 1921)"
หนังสือพิมพ์โตเกียวอาซาฮีชิมบุน รายงานว่า "ไม่มีการเปลี่ยนแปลงงานหมั้น รัฐมนตรีกระทรวงพระราชสำนักลาออกแล้ว (11 กุมภาพันธ์ 1921)" 

เจ้าหญิงนางาโกะกับการเปิดพระองค์ต่อสื่อ

แก้
มกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ เจ้าชายผู้สำเร็จราชการแห่งญี่ปุ่น ค.ศ.1923 (พระชนมายุ 22 พรรษา)
เจ้าหญิงนางาโกะแห่งคูนิในช่วงทรงหมั้น (ค.ศ. 1922 พระชนมายุ 19 พรรษา)

หลังจากการแทรกแซงของราชสำนักผ่านรัฐมนตรีมากิโนะ โนบุอากิ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1922 เนื่องจากเหตุการณ์ร้ายแรงในราชสำนัก ตระกูลคูนิได้อนุญาตให้มีการฉายพระรูปเจ้าหญิงนางาโกะขณะเสด็จเยือนศาลเจ้าและสถานที่สักการบูชาอื่นๆ[37] โดยเฉพาะพระรูปในขณะที่ทรงเพลิดเพลินกับการขุดหาหอยแครงที่ชายหากมาคุฮาริ ซึ่งทรงฉลองพระองค์พับชายกิโมโนขึ้น เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ทำให้เกิดความฮือฮาในหมู่สาธารณชน[38] คูราโตมิ ยูซาบูโร ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของราชสำนัก และโทกูงาวะ โยริโนริ ประธานราชสำนัก แสดงความรู้สึกสับสนวุ่นวาย และไซอนจิ ฮาชิโร รองหัวหน้าฝ่ายพิธีการได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ภาพดังกล่าวนั้นอย่างรุนแรง[38]

ในวันที่ 20 มิถุนายน รัฐมนตรีกระทรวงพระราชสำนัก มากิโนะ โนบุอากิ ได้ขอให้มกุฎราชกุมารทรงลงพระอภิไธยอนุญาตให้มีการอภิเษกสมรส และเป็นการลงพระปรมาภิไธยแทนสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช พระราชชนก จึงเป็นผลให้ได้มีการพระบรมราชานุญาตอย่างเป็นทางการ[39][40] พระราชพิธีหมั้นถูกกำหนดขึ้นในวันที่ 28 กันยายน ปีเดียวกัน และพระราชพิธีอภิเษกสมรสมีกำหนดขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายนของปีถัดไป คือ ค.ศ. 1923 (ปีไทโชที่ 12)[40]

เมื่อมีพระบรมราชานุมัติพระราชทานมา รัฐมนตรีมากิโนะได้กราบทูลขอให้เจ้าชายคูนิโยชิทรงละลดการฉายพระรูปเจ้าหญิงนางาโกะ หรือ การให้ลงพิมพ์ในบทความ[38] การเสด็จเยือนภูมิภาคโทโฮกุของเจ้าหญิงนางาโกะและตระกูลคูนิ โนะ มิยะถูกยกเลิกโดยเจ้าชายคูนิโยชิตามคำขอของมากิโนะ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกถ่ายภาพ[38] นอกจากนี้ระหว่างเดือนกันยายนของปีเดียวกัน และราวเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป หัวหน้ากิจการตระกูลโทกูงาวะ โยชิโอะ ซาคามากิและโยชิโนริ ฟูตาระได้สนับสนุนแผนการให้เจ้าหญิงนางาโกะเสด็จเยือนประเทศตะวันตก[38] แต่ในที่สุดแผนการดังกล่าวถูกยกเลิก เนื่องจากรัฐมนตรีมากิโนะคัดค้านอย่างหนัก และแม้แต่คูราโตมิก็มีความเห็นในเชิงลบเกี่ยวกับการที่เจ้าหญิงนางาโกะจะเสด็จประพาสทั้งในประเทศและต่างประเทศ[41]

ในวันที่ 28 กันยายน พระราชพิธีหมั้นหมาย มีพิธีอุทิศตนต่อศาลเจ้าบรรพบุรุษจักรพรรดิคะชิโกโดโกโร ถวายเครื่องบูชาแก่ศาลเจ้าใหญ่ ศาลเจ้าอิเซะ สุสานจักรพรรดิจิมมุ และสุสานจักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินีโชเก็ง มีการจัดพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และพิธีประทานดาบ[42] เวลา 8 นาฬิกา เคานท์โทกูงาวะ ซาโตทากะ สมุหพระราชวัง ได้เดินทางไปยังตำหนักคูนิ โนะ มิยะในฐานะผู้แทนพระราชพิธีหมั้นหมาย และในเวลา 13.30 นาฬิกา บารอน โคบายาคาวะ ชิโร รองสมุหพระราชวังได้ไปยังพระตำหนักเพื่อเป็นตัวแทนพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ[42] พิธีดังกล่าวถือเป็นการกำหนดหมั้นหมายอย่างเป็นทางการ เจ้าหญิงนางาโกะทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นที่ 1 ตามมาตรา 10 ของข้อบังคับว่าด้วยสถานะราชวงศ์ หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการชุดนี้แล้ว การหมั้นหมายก็ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการ[43]

หลังจากพระราชพิธีหมั้น ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1923 (ปีไทโชที่ 12) ตระกูลคูนิ โนะ มิยะได้เดินทางไปท่องเที่ยวรอบเกาะคีวชู เกาะชิโกกุและคันไซ เป็นเวลา 40 วัน ในภายหลังในคราวที่จักรพรรดินีนางาโกะทรงฉลองวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา พระนางทรงมีพระราชดำรัสกล่าวถึงการเสด็จประพาสครั้งนี้ เป็นความทรงจำอันน่ายินดีเรื่องแรกในพระชนม์ชีพของพระนางตลอดช่วง 60 ปีที่ผ่านมา[44] ระหว่างการเสด็จญี่ปุ่นภาคตะวันตกนี้ เรื่องราวการเดินทาง พฤติกรรม และฉลองพระองค์ของเจ้าหญิงนางาโกะได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง[45] นอกจากนี้ตระกูลคูนิยังอนุญาตให้ผู้สื่อข่าวถ่ายภาพได้อย่างอิสระ เป็นพระฉายาลักษณ์ที่มีชีวิตชีวาของเจ้าหญิงนางาโกะในแต่ละสถานที่ ซึ่งมีการเผยแพร่อย่างแพร่หลายในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมถึงโปสการ์ด และใน "รายงานภาพการเดินทางของเจ้าหญิงนางาโกะ"[46] เจ้าหญิงนางาโกะทรงได้รับการต้อนรับจากผู้แทนของแต่ละสถานที่ โดยมีประชาชนมารวมตัวตลอดเส้นทางเมืองฟูกูโอกะจำนวนกว่า 100,000 คน และเมืองคูรูเมะจำนวนกว่า 150,000 คน โดยมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด[47] ในช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับช่วงที่ชนชั้นกลางใหม่เกิดขึ้น เจ้าหญิงนางาโกะจึงทรงได้รับความนิยมและทรงได้รับการพรรณนาจากสื่อว่าเป็น "หญิงสาวผู้โปรดกีฬาและดนตรี"[48] ทำให้ราชวงศ์ได้รับความนิยมในเรื่องที่เป็นทางโลกมากขึ้น[49] (แต่เดิมราชวงศ์ถูกมองว่าสูงส่งเทียบเคียงเทพเจ้ามาเสมอ) เมื่อได้รับความนิยมจากสังคมมากขึ้น ภาพลักษณ์ของราชวงศ์ก็เปลี่ยนไป โดยเน้นที่รูปลักษณ์และแฟชั่นฉลองพระองค์ ส่งผลให้เชื้อพระวงศ์ได้ "กลายสภาพเหมือนเป็นดารา" และเจ้าหญิงนางาโกะทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเรื่องนี้[50]

ในฤดูร้อน เจ้าหญิงนางาโกะประทับอยู่ที่อาคาคูระ จังหวัดนีงาตะ เป็นวิลลาที่สร้างขึ้นโดยมาร์ควิส โมริทากะ โฮโซกาวะ เมื่อปีที่แล้ว[51] เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 ในวันที่ 1 กันยายน พระนางทรงรู้สึกโล่งพระทัยเมื่อมกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ พระคู่หมั้นทรงปลอดภัย และเจ้าหญิงทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเย็บกิโมโนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้อีกด้วย[52] มกุฎราชกุมารได้เสด็จตรวจเยี่ยมภายในเมืองหลวง 2 ครั้งในเดือนนั้น ทรงตัดสินพระทัยที่จะเลื่อนพระราชพิธีอภิเษกสมรสออกไป[53][54]

นอกจากนี้ เกิดเหตุการณ์โทราโนมง วันที่ 27 ธันวาคม ของปีเดียวกัน ส่งผลให้ราชวงศ์ตกอยู่สถานการณ์ล่อแหลม เมื่อมกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยไดสุเกะ นัมบะ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น[55] โดยได้ยิงปืนเข้าใส่รถม้าพระที่นั่งของพระองค์ที่กำลังผ่านประตูโทราโนมง แต่โชคดีที่กระสุนไม่โดนองค์มกุฎราชกุมาร แต่ไปถูกสมุหราชวังได้รับบาดเจ็บ[56] นัมบะต้องการแก้แค้นให้สมาชิกฝ่ายซ้ายที่ถูกรัฐบาลสังหารหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 นายกรัฐมนตรี ยามาโมโตะ กนโนเฮียวเอะ แสดงความรับผิดชอบต่อการขาดการถวายความปลอดภัยให้พระราชวงศ์ทีดีพอ เขาจึงประกาศลาออกพร้อมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะพร้อมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคน[56]

มกุฎราชกุมารี

แก้
 
มกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะและมกุฎราชกุมารีนางาโกะ เวลาไม่นานหลังพระราชพิธีอภิเษกสมรส ค.ศ. 1924 จะเห็นได้ว่ามกุฎราชกุมารยังไม่ทรงไว้พระมัสสุ (หนวด) ในเวลานั้น

ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1924 (ปีไทโชที่ 13) ก่อนการอภิเษกสมรส ได้มีการจัดตั้งระบบข้าราชการสตรีสำหรับสำนักงานมกุฎราชกุมารขึ้น โดยอนุญาตให้สตรีที่สมรสแล้วสามารถเดินทางมาทำงานเองได้ และมีการยกเลิกตำแหน่งที่เป็นทางการต่างๆ เช่น "เนียวโจ" (นางในพระราชวัง) และตำแหน่งสนมอื่นๆ ทั้งนี้เป็นแนวคิดของมกุฎราชกุมารซึ่งทรงยึดมั่นการมีคู่สมรสคนเดียว[57][58]

ในวันที่ 12 มกราคม มีการประกาศว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นในวันที่ 26 มกราคม[59] และพิธีการยอมรับก็ถูกจัดขึ้นในวันเดียวกันด้วย[60]

ในวันที่ 25 มกราคม คืนก่อนพระราชพิธี ได้มีการจัดงานเลี้ยงอำลาที่พระตำหนักคูนิ โนะ มิยะ เจ้าหญิงนางาโกะทรงเล่นเปียโน ครอบครัวของพระนางและผู้ใกล้ชิด ได้ร่วมกันขับร้องเพลงโฮโตรุ โนะ ฮิคาริอย่างอบอุ่นเพื่อแสดงความยินดีกับพระนาง[61] ในวันอภิเษกสมรส เจ้าหญิงทรงตื่นบรรทมเวลา 03.00 น. และเสด็จเยือนศาลบรรพบุรุษในสวนตำหนักเวลา 04.00 น.[62] หลังจากทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เป็นกิโมโน 12 ชั้น พระนางทรงได้รับการต้อนรับโดยไวเคานต์ อิริเอะ ทาเมโมริ สมุหราชวังสำนักมกุฎราชกุมาร [iii] และนำเจ้าหญิงเสด็จออกจากตำหนักคูนิ ผ่านเขตทาคากิโช, เขตมินามิ-อาโอยามะ, โอโมเตมาจิ-โดริ, อากาซากะ-มิตสึเกะ, นากาตะมาจิ-โดริ, ย่านคาซูมิงาเซกิ, ประตูซากูราดะ และอิวาอิดามาจิ-โดริ (ทั้งหมดเป็นชื่อสถานที่ในยุคสมัยนั้น) จากนั้นมาถึงประตูหลักของพระราชวังอิมพีเรียล[63]

พระราชพิธีนี้เกือบจะเหมือนกันกับคราวพระราชพิธีอภิเษกสมรสของจักรพรรดิไทโชและจักรพรรดินีเทเม ซึ่งถือเป็นพระราชพิธีแบบชินโตครั้งแรกในประวัติศาสตร์[57] ท่ามกลางการประดับไฟเฉลิมฉลองและเสียงโห่ร้องยินดี มีรายงานว่าเจ้าชายคูนิและพระชายาทรงทอดพระเนตรแสงไฟจากบริเวณอาคารหน้าพระราชวังโทงู (ตำหนักมกุฎราชกุมาร) ในย่านอากาซากะ โดยไม่ทรงได้เสด็จเข้าไปด้วย จากนั้นทั้งสองจึงเสด็จกลับ (ปัจจุบันคือพระตำหนักอากาซากะ)[64]

มกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะทรงเริ่มไว้พระมัสสุ (หนวด) หลังการอภิเษกสมรส[65] พระองค์ทรงเรียกเจ้าหญิงนางาโกะ พระชายาว่า "นากามิยะ" ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์เป็นไปได้ด้วยดีนับแต่นั้นมา และจากคำบอกเล่าของไอสึเกะ โอคาโมโตะ ซึ่งเป็นกรมวังสำนักมกูฎราชกุมารเวลานั้น ระบุว่า ทั้งสองพระองค์มักจะทรงเดินจับพระหัตถ์กันตลอด[66] ตั้งแต่เดือนสิงหาคมของปีนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จไปฮันนีมูนตามแบบตะวันตกที่วิลล่าโอกิชิมะของเจ้าชายทากามัตสึ (ปัจจุบันคือ เทนเคียวคาคุ) ในเมืองอินาวาชิโระ จังหวัดฟูกูชิมะ[67] การปรากฏพระองค์ของมกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีได้ดึงดูดความสนใจของผู้คน โดยถูกใช้เป็นภาพฉากหลังของกระทรวงศึกษาธิการในนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน[48]

ในเวลา 20.10 น. ของวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1925 (ปีไทโชที่ 14) มกุฎราชกุมารีนางาโกะทรงมีพระประสูติกาล เจ้าหญิงชิเงโกะ เทรุโนะมิยะ พระราชธิดาพระองค์แรก[68] และการประสูติเจ้าหญิงได้มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเหตุการณ์ที่น่ายินดีท่ามกลางการฟื้นฟูประเทศหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต มีการเลือกแม่นม 3 คน เพื่ออภิบาลเจ้าหญิง[69] แต่มีการใช้แม่นมช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น และมกุฎราชกุมารีทรงให้นมแก่พระราชธิดาด้วยพระองค์เองเท่าที่จะทรงทำได้ จากบันทึกความทรงจำของแม่นม ระบุว่า พวกเธิถวายพระอภิบาลนมแก่เจ้าหญิงเทรุในเวลากลางคืน โดยมีพระพี่เลี้ยงตามมาด้วยในห้องของพระจักรพรรดิ มกุฎราชกุมารีนางาโกะทรงประทับรออยู่หลังฉากกั้นสีทอง[70] ในช่วงระยะเวลา 9 เดือนที่แม่นมถวายงานแก่มกุฎราชกุมารีนางาโกะ พวกเธอได้เข้าเฝ้าฯ พระนางเป็นการส่วนพระองค์เพียงสามครั้งเท่านั้น[71] ในช่วงเวลาที่เจ้าหญิงเทรุประสูติ มีการรายงานเรื่องการตั้งครรภ์และการประสูติในพระราชวงศ์มากขึ้น และนับแต่นั้น มกุฎราชกุมารีนางาโกะทรงได้รับการพรรณนาภาพว่าทรงเป็น "มารดา" จากสื่อต่างๆ[72]

ปีต่อมา ค.ศ. 1926 (ปีไทโชที่ 15) พระอาการประชวรของจักรพรรดิโยชิฮิโตะ หรือ จักรพรรดิไทโช ในขณะที่ทรงพักฟื้นที่อิมพีเรียลวิลลาฮายามะนั้นแย่ลง แม้ว่ามกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีจะเสด็จไปเข้าเฝ้าฯ ที่ฮายามะในวันที่ 13 ธันวาคม แต่พระอาการของจักรพรรดิยังคงรุนแรงมากจนไม่สามารถเสด็จกลับโตเกียวได้[73] ต่อมาในเวลา 01.25 น. ของวันที่ 25 ธันวาคม จักรพรรดิไทโชเสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุ 47 พรรษา

 
เจ้าหญิงนางาโกะในพระราชพิธีอภิเษกสมรส(พระบรมฉายาลักษณ์ ค.ศ. 1924)
เจ้าหญิงนางาโกะในพระราชพิธีอภิเษกสมรส(พระบรมฉายาลักษณ์ ค.ศ. 1924) 
 
มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารี(ค.ศ. 1924)
มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารี(ค.ศ. 1924) 
 
มกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารีและเจ้าหญิงชิเงโกะ เทรุโนะมิยะ พระราชธิดา(ค.ศ. 1925)
มกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารีและเจ้าหญิงชิเงโกะ เทรุโนะมิยะ พระราชธิดา(ค.ศ. 1925) 

จักรพรรดินี

แก้
 
จักรพรรดินีนางาโกะทรงฉลองพระองค์ จูนิฮิโตเอะ (กิโมโน 12 ชั้น) ซึ่งเป็นฉลองพระองค์ในคราวพิธีขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิญี่ปุ่น (ค.ศ. 1928)

วันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926 (ปีไทโชที่ 15) จักรพรรดิไทโช พระสัสสุระของมกุฎราชกุมารีนางาโกะ เสด็จสวรรคต และจักรพรรดินีซาดาโกะ พระสัสสุ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระพันปีหลวง และมกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะทรงสืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ พระองค์ที่ 124 แห่งญี่ปุ่น ในเวลา 03.15 น. มิชิซาเนะ คุโจ เจ้ากรมพิธีทางศาสนาได้ประกอบพิธีที่พระราชวังหลวงโตเกียว และพิธีไตรราชกกุธภัณฑ์ที่อิมพีเรียลวิลลาฮายามะ[74] มกุฎราชกุมารีนางาโกะ พระมเหสีในจักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงกลายเป็น "จักรพรรดินีพระองค์แรกที่มาจากเชื้อพระวงศ์" นับตั้งแต่สมัยเจ้าหญิงโยชิโกะ (ค.ศ. 1794-1820) ทรงเป็นจักรพรรดินีในจักรพรรดิโคกากุ จักรพรรดิพระองค์ที่ 119

จักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งสมัยโชวะ ยังคงประทับอยู่ในพระราชวังอากาซากะ เนื่องจากทั้งสองพระองค์ทรงคุ้นชินการดำรงพระชนม์แบบตะวันตก และจักรพรรดินีนางาโกะทรงพระครรภ์พระบุตรองค์ที่สอง[75]

ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1927 (ปีโชวะที่ 2) พระนางทรงมีพระประสูติกาลพระราชธิดาองค์ที่สอง คือ เจ้าหญิงซาจิโกะ ฮิซะโนะมิยะ แต่เจ้าหญิงกลับสิ้นพระชนม์ด้วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อในปีถัดมา ค.ศ. 1928 (ปีโชวะที่ 3) จักรพรรดินีทรงแต่งพระพักตร์พระศพเจ้าหญิงด้วยพระองค์เอง[76] และจักรพรรดิโชวะทรงฝ่าฝืนธรรมเนียมห้าม โดยทรงร่วมพระราชพิธีพระศพของพระราชธิดาด้วย[77] ด้วยความโศกเศร้ายิ่งนี้ จักรพรรดินีทรงมีรับสั่งให้จัดทำตุ๊กตาที่มีขนาดพอๆ กับพระสรีระของเจ้าหญิงฮิซะเพื่อระลึกถึง[78]

ในวันที่ 28 กันยายน ปีเดียวกัน จักรพรรดิฮิโรฮิโตะและจักรพรรดินีนางาโกะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับยังพระราชวังหลวง หลังจากทรงเสด็จฯ ไปพักฟื้นที่เมืองนาสุ[79] ทั้งสองพระองค์ทรงฝ่าฝืนธรรมเนียมโดยทรงประทับในห้องบรรทมเดียวกัน[80]

ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน พิธีขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิญี่ปุ่นถูกจัดขึ้นที่พระราชวังหลวงเกียวโต หลังจากได้ทรงเสด็จประพาสจังหวัดเกียวโต, จังหวัดมิเอะและจังหวัดนาระในวโรกาสนี้ พระนางก็ไม่ได้เสด็จประพาสต่างจังหวัดอีกเลยเป็นเวลาหลายปี ยกเว้นในช่วงที่เสด็จไปประทับพักฟื้นที่อิมพีเรียลวิลลา[81]

ในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1929 (ปีโชวะที่ 4) พระอาการของเจ้าชายคูนิโยชิ คูนิโนะมิยะ พระบิดาของจักรพรรดินี ซึ่งทรงพักรักษาพระองค์อยู่ที่เมืองอาตามิ จังหวัดชิซูโอกะนั้น ย่ำแย่ลง จักรพรรดินีนางาโกะเสด็จพระราชดำเนินขึ้นรถไฟธรรมดา แทนที่จะทรงประทับรถไฟหลวง เพื่อไปยังคฤหาสน์ของเจ้าชายคูนิที่อาตามิ และทรงอยู่เคียงข้างพระบิดาจนพระองค์สิ้นพระชนม์ (เจ้าชายคูนิสิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 55 พรรษา)[82]

 
จักรพรรดินีนางาโกะทรงฉลองพระองค์ทางการ ทรงฉลองพระองค์คอต่ำ ทรงเทริด พร้อมเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นที่ 1 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1 (พระบรมฉายาลักษณ์ ค.ศ. 1928)
จักรพรรดินีนางาโกะทรงฉลองพระองค์ทางการ ทรงฉลองพระองค์คอต่ำ ทรงเทริด พร้อมเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นที่ 1 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1 (พระบรมฉายาลักษณ์ ค.ศ. 1928) 

ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์

แก้
 
สมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ และเจ้าชายอากิฮิโตะ พระราชโอรสพระองค์แรกของพระองค์ ในค.ศ. 1934 (ปีโชวะที่ 9)

ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1929 (ปีโชวะที่ 4) จักรพรรดินีทรงมีพระประสูติกาลพระราชธิดาองค์ที่สาม คือ เจ้าหญิงคาซูโกะ ทากะโนะมิยะ ในขณะนั้นมีการประกาศผ่านทางวิทยุผิดพลาดว่า "เจ้าชายประสูติแล้ว" เมื่อมีการแก้ไขก็ได้สร้างความผิดหวังต่อสาธารณชนเป็นจำนวนมาก[83][84] ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1931 (ปีโชวะที่ 6) ทรงมีพระประสูติกาลพระราชธิดาองค์ที่สี่ คือ เจ้าหญิงอัตสึโกะ โยริโนะมิยะ

ในทางกลับกันเมื่อเจ้าชายยาซูฮิโตะ ชิจิบุโนะมิยะ พระราชอนุชาในจักรพรรดิ ทรงเสกสมรสกับเซ็ตสึโกะ มัตสึไดระ ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1928 (ปีโชวะที่ 3) จักรพรรดินีเทเม พระพันปีหลวง ทรงโปรดปรานพระราชโอรสองค์ที่สอง พระองค์นี้มากและทรงโปรดรวมถึงพระชายาของพระองค์ด้วย ก่อนที่เจ้าหญิงทากะจะทรงประสูติในปีถัดไป สมเด็จพระพันปีหลวงทรงพระราชทานของขวัญและทรงแต่งกลอนวากะเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบหนึ่งปีวันเสกสมรสของทั้งสองพระองค์ และทรงหวังว่าจะมีประสูติกาลพระโอรส[85]

ดังนั้นในช่วงต้นโชวะ จึงมีพระราชธิดาสี่พระองค์ประสูติในสายสันตติวงศ์ แต่ยังคงไม่มีพระราชโอรสที่มีสิทธิ์สืบราชบัลลังก์[iv] ทานากะ มิตสึอากิ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพระราชวัง พยายามเสนอรื้อฟื้นระบบพระสนม (การมีภรรยาหลายคน)[86] แต่จักรพรรดิโชวะทรงปฏิเสธข้อเสนอนี้ โดยทรงตรัสว่า พระองค์ไม่สามารถ "ทำสิ่งที่ขัดต่อจริยธรรมของมนุษย์ได้" จึงมีขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อให้เจ้าชายชิจิบุ ผู้ทรงมีความเฉลียวฉลาดและเป็นที่นิยมของประชาชน ขึ้นสืบราชบัลลังก์[87]

ในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1930 (ปีโชวะที่ 5) สมาคมสตรีแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ถูกก่อตั้งขึ้น ฮารูโกะ ชิมาซุ[v] ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้านางสนองพระโอษฐ์ในจักรพรรดินี ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสมาคม ฮารูโกะ ชิมาซุได้กำหนดให้วันคล้ายวันพระราชสมภพของจักรพรรดินีโคจุงเป็นวันแม่แห่งชาติ[88]

เมื่อเจ้าหญิงชิเงโกะ เทรุโนะมิยะ พระราชธิดาองค์ใหญ่ทรงเจริญพระชันษาถึงวัยศึกษาเล่าเรียนในค.ศ. 1932 (ปีโชวะที่ 7) จักรพรรดินีนางาโกะทรงถูกวิพากษ์วิจารณ์จากเจ้าชายโนบูฮิโตะ ทากามัตสึโนะมิยะ พระราชอนุชาในจักรพรรดิ และสมาชิกราชวงศ์องค์อื่นๆ ว่า เจ้าหญิงทรงมีพระอุปนิสัยเอาแต่ใจ[89] เพื่อเป็นการรอมชอมกันระหว่างจักรพรรดิและจักรพรรดินีกับพระญาติวงศ์ เจ้าหญิงเทรุจึงทรงถูกย้ายไปประทับที่หอพักคูเรทาเกะ และทรงได้รับการศึกษาโดยห่างไกลจากพระราชชนกและพระราชชนนี[90] หลังจากนั้นพระขนิษฐาทั้งสองของเจ้าหญิงก็ถูกย้ายเข้าหอพักทีละพระองค์ โดยถูกบังคับให้ย้ายออกจากวังของพระราชชนก หอพักคูเรทาเกะส่วนหนึ่งถูกย้ายไปยังสวนหลวงฟูคิอาเกะหลังสงคราม และปัจจุบันคือร้านน้ำชา "รินโช-เทอิ"

ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1933 (ปีโชวะที่ 8) มีการประกาศว่าจักรพรรดินีทรงพระครรภ์พระบุตรองค์ที่ห้า ในเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน จักรพรรดิเสด็จเยือนพระราชวังโอมิยะและเสด็จเยือนสุสานจักรพรรดิไทโช ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ผิดปกติ โดยแม้แต่พระพันปีหลวงไม่ทรงได้รับอนุญาตให้เข้าไปยังสุสานนั้น[91] จากนั้นเวลา 6.39 น. ของวันที่ 23 ธันวาคม จักรพรรดินีนางาโกะทรงมีพระประสูติกาลพระบุตรองค์ที่ห้า และเป็นพระราชโอรสพระองค์แรก คือ เจ้าชายอากิฮิโตะ[92] ด้วยสาธารณชนเฝ้ารอมานานต่อการประสูติของ "มกุฎราชกุมาร"[vi] กระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่นประกาศออกเพลง "เพลงเฉลิมฉลองวันประสูติของมกุฎราชกุมาร" ในเดือนถัดมา[93] ภาคเอกชนยังได้สร้างสรรค์เพลงเฉลิมพระเกียรติชื่อว่า "โคไตชิซามะโออุมาเระนัตตะ" (มกุฎราชกุมารประสูติแล้ว) (คำร้องโดยฮาคุชู คิตาฮาระ ทำนองโดยชินเป นากายามะ) และทั่วทั้งญี่ปุ่นเต็มไปด้วยบรรยากาศของการเฉลิมฉลอง มีการตะโกนโห่ร้องสามครั้งหน้าพระราชวัง มีขบวนแห่ธง ขบวนโคมไฟ ขบวนดอกไม้และจักงานเฉลิมฉลอง[94]

ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1935 (ปีโชวะที่ 10) จักรพรรดินีนางาโกะทรงมีพระประสูติกาลเจ้าชายมาซาฮิโตะ โยชิโนะมิยะ เป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง (พระบุตรองค์ที่หก) นอกเหนือจากนี้ด้วยพระราชวงศ์ญี่ปุ่นทรงได้รับการเทิดทูนดุจสถานะเทพเจ้า เจ้าชายอากิฮิโตะทรงได้รับการอภิบาลในพระราชวังโทงุตั้งแต่ค.ศ. 1937 (ปีโชวะที่ 12) แม้ว่าจักรพรรดิจะทรงเป็นพระราชชนกของเจ้าชาย แต่ทั้งสองพระองค์ไม่สามารถพบกันได้เลย เว้นแต่วันหยุดสุดสัปดาห์จึงได้รับการอนุญาตจากฝ่ายราชพิธีให้ทรงพบกันได้ แม้แต่จักรพรรดินางาโกะทรงเตรียมเครื่องเสวยจากเต้าหู้ที่เจ้าชายทรงโปรดปราน แต่เจ้าชายกลับไม่เคยได้เสวยพระกระยาหารที่จักรพรรดินีทรงเตรียมไว้เลย ในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1939 (ปีโชวะที่ 14) จักรพรรดินีทรงมีพระประสูติกาล เจ้าหญิงทากาโกะ ซูงาโนมิยะ พระราชธิดาองค์ที่ห้าและเป็นพระบุตรองค์เล็ก


 
หนังสือพิมพ์โทยามะนิปโปะ รายงานข่าวการประสูติของมกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ ในฐานะ "การประสูติขององค์รัชทายาทแห่งอามัตสึ" (24 ธันวาคม ค.ศ. 1933)
หนังสือพิมพ์โทยามะนิปโปะ รายงานข่าวการประสูติของมกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ ในฐานะ "การประสูติขององค์รัชทายาทแห่งอามัตสึ" (24 ธันวาคม ค.ศ. 1933) 
 
จักรพรรดินีและเจ้าหญิงทรงเฉลิมฉลองเทศกาลฮินะมัตสึริ จากซ้าย:เจ้าหญิงทากะ, จักรพรรดินีทรงอุ้มเจ้าหญิงซูงะ และเจ้าหญิงเทรุ(มีนาคม 1940)
จักรพรรดินีและเจ้าหญิงทรงเฉลิมฉลองเทศกาลฮินะมัตสึริ จากซ้าย:เจ้าหญิงทากะ, จักรพรรดินีทรงอุ้มเจ้าหญิงซูงะ และเจ้าหญิงเทรุ(มีนาคม 1940) 
 
จักรพรรดิโชวะและพระบรมวงศานุวงศ์ในวันก่อนสงครามระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาจะปะทุ(ภาพถ่าย 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941)
จักรพรรดิโชวะและพระบรมวงศานุวงศ์ในวันก่อนสงครามระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาจะปะทุ(ภาพถ่าย 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941) 

จักรพรรดินีในช่วงสงคราม

แก้
 
จักรพรรดินีนางาโกะขณะเสด็จพระราชดำเนินเยือนภูมิภาคคันไซด้วยพระองค์เอง ทรงประทับยืนหน้าชิชินเดนของพระราชวังหลวงเกียวโต เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941

จักรพรรดินีนางาโกะเสด็จเยือนศาลเจ้ายาซูกูนิในเดือนเมษายน ค.ศ. 1932, 1933 และ 1937 แต่หลังจากการปะทุของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง พระนางก็ทรงเริ่มเสด็จเยือนศาลเจ้านี้ปีละสองครั้ง (หรือทรงสงบนิ่งที่พระราชวังหลวงโดยในขณะที่จักรพรรดิได้เสด็จพระราชดำเนินไปสักการะที่ศาลเจ้า)[95] พระนางยังเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เองในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1933 และมีนาคม ค.ศ. 1941[96]

นอกจากนี้ในฤดูใบไม้ผลิจนถึงต้นฤดูร้อน ค.ศ. 1938 จักรพรรดินีทรงส่งพระบรมวงศานุวงศ์และพระชายาไปเยี่ยมเยียนโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในญี่ปุ่น เกาหลีและไต้หวัน[97] การส่งเหล่าพระชายาในฐานะผู้แทนพระองค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ทำให้ภาพลักษณ์ "แม่แห่งชาติ" และ "แม่ผู้ทรงเมตตา" ของพระนางเผยแพร่ออกไป นอกจากนี้พระนางยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองทั้งช่วงก่อนและช่วงระหว่างสงคราม และการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานที่ต่างๆ ในญี่ปุ่นก็ได้มีการรายงานข่าวทางภาพยนต์ข่าวในขณะนั้น[98] ในเวลานี้ สื่อต่างๆ ทั้งในหนังสือพิมพ์ วิทยุ และภาพยนต์ข่าว เริ่มขนานนามพระนางว่า "สมเด็จพระนางเจ้าพระมารดาแห่งแผ่นดิน"[99] เมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ชัยชนะและสามารถยึดครองอู่ฮั่นในวันที่ 27 ตุลาคม ปีเดียวกัน จักรพรรดิโชวะและจักรพรรดินีโคจุงได้ปรากฏพระองค์ที่สะพานนิจูบาชิในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งสองพระองค์ไม่ทรงเคยทำมาก่อน[96]

ในค.ศ. 1940 (ปีโชวะที่ 15) ช่วงระหว่างสงคราม เจ้าฟูมิมาโระ โคโนเอะ นายกรัฐมนตรี ประกาศจัดพระราชพิธีระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 2,600 ปี การสถาปนาประเทศ พระราชพิธีระลึกจัดขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน และการเฉลิมฉลองจัดในวันที่ 11 พฤศจิกายน หน้าพระราชวังหลวง โดยจักรพรรดิฮิโรฮิโตะและจักรพรรดินีนางาโกะเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี แต่ในตอนกลางคืนของวันที่ 11 พฤศจิกายน จักรพรรดินีเสด็จฯ มายังหน้าสะพานนิจูบาชิ พร้อมพระราชบุตรทั้งสี่พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงชิเงโกะ เทรุโนะมิยะ, เจ้าหญิงคาซูโกะ ทากะโนะมิยะ, เจ้าหญิงอัตสึโกะ โยริโนะมิยะ และเจ้าชายมาซาฮิโตะ โยชิโนะมิยะ ทรงพยายามตอบสนองต่อเสียงไชโยโห่ร้องของผู้คนในฐานะที่ทรงแยกออกมาจากการโห่ร้องต่อองค์จักรพรรดิและมกุฎราชกุมาร นอกจากนี้เพื่อแสดงภาพลักษณ์การโฆษณาชวนเชื่อของพระนางในฐานะ "พระมารดา" ของประชาชน (ในความเป็นจริง บริเวณนั้นมืดมาก และมีเพียงโคมไฟที่จักรพรรดินีและคนอื่นๆ ถือไว้เท่านั้น จึงมองเห็นพระองค์)[100] ในค.ศ. 1941 (ปีโชวะที่ 16) ตั้งแต่ 15-20 พฤษภาคม จักรพรรดินีเสด็จพระราชดำเนินเยือนด้วยพระองค์เอง โดยเสด็จฯยังจังหวัดมิเอะ, จังหวัดนาระ และจังหวัดเกียวโต โดยนอกเหนือจากเสด็จฯ เยือนศาลเจ้าและสุสานจักรพรรดิแล้ว พระนางยังทรงเสด็จเยือนโรงพยาบาลกองทัพเกียวโต (ปัจจุบัน คือ ศูนย์การแพทย์เกียวโตแห่งองค์การโรงพยาบาลแห่งชาติ) และพระตำหนักชูกาคุอิน[101] เหตุการณ์หนึ่งที่โดดเด่นคือ พิธีถวายการต้อนรับพระนางในวันที่ 18 มีผู้คนมาเข้าเฝ้าฯ กว่า 30,000 คน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างองค์จักรพรรดิและประชาชน และภาพลักษณ์ที่แท้จริงของจักรพรรดินีได้ซ้อนภาพ "พระมารดาผู้เป็นที่รักยิ่ง" ในตัวพระนาง[102]

 
จักรพรรดิโชวะและจักรพรรดินีโคจุงขณะทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 2,600 ปี การสถาปนาประเทศ วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940

วันที่ 8 ธันวาคม ปีเดียวกัน ญี่ปุ่นประกาศสงครามต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกา ด้วยการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และการทัพมาลายา (จุดเริ่มต้นของสงครามแปซิฟิก หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา) และในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 (ปีโชวะที่ 17) อังกฤษสูญเสียสิงคโปร์ในยุทธการที่สิงคโปร์ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ได้มีการเฉลิมฉลองชัยชนะโดยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกฮิเดกิ โทโจ จักรพรรดิทรงม้าหน้าสะพานนิจูบาชิ หลังจากนั้น จักรพรรดินีทรงปรากฏพระองค์บนสะพานพร้อมด้วยเจ้าหญิงชิเงโกะ เทรุโนะมิยะ, เจ้าหญิงคาซูโกะ ทากะโนะมิยะ, เจ้าหญิงอัตสึโกะ โยริโนะมิยะ และเจ้าชายอากิฮิโตะ สึงุโนะมิยะ (มกุฎราชกุมาร) ท่ามกลางเสียงโห่ร้องยินดีจากประชาชนนับหมื่นคน[103]

ทุกปีในวันคล้ายวันพระราชสมภพของจักรพรรดินี พระนางจะทรงเชิญยูกะ โนกูจิ ที่ปรึกษาของพระนางมายังพระราชวัง เพื่อทรงสนทนาอย่างเป็นกันเอง แต่ในค.ศ. 1942 จักรพรรดินีทรงขอให้โนกูจิ ซึ่งเป็นคริสเตียน มาบรรยายเรื่องศาสนาคริสต์ (เรื่อง พระคัมภีร์) เป็นครั้งแรก[104] การกระทำนี้ได้รับการสนับสนุนจากทาเคโกะ โฮชินะ นางสนองพระโอษฐ์ของพระนาง[vii] และมิกิโกะ อิจิชิ นางสนองพระโอษฐ์และเป็นต้นห้องของจักรพรรดินี ทาดาทากะ ฮิโรฮาตะ สมุหราชวังของจักรพรรดินีก็พยายามสนับสนุนเช่นกัน[105] ตั้งแต่เมษายน ค.ศ. 1942 จนถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1947 โนกูจิได้บรรยายให้พระนางฟังทั้งหมด 15 ครั้ง[106]

ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วงปี 1943 พระนางยังทรงส่งเหล่าพระชายาไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อตรวจงานและรับรอง พระนางยังทรงเสด็จฯ ตรวจงานในกรุงโตเกียวด้วยพระนางเองในวันที่ 19 พฤษภาคม โดยทรงฉลองพระองค์เรียบง่าย และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนอย่างกระตือรือร้น[107] วันที่ 13 พฤษภาคม พระนางเพิ่งทรงได้รับการบรรยายครั้งที่สี่จากโนกูจิในรอบ 11 เดือน[108] มีการชี้ให้เห็นว่าแนวคิดของจักรพรรดินีทรงเปลี่ยนไปเนื่องจากอิทธิพลทางความคิดแบบคริสเตียน[109] ในทำนองเดียวกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พระนางทรงได้รับการบรรยายครั้งที่ห้า[108] ในวันที่ 21 มิถุนายน หลังจากพระนางเสด็จพระราชดำเนินเยือนสุสานหลวงมูซาชิ พระนางยังทรงตรวจเยี่ยมหมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่บ้านนานาโอะ เขตมินามิทามะ, โตเกียว (ปัจจุบันคือ นครฮิโนะ) ด้วยทรงกระตือรือร้นอย่างมาก ซึ่งทรงได้รับการรายงานถึงอย่างกว้างขวางในสื่อ[110] ในขณะที่จักรพรรดิไม่ทรงเสด็จเยือนจังหวัดต่างๆ อีก แต่จักรพรรดินีและเหล่าพระชายาของเจ้าองค์อื่นๆ ทรงได้รับการพบเห็นจากประชาชนมากขึ้น และทรงเป็นแบบอย่างของความประหยัดมัธยัสถ์[111]

วันที่ 13 ตุลาคม ปีเดียวกัน เจ้าหญิงชิเงโกะ เทรุโนะมิยะ หรือ เจ้าหญิงเทรุ พระราชธิดาองค์แรกของจักรพรรดิและจักรพรรดินี เข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าชายโมริฮิโระแห่งฮิงาชิกูนิ (โอรสองค์ใหญ่ในเจ้าชายนารูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิโนะมิยะ) ในปีต่อมา ค.ศ. 1944 (ปีโชวะที่ 19) เจ้าชายและเจ้าหญิงอีก 5 พระองค์ได้อพยพออกจากโตเกียว (เด็กนักเรียนทั้งหมดอพยพออกไปด้วย) แต่จักรพรรดินีก็ยังทรงประทับร่วมกับจักรพรรดิฮิโรฮิโตะในโตเกียว[viii] ในวันที่ 30 กันยายน ปีเดียวกัน มีการกำหนดฉลองพระองค์แบบราชสำนักขึ้นและจักรพรรดินีทรงฉลองพระองค์นี้เป็นเวลานานจนถึงหลังสงคราม วันที่ 23 ธันวาคม จักรพรรดินีทรงประทานบิสกิตแก่เด็กที่อพยพทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายเฉลิมพระชนมพรรษา 11 พรรษาของมกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ และยังทรงส่งบทกวีหลวงเพื่อเป็นกำลังใจแก่มกุฎราชกุมารด้วย[112]

ยังมีการกล่าวกันว่าในช่วงเวลานี้ จักรพรรดินีไม่ทรงได้รับอนุญาตให้โดยสารรถพระที่นั่งของจักรพรรดิอีกต่อไป เพราะพระนางถือเป็น "ข้ารับใช้ของจักรพรรดิ" ในช่วงเกิดทุพภิกขภัยระหว่างสงคราม การปันส่วนอาหารของราชวงศ์ก็เข้มงวดพอๆ กับประชาชนทั่วไป และเมื่อพระนางกับจักรพรรดิทรงร่วมเสวยพระกระยาหารร่วมกัน ทั้งสองพระองค์จะทรงเก็บอาหารไว้หนึ่งหรือสองจานเพื่อประทานแก่มหาดเล็ก หรือ นางสนองพระโอษฐ์เสมอ เมื่อใกล้สิ้นสุดสงคราม จักรพรรดินีทรงปลูกผักและเลี้ยงไก่ในสวนพระราชวังฟุกิอาเกะด้วยพระองค์เอง และหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่น พระนางทรงทำฟูกและกิโมโนให้แก่เหล่าผู้ถูกส่งตัวกลับมายังประเทศ[113]

10 มีนาคม ค.ศ. 1945 (ปีโชวะที่ 20) ระหว่างการทิ้งระเบิดโตเกียว เจ้าหญิงชิเงโกะ เทรุโนะมิยะ ซึ่งเสกสมรสเข้าราชสกุลฮิงาชิกูนิ ทรงมีพระประสูติกาล พระโอรสองค์แรก คือ เจ้าชายโนบูฮิโกะ ในหลุมหลบภัย ซึ่งเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกในจักรพรรดิโชวะและจักรพรรดินีโคจุง วันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน จักรพรรดิทรงออกประกาศเกียวกูองโฮโซ หรือ การออกอากาศ "พระราชดำรัสว่าด้วยการสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพา" โดยทางวิทยุกระจายเสียง ส่งผลให้สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง

การเปลี่ยนแปลงหลังสงครามและการปรากฏของกิโมโนในจักรพรรดินี

แก้

พระราชโอรส-ธิดา

แก้

สมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ ได้ทรงให้การประสูติกาลเจ้าหญิงหลายพระองค์ตลอดเวลากว่าสิบปี ในการครองคู่กับสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ ทำให้เกิดเสียงซุบซิบนินทาเกี่ยวกับการสืบทอดราชบัลลังก์ จนในปี พ.ศ. 2476 สมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะได้ให้พระประสูติกาลพระโอรสพระองค์แรกคือมกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ[1]

สมเด็จพระจักรพรรดินี

แก้
 
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ ขณะเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

สมเด็จพระจักรพรรดินีเป็นพระจักรพรรดินีแห่งประเทศญี่ปุ่นพระองค์แรกที่เสด็จเยือนต่างประเทศ โดยได้เสด็จเยือนทวีปยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2514 เสด็จเยือนสหรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2518

หลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระพันปีหลวง[2] ในงานพระราชพิธีพระบรมศพของพระราชสวามี สมเด็จพระจักรพรรดินีก็มิได้เสด็จไป เนื่องด้วยพระสุขภาพที่ไม่เอื้ออำนวย และหลังจากการปรากฏพระองค์ครั้งสุดของสมเด็จพระจักรพรรดินีเมื่อปี พ.ศ. 2531 พระองค์ก็มิได้เสด็จปรากฏพระองค์ที่ไหนอีกเลย ขณะที่พระองค์ก็ดำรงพระยศพระพันปีหลวงได้ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำลายสถิติของสมเด็จพระจักรรดินีคันชิซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อ 873 ปีที่แล้ว[1]

สวรรคต

แก้

สมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ พระพันปีหลวง เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สิริพระชนมายุได้ 97 พรรษา หลังจากพระราชพิธีพระบรมศพ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะได้ทรงอัญเชิญพระศพไปที่สวนฮะจิโอจิ กรุงโตเกียวเคียงข้างพระราชสวามีของพระองค์

หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระพันปีหลวง สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะได้สถาปนาพระนามสมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ พระพันปีหลวง ขึ้นเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง โดยพระศพถูกเก็บไว้ที่สุสานหลวงมุซะชิโนะ โนะ ฮิงะชิ โนะ มิซะซะงิ ใกล้สุสานหลวงมุซาชิโนะของพระราชสวามี[2]

พระอิสริยยศ

แก้
  • พ.ศ. 2446 - 2469 เจ้าหญิงนางาโกะ คูนิ (นางาโกะ โจ)
  • พ.ศ. 2467 - 2469 เจ้าหญิงนางาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น (โคไตชิ ชินโนฮิ)
  • พ.ศ. 2469 - 2532 สมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ (โคโง)
  • พ.ศ. 2532 - 2543 สมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ พระพันปีหลวง (โคไตโง)
  • (พระนามหลังการสวรรคต) สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระราชบุตร

แก้
รูป พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ เสกสมรส พระราชนัดดา
  ชิเงโกะ ฮิงาชิกูนิ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2468 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486 โมริฮิโระ ฮิงาชิกูนิ โนบูฮิโกะ ฮิงาชิกูนิ
ฟูมิโกะ โอมูระ
โมโตฮิโระ มิบุ
นาโอฮิโกะ ฮิงาชิกูนิ
ยูโกะ ฮิงาชิกูนิ
  เจ้าหญิงซาจิโกะ ฮิซะโนะมิยะ 10 กันยายน พ.ศ. 2470 8 มีนาคม พ.ศ. 2471
  คาซูโกะ ทากัตสึกาซะ 30 กันยายน พ.ศ. 2472 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โทชิมิจิ ทากัตสึกาซะ
  อัตสึโกะ อิเกดะ 7 มีนาคม พ.ศ. 2474 10 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ทากามาซะ อิเกดะ
  สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2476 10 เมษายน พ.ศ. 2502 มิจิโกะ โชดะ สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ
เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ
ซายาโกะ คูโรดะ
  เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนมิยะ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2478 30 กันยายน พ.ศ. 2507 ฮานาโกะ สึงารุ
  ทากาโกะ ชิมาซุ 2 มีนาคม พ.ศ. 2482 3 มีนาคม พ.ศ. 2503 ฮิซานางะ ชิมาซุ โยชิฮิซะ ชิมาซุ

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. พระนางทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์พระองค์เดียวที่มีความเกี่ยวโยงกับสาขาฟูชิมิ โนะ มิยะ (ตระกูลโอเกะ [พวกราชตระกูลเก่า]) นอกเหนือจากจักรพรรดินีโคจุง (เจ้าหญิงนางาโกะ) ยังมีสมาชิกสายฟูชิมิโนะมิยะอีก 2 พระองค์ที่กลายมาเป็นพระชายาของสมาชิกราชวงศ์ ได้แก่ เจ้าหญิงคายะ ซากิโกะพระชายาในเจ้าชายยามาชินะ ทาเคฮิโกะ (มาจากสาขาคายะ โนะ มิยะ) และเจ้าหญิงโทโมโกะ ฟูชิมิ พระชายาในเจ้าชายคูนิ อาซาอากิระ (มาจากสาขาฟูชิมิ โนะ มิยะ)
  2. เธอเป็นเจ้าพนักงานรับใช้พระราชนัดดาทั้งสามของจักรพรรดิ ได้แก่ เจ้าชายฮิโรฮิโตะ, เจ้าชายยาซูฮิโตะ และเจ้าชายโนบูฮิโตะ หลังจากเธอเกษียณอายุเธอได้เป็นภรรยาคนที่สองของคันตาโร ซูซูกิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คนที่ 29
  3. บิดาของอิริเอะ ซูเอมาสะ ผู้ถวายการรับใช้จักรพรรดิโชวะเป็นเวลาหลายปี
  4. ตอนนั้นยังไม่มีทายาทชาย (ราชนัดดา) ที่สืบสายต่อลงมาจากจักรพรรดิไทโช รวมถึงจักรพรรดิโชวะเองก็ยังไม่ทรงมีทายาทชาย แต่ในขณะนั้นมีทายาทชายจากตระกูลฟูชิมิ โนะ มิยะจำนวนมากในหมู่เชื้อพระวงศ์ (ราชตระกูลเก่า)
  5. ธิดาของคาซูฮิโกะ ชิมาซุ และเธอมีศักดิ์เป็นบุตรสาวของน้องชายของสมเด็จตาในจักรพรรดินี
  6. ในความเป็นจริงพระราชพิธีสถาปนามกุฎราชกุมารฮิโรฮิโตะ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1952 (ปีโชวะที่ 27) หลังเจ้าชายทรงมีพระชนมายุครบ 18 พรรษา
  7. เธอเป็นพระธิดาองค์ที่สามในเจ้าชายโยชิฮิสะ คิตาชิราคาวะ และเป็นภริยาของไวส์เคานท์มาซาอากิ โฮชินะ
  8. 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 (ปีโชวะที่ 18) จังหวัดโตเกียวและนครโตเกียวถูกรวมเข้าด้วยกัน

เชิงอรรถ

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Downer, Lesely. Obituary: "Nagako, Dowager Empress of Japan," The Guardian (London). 17 June 2000.
  2. 2.0 2.1 2.2 Imperial Household Agency: Empress Kojun
  3. 維新史料編纂会, 1929, p. 1
  4. 明治36年宮内省告示第8号(『官報』第5900号 明治36年3月7日)(NDLJP:2949205
  5. 維新史料編纂会 1929, p. 1.
  6. Large, Stephen S. Emperor Hirohito and Shōwa Japan: Political Biography, pp. 25-26.
  7. 7.0 7.1 昭和の母皇太后さま 2000 p.57
  8. 昭和の母皇太后さま 2000 p.57-58
  9. 昭和の母皇太后さま 2000 p.58
  10. 昭和の母皇太后さま 2000 p.63-65
  11. 昭和の母皇太后さま 2000 p.80-81
  12. 昭和の母皇太后さま 2000 p.80
  13. 昭和の母皇太后さま 2000 p.71
  14. 昭和の母皇太后さま 2000 p.81-82
  15. 昭和の母皇太后さま 2000 p.84
  16. 昭和の母皇太后さま 2000 p.73
  17. 昭和の母皇太后さま 2000 p.73-74
  18. 昭和の母皇太后さま 2000 p.75
  19. 19.0 19.1 昭和の母皇太后さま 2000 p.76
  20. Connors, Leslie. (1987). The Emperor's Adviser: Saionji Kinmochi and Pre-war Japanese Politics, pp. 79-80.
  21. 21.0 21.1 昭和の母皇太后さま 2000 p.85
  22. 昭和の母皇太后さま 2000 p.87-88
  23. 昭和の母皇太后さま 2000 p.89
  24. 昭和の母皇太后さま 2000 p.107
  25. 25.0 25.1 施設の概要 東京都立駒場高等学校公式サイト
  26. 26.0 26.1 陛下、お尋ね申し上げます 1988 p.194
  27. 原 2017 p.256
  28. 昭和の母皇太后さま 2000 p.90
  29. 浅見雅男 2013, p. 37.
  30. 昭和の母皇太后さま 2000 p.97-98
  31. 森 2016 p.49
  32. 森 2016 p.49-50
  33. 森 2016 p.50
  34. 原 2017 p.264
  35. 昭和の母皇太后さま 2000 p.99
  36. 小田部 2001 p.15-16
  37. 森 2016 p.46
  38. 38.0 38.1 38.2 38.3 38.4 森 2016 p.45
  39. 『官報』第2965号「宮廷録事」、大正11年6月21日(NDLJP:2955082/5
  40. 40.0 40.1 原 2017 p.320
  41. 森 2016 p.45-46
  42. 42.0 42.1 『官報』第3050号「宮廷録事」、大正11年9月29日(NDLJP:2955168/4)※原文はカナ表記
  43. ประกาศกระทรวงพระราชสำนัก ฉบับที่ 31 ค.ศ. 1922(ราชกิจจานุเบกษาตอนพิเศษ 28 กันยายน 1922)(NDLJP:2955167/14
  44. 陛下、お尋ね申し上げます 1988 p.123
  45. 森 2016 p.43
  46. 森 2016 p.38-40
  47. 森 2016 p.35
  48. 48.0 48.1 森 2016 p.32
  49. 森 2016 p.59
  50. 森 2016 p.60-59
  51. 昭和の母皇太后さま 2000 p.100
  52. 昭和の母皇太后さま 2000 p.102
  53. 原 2017 p.345
  54. 昭和の母皇太后さま 2000 p.103
  55. "Kozo Okamoto's long life after Israel suicide mission". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
  56. 56.0 56.1 Bix, Hirohito and the Making of Modern Japan, pp. 140–141
  57. 57.0 57.1 原 2017 p.359
  58. 小田部 2001 p.145-147
  59. ประกาศกระทรวงพระราชสำนัก ฉบับที่ 2 ค.ศ. 1924(ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ 12 มกราคม 1924)(NDLJP:2955561/21
  60. 『官報』第3415号「宮廷録事」、大正13年1月14日(NDLJP:2955562/5
  61. 昭和の母皇太后さま 2000 p.105-106
  62. 昭和の母皇太后さま 2000 p.106
  63. ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ บันทึกข้อความพระราชสำนัก 26 มกราคม 1924(NDLJP:2955573/3
  64. 昭和の母皇太后さま 2000 p.109
  65. 陛下、お尋ね申し上げます 1988 p.149
  66. 昭和の母皇太后さま 2000 p.113-114
  67. 昭和の母皇太后さま 2000 p.114-118
  68. ประกาศกระทรวงพระราชสำนัก ฉบับที่ 30 วันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1925 (ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ 6 ธันวาคม 1925)(NDLJP:2956136
  69. 皇女照宮 1973 p.21
  70. 皇女照宮 1973 p.22-24
  71. 皇女照宮 1973 p.23
  72. 原 2017 p.379
  73. 昭和の母皇太后さま 2000 p.122
  74. ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ บันทึกข้อความพระราชสำนัก 25 ธันวาคม 1926(NDLJP:2956454/20
  75. 昭和の母皇太后さま 2000 p.123
  76. 昭和の母皇太后さま 2000 p.126
  77. 昭和の母皇太后さま 2000 p.127
  78. 昭和の母皇太后さま 2000 p.128
  79. 原 2017 p.390
  80. 原 2017 p.391
  81. 原 2017 p.457
  82. 昭和の母皇太后さま 2000 p.131
  83. 昭和の母皇太后さま 2000 p.133
  84. 原 2017 p.394
  85. 原 2017 p.393-394
  86. 小田部 2001 p.148
  87. 原 2017 p.401-402
  88. 原 2017 p.424
  89. 原 2017 p.422-423
  90. 昭和の母皇太后さま 2000 p.137
  91. 原 2017 p.419
  92. ประกาศกระทรวงพระราชสำนัก ฉบับที่ 30 ค.ศ. 1933(ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ 23 ธันวาคม 1933)(NDLJP:2958568/18
  93. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 28 ค.ศ. 1934(ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 2122 31 มกราคม 1934)
  94. 歴代皇后125代総覧420頁
  95. 原 2017 p.452
  96. 96.0 96.1 原 2017 p.454
  97. 原 2017 p.452-453
  98. 日本ニュース 第95号「朝香宮殿下 靖国の遺児を御激励」公開:1942年(昭和17年)3月30日 - NHK戦争証言アーカイブス
  99. 原 2017 p.460
  100. 原 2017 p.466-467
  101. 原 2017 p.467-468
  102. 原 2017 p.470
  103. 原 2017 p.476
  104. 貝出 1970, p.2
  105. 貝出 1970, p.3-4
  106. 原 2017 p.489
  107. 108.0 108.1 貝出 1970, p.3
  108. 原 2017 p.488-89
  109. 原 2017 p.491-92
  110. 原 2017 p.492
  111. 原 2017 p.503
  112. 昭和の母皇太后さま 2000 p.180

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า จักรพรรดินีโคจุง ถัดไป
ซะดะโกะ คุโจ   จักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2469–2532)
  มิชิโกะ โชดะ
ซะดะโกะ คุโจ   พระพันปีหลวงแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2532–2543)