โตเกียว
โตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京; โรมาจิ: Tōkyō; ทับศัพท์: โทเกียว) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหานครโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京都; โรมาจิ: Tōkyō-to; ทับศัพท์: โทเกียว-โตะ; อังกฤษ: Tokyo Metropolis) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ เอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเทศบาลนครไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยหากนับรวมประชากรทั้งหมดในเขตอภิมหานครโตเกียวแล้วจะมีประชากรมากถึง 40 ล้าน คน [5] โดยอาศัยในเขตเมืองประมาณ 14 ล้านคน[6] ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง กรุงโตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโต คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" กรุงโตเกียวได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "สี่นครเอกของโลก" ร่วมกับ ลอนดอน, ปารีส และ นิวยอร์ก
โตเกียว 東京 | |
---|---|
東京都 • มหานครโตเกียว | |
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น | |
• ฮิระงะนะ | とうきょうと |
• คันจิ | 東京都 |
เพลง: "โทเกียวโตกะ" (ญี่ปุ่น: 東京都歌,[1] อังกฤษ: Tokyo Metropolitan Song) | |
![]() ที่ตั้งของโตเกียวในญี่ปุ่น | |
![]() | |
พิกัด: 35°41′22.22″N 139°41′30.12″E / 35.6895056°N 139.6917000°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 35°41′22.22″N 139°41′30.12″E / 35.6895056°N 139.6917000°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
เกาะ | ฮนชู |
ศูนย์กลาง | เขตชินจูกุ |
เขตการบริหาร | 23 เขตพิเศษ, 26 นคร, 1 อำเภอ และ 4 กิ่งจังหวัด |
การปกครอง | |
• องค์กร | องค์การบริหารมหานครโตเกียว |
• ผู้ว่า | ยูริโกะ โคอิเกะ (อิสระ)[2] |
พื้นที่(อันดับที่ 45) | |
• มหานคร | 2,194.07 ตร.กม. (847.14 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• มหานคร | 14,000,000 คน |
• ความหนาแน่น | 6,400 คน/ตร.กม. (17,000 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 40,700,000 คน |
1st | |
เดมะนิม | โตเกียวไอต์ (Tokyoite), โทเกียวจิน (東京人; Tōkyōjin) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
ISO 3166-2 | JP-13 |
ดอกไม้ | Somei-Yoshino cherry blossom |
ต้นไม้ | แปะก๊วย |
นก | นกนางนวลหัวดำ |
เว็บไซต์ | www |
เดิมทีโตเกียวเป็นหมู่บ้านชาวประมงซึ่งรู้จักกันในชื่อ "เอโดะ" กระทั่งเมืองนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเมืองในช่วงประมาณ ค.ศ. 1603 ในรัฐบาลเอโดะ และได้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ด้วยประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน ภายหลังจากการฟื้นฟูเมจิ เมืองหลวงของจักรวรรดิญี่ปุ่นอย่างเกียวโตได้ถูกย้ายมาที่เอโดะ และได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โตเกียว" ซึ่งต่อมาทั้งเมืองได้รับผลกระทบรุนแรงจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต ค.ศ. 1923 ตามด้วยการทิ้งระเบิดโตเกียว ก่อนจะได้รับการบูรณะอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1950 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง นำไปสู่ยุค “ความมหัศจรรย์ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น” ในทศวรรษ 1960 และนับตั้งแต่ ค.ศ. 1943 เป็นต้นมา ได้มีการจัดตั้งมหานครโตเกียวขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษ และมีการแบ่งนครโตเกียวออกเป็น 23 เขต ซึ่งรวมถึงกลุ่มเกาะบริเวณนอกเขตเมืองอีกสองแห่งซึ่งเรียกว่า หมู่เกาะโตเกียว
กรุงโตเกียวได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยวัดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และถูกจัดอยู่ในประเภทเมืองอัลฟ่าพลัส (เมืองระดับโลก) ตามเครือข่ายการวิจัยโลกาภิวัตน์และเมืองโลก โตเกียวยังถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเขตอุตสาหกรรมหลักในภูมิภาคควบคู่ไปกับ โยโกฮามะ, คาวาซากิ, และ ชิบะ เมืองนี้ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทระดับโลกจำนวน 37 แห่งโดยฟอร์จูนโกลบอล 500 (บริษัทชั้นนำ 500 อันดับแรกของโลก)[7] และใน ค.ศ. 2020 โตเกียวได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับสี่ตามความสามารถในการแข่งขันด้านการเงิน เป็นรองเพียง นครนิวยอร์ก, ลอนดอน และ เซี่ยงไฮ้ และที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของโตเกียวสกายทรี สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น[8] รวมถึง "เส้นทางระบายน้ำเขตรอบนอกเมืองหลวง" หรือ "อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ" ซึ่งใช้รับมือเหตุอุทกภัย[9] โตเกียวเมโทรสายกินซะ เปิดให้บริการใน ค.ศ. 1927 ในปัจจุบันถือเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก[10]
กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพเหตุการณ์สำคัญระดับโลกหลายครั้ง ได้แก่ กีฬาโอลิมปิกปี 1964 และ 2020, พาราลิมปิกฤดูร้อน 1964 และ 2020 รวมถึงเป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอดกลุ่ม 7 จำนวนสามครั้ง (ค.ศ. 1979, 1986 และ 1993) กรุงโตเกียวยังเป็นศูนย์การทางด้านการวิจัยและการพัฒนาของประเทศ และเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายแห่งรวมถึงมหาวิทยาลัยโตเกียว สถานีรถไฟโตเกียว เป็นสถานีรถไฟหลักของภูมิภาค และเป็นหนึ่งในสถานีสำคัญของประเทศ รวมทั้งเปิดให้บริการเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นที่รู้จักกันในชื่อ ชิงกันเซ็ง นอกจากนี้ สถานีสำคัญอย่าง สถานีรถไฟชินจูกุ ถือเป็นหนึ่งในสถานีที่มีผู้ใช้บริการมากติดอันดับโลกในแต่ละวัน เขตพิเศษอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงในโตเกียวได้แก่ เขตชิโยดะ เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญระดับประเทศสองแห่ง ได้แก่ พระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ และ อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, เขตชินจูกุ ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ และ เขตชิบูยะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งศูนย์รวมด้านวัฒนธรรม การค้า และ ธุรกิจ
ชื่อเมืองแก้ไข
โตเกียวเคยเรียกว่า เอโดะ แปลว่าปากน้ำ [11] เมื่อกลายเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1868 ก็เปลี่ยนชื่อเป็น โตเกียว แปลว่ากรุงตะวันออก (โท 東 "ตะวันออก", เกียว 京 "กรุง")[11] ในตอนต้นยุคเมจิบางครั้งเรียกโตเกียวว่าโทเก ซึ่งเป็นวิธีอ่านอีกแบบของตัวคันจิ แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว[12] นอกจากนี้โตเกียวยังมีอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งหมายถึงขนมที่ดังเป็นอย่างมากในเมืองไทย เนื่องจากชื่อมีความเหมือนขนมเมืองหลวงอย่างปักกิ่งอีกด้วย
ประวัติศาสตร์แก้ไข
โตเกียวแต่เดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็ก ๆ ที่ชื่อเอโดะ ต่อมาใน ค.ศ. 1457 ปราสาทเอโดะได้ถูกสร้างขึ้น และต่อมาในปีทศวรรษที่ 1590 เป็นยุคที่โทกูงาวะ อิเอยาซุได้เริ่มปราบหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งภายหลังจากปราบหัวเมืองต่าง ๆ ลงได้อย่างราบคาบแล้วใน ค.ศ. 1603 เขาได้สถาปนารัฐบาลโชกุนขึ้นปกครองประเทศ โดยมีเอโดะเป็นที่ตั้งของ "บากูฟุ" (รัฐบาลทหาร) และสถาปนาตนขึ้นเป็นโชกุน เมืองเอโดะจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลทหารของเขาซึ่งมีอำนาจปกครองทั้งประเทศ ในช่วงเวลาต่อมาในยุคเอโดะ เมืองเอโดะก็ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก โดยมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนใน คริสต์ศตวรรษที่ 18[13] และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่น[14] แม้ว่าองค์จักรพรรดิประทับอยู่ในนครหลวงเฮอังเกียว (เกียวโต)
หลังจากนั้นประมาณ 263 ปี ระบอบปกครองภายใต้โชกุนถูกล้มล้างโดยการปฏิรูปเมจิ อำนาจการปกครองจึงกลับคืนมาสู่จักรพรรดิอีกครั้งใน ค.ศ. 1869 จักรพรรดิเมจิทรงย้ายเมืองหลวงมาที่เอโดะและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโตเกียว โตเกียวจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรมของประเทศ [15] และการที่จักรพรรดิทรงย้ายมาประทับจึงทำให้โตเกียวกลายเป็นเมืองหลวงอย่างเต็มตัวและปราสาทเอโดะเปลี่ยนเป็นพระราชวังหลวง
ในยุคเมจิ โตเกียวมีการพัฒนาโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เช่น การเปิดบริการโทรเลขระหว่างโตเกียวกับโยโกฮามะ ในปี 1869 และการเปิดบริการรถไฟสายแรกระหว่างชิมบาชิและโยโกฮามะในปี ค.ศ. 1872[15]
ภูมิศาสตร์แก้ไข
กรุงโตเกียวตั้งอยู่ในที่ราบคันโตติดกับอ่าวโตเกียว มีขนาดประมาณ 90 กม. จากตะวันออกถึงตะวันตก และ 25 กม. จากเหนือถึงใต้ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดชิบะ ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดยามานาชิ ทิศใต้ติดกับจังหวัดคานางาวะ และทิศเหนือติดกับจังหวัดไซตามะ เขตการปกครองของโตเกียวนั้นรวมไปถึงหมู่เกาะอิซุและหมู่เกาะโองาซาวาระด้วย จึงทำให้โตเกียวมีจุดที่อยู่ใต้สุดและตะวันออกสุดของญี่ปุ่นอยู่ในพื้นที่ด้วย
ทางตะวันออกของโตเกียวเป็นที่ราบตะกอนน้ำพาเช่นบริเวณปากแม่น้ำซูมิดะและแม่น้ำเอโดะ พื้นดินค่อนข้างอ่อนจึงทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดิน[16] อ่าวโตเกียวถูกถมที่เพื่อสร้างพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ยุคเอโดะ[17] และเริ่มมีการถมที่เพื่อสร้างสถานที่กำจัดขยะตั้งแต่ปี 1927[18] ปัจจุบันพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ของอ่าวโตเกียวกลายเป็นพื้นที่ถูกถม[19] ในอำเภอนิชิตามะทางตะวันตกเป็นที่สูง โดยมีเขาคูโมโตริซึ่งมีความสูง 2,017 ม. เป็นจุดที่สูงที่สุดในโตเกียว โตเกียวตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีพลังซึ่งอยู่ใกล้ผิวโลกมาก จึงมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้น[20]
ทั้งหมู่เกาะอิซุและโองาซาวาระเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ หมู่เกาะอิซุมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่จำนวนมาก เช่นภูเขาไฟโอยามะบนเกาะมิยาเกะที่ระเบิดในปี 2000[21] ส่วนหมู่เกาะโองาซาวาระนั้นอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากและมีสัตว์ท้องถิ่นหลายชนิด จนบางครั้งถูกเรียกว่าหมู่เกาะกาลาปาโกสแห่งตะวันออก[22]
ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน (Cfa)[23] และตามการแบ่งเขตภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่น โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีความแตกต่างระหว่างฤดูชัดเจน อากาศเปลี่ยนแปลงง่ายในแต่ละวัน ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงและฝนตกมาก ฤดูหนาวมีวันที่แดดออกและอากาศแห้ง
โตเกียวเป็นตัวอย่างของปรากฏการณ์เกาะความร้อน ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยความร้อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่นไอร้อนจากเครื่องปรับอากาศหรือรถยนต์ และการพัฒนาตัวเมืองทำให้มีพื้นที่สีเขียวน้อยลง[24]
ภูมิอากาศแก้ไข
โตเกียวตะวันออกแก้ไข
ข้อมูลภูมิอากาศของ23 เขตพิเศษของโตเกียว[25] (ค.ศ. 1981–2017) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 22.6 (72.7) |
24.9 (76.8) |
25.3 (77.5) |
29.2 (84.6) |
32.2 (90) |
36.2 (97.2) |
39.5 (103.1) |
39.1 (102.4) |
38.1 (100.6) |
32.6 (90.7) |
27.3 (81.1) |
24.8 (76.6) |
39.5 (103.1) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 9.6 (49.3) |
10.4 (50.7) |
13.6 (56.5) |
19.0 (66.2) |
22.9 (73.2) |
25.5 (77.9) |
29.2 (84.6) |
30.8 (87.4) |
26.9 (80.4) |
21.5 (70.7) |
16.3 (61.3) |
11.9 (53.4) |
19.8 (67.6) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 5.2 (41.4) |
5.7 (42.3) |
8.7 (47.7) |
13.9 (57) |
18.2 (64.8) |
21.4 (70.5) |
25.0 (77) |
26.4 (79.5) |
22.8 (73) |
17.5 (63.5) |
12.1 (53.8) |
7.6 (45.7) |
15.4 (59.7) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 0.9 (33.6) |
1.7 (35.1) |
4.4 (39.9) |
9.4 (48.9) |
14.0 (57.2) |
18.0 (64.4) |
21.8 (71.2) |
23.0 (73.4) |
19.7 (67.5) |
14.2 (57.6) |
8.3 (46.9) |
3.5 (38.3) |
11.6 (52.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -9.2 (15.4) |
-7.9 (17.8) |
-5.6 (21.9) |
-3.1 (26.4) |
2.2 (36) |
8.5 (47.3) |
13.0 (55.4) |
15.4 (59.7) |
10.5 (50.9) |
-0.5 (31.1) |
-3.1 (26.4) |
-6.8 (19.8) |
−9.3 (15.3) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 52.3 (2.059) |
56.1 (2.209) |
117.5 (4.626) |
124.5 (4.902) |
137.8 (5.425) |
167.7 (6.602) |
153.5 (6.043) |
168.2 (6.622) |
209.9 (8.264) |
197.8 (7.787) |
92.5 (3.642) |
51.0 (2.008) |
1,528.8 (60.189) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 5 (2) |
5 (2) |
1 (0.4) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
11 (4.3) |
ความชื้นร้อยละ | 52 | 53 | 56 | 62 | 69 | 75 | 77 | 73 | 75 | 68 | 65 | 56 | 62 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 5.3 | 6.2 | 11.0 | 11.0 | 11.4 | 12.7 | 11.8 | 9.0 | 12.2 | 10.8 | 7.6 | 4.9 | 114.0 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 2.8 | 3.7 | 2.2 | 0.2 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.8 | 9.7 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 184.5 | 165.8 | 163.1 | 176.9 | 167.8 | 125.4 | 146.4 | 169.0 | 120.9 | 131.0 | 147.9 | 178.0 | 1,876.7 |
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (รายงาน ค.ศ. 1872–ปัจจุบัน)[26][27][28] |
โตเกียวตะวันตกแก้ไข
ข้อมูลภูมิอากาศของโตเกียวตะวันตก (ค.ศ. 1981–2017) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 6.7 (44.1) |
7.1 (44.8) |
10.3 (50.5) |
16.3 (61.3) |
20.5 (68.9) |
23.0 (73.4) |
26.8 (80.2) |
28.2 (82.8) |
23.9 (75) |
18.4 (65.1) |
13.8 (56.8) |
9.3 (48.7) |
17.1 (62.8) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 1.3 (34.3) |
1.8 (35.2) |
5.0 (41) |
10.6 (51.1) |
15.1 (59.2) |
18.5 (65.3) |
22.0 (71.6) |
23.2 (73.8) |
19.5 (67.1) |
13.8 (56.8) |
8.5 (47.3) |
3.8 (38.8) |
11.9 (53.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | −2.7 (27.1) |
−2.3 (27.9) |
0.6 (33.1) |
5.6 (42.1) |
10.5 (50.9) |
14.8 (58.6) |
18.7 (65.7) |
19.7 (67.5) |
16.3 (61.3) |
10.3 (50.5) |
4.6 (40.3) |
−0.1 (31.8) |
8.1 (46.6) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 44.1 (1.736) |
50.0 (1.969) |
92.5 (3.642) |
109.6 (4.315) |
120.3 (4.736) |
155.7 (6.13) |
195.4 (7.693) |
280.6 (11.047) |
271.3 (10.681) |
172.4 (6.787) |
76.7 (3.02) |
39.9 (1.571) |
1,623.5 (63.917) |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 147.1 | 127.7 | 132.2 | 161.8 | 154.9 | 109.8 | 127.6 | 148.3 | 99.1 | 94.5 | 122.1 | 145.6 | 1,570.7 |
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[29] |
เขตการปกครองแก้ไข
เขตพิเศษแก้ไข
โตเกียวมี 23 เขตพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特別区; โรมาจิ: tokubetsu-ku) ได้แก่
- คัตสึชิกะ (ญี่ปุ่น: 葛飾区; โรมาจิ: Katsushika-ku)
- คิตะ (ญี่ปุ่น: 北区; โรมาจิ: Kita-ku)
- โคโต (ญี่ปุ่น: 江東区; โรมาจิ: Kōtō-ku)
- ชินจูกุ (ญี่ปุ่น: 新宿区; โรมาจิ: Shinjuku-ku)
- ชินางาวะ (ญี่ปุ่น: 品川区; โรมาจิ: Shinagawa-ku)
- ชิบูยะ (ญี่ปุ่น: 渋谷区; โรมาจิ: Shibuya-ku)
- ชิโยดะ (ญี่ปุ่น: 千代田区; โรมาจิ: Chiyoda-ku)
- ชูโอ (ญี่ปุ่น: 中央区; โรมาจิ: Chūō-ku)
- ซูงินามิ (ญี่ปุ่น: 杉並区; โรมาจิ: Suginami-ku)
- ซูมิดะ (ญี่ปุ่น: 墨田区; โรมาจิ: Sumida-ku)
- เซตางายะ (ญี่ปุ่น: 世田谷区; โรมาจิ: Setagaya-ku)
- โทชิมะ (ญี่ปุ่น: 豊島区; โรมาจิ: Toshima-ku)
- ไทโต (ญี่ปุ่น: 台東区; โรมาจิ: Taitō-ku)
- นากาโนะ (ญี่ปุ่น: 中野区; โรมาจิ: Nakano-ku)
- เนริมะ (ญี่ปุ่น: 練馬区; โรมาจิ: Nerima-ku)
- บุงเกียว (ญี่ปุ่น: 文京区; โรมาจิ: Bunkyō-ku)
- มินาโตะ (ญี่ปุ่น: 港区; โรมาจิ: Minato-ku)
- เมงูโระ (ญี่ปุ่น: 目黒区; โรมาจิ: Meguro-ku)
- อาดาจิ (ญี่ปุ่น: 足立区; โรมาจิ: Adachi-ku)
- อารากาวะ (ญี่ปุ่น: 荒川区; โรมาจิ: Arakawa-ku)
- อิตาบาชิ (ญี่ปุ่น: 板橋区; โรมาจิ: Itabashi-ku)
- เอโดงาวะ (ญี่ปุ่น: 江戸川区; โรมาจิ: Edogawa-ku)
- โอตะ (ญี่ปุ่น: 大田区; โรมาจิ: Ōta-ku)
โตเกียวตะวันตกแก้ไข
นอกเหนือเขตพิเศษซึ่งจัดว่าเป็นใจกลางของมหานครโตเกียวแล้ว ทางพื้นที่ฝั่งตะวันตกของ 23 เขตพิเศษยังเป็นที่ตั้งของฝั่งโตเกียวตะวันตก หรือที่ชาวญี่ปุ่นมักเรียกว่า "ฝั่งทามะ" (ญี่ปุ่น: 多摩地域; โรมาจิ: Tamachiiki)" ซึ่งประกอบด้วยนคร 26 แห่ง
นครแก้ไข
26 นครในโตเกียวตะวันตก ได้แก่
- คิโยเซะ (ญี่ปุ่น: 清瀬市; โรมาจิ: Kiyose-shi)
- คูนิตาจิ (ญี่ปุ่น: 国立市; โรมาจิ: Kunitachi-shi)
- โคกูบุนจิ (ญี่ปุ่น: 国分寺市; โรมาจิ: Kokubunji-shi)
- โคงาเนอิ (ญี่ปุ่น: 小金井市; โรมาจิ: Koganei-shi)
- โคไดระ (ญี่ปุ่น: 小平市; โรมาจิ: Kodaira-shi)
- โคมาเอะ (ญี่ปุ่น: 狛江市; โรมาจิ: Komae-shi)
- โชฟุ (ญี่ปุ่น: 調布市; โรมาจิ: Chōfu-shi)
- ทาจิกาวะ (ญี่ปุ่น: 立川市; โรมาจิ: Tachikawa-shi)
- ทามะ (ญี่ปุ่น: 多摩市; โรมาจิ: Tama-shi)
- นิชิโตเกียว (ญี่ปุ่น: 西東京市; โรมาจิ: Nishitōkyō-shi)
- ฟุซซะ (ญี่ปุ่น: 福生市; โรมาจิ: Fussa-shi)
- ฟูจู (ญี่ปุ่น: 府中市; โรมาจิ: Fuchū-shi)
- มาจิดะ (ญี่ปุ่น: 町田市; โรมาจิ: Machida-shi)
- มิตากะ (ญี่ปุ่น: 三鷹市; โรมาจิ: Mitaka-shi)
- มูซาชิโนะ (ญี่ปุ่น: 武蔵野市; โรมาจิ: Musashino-shi)
- มูซาชิมูรายามะ (ญี่ปุ่น: 武蔵村山市; โรมาจิ: Musashi-murayama-shi)
- อากิชิมะ (ญี่ปุ่น: 昭島市; โรมาจิ: Akishima-shi)
- อากิรูโนะ (ญี่ปุ่น: あきる野市; โรมาจิ: Akiruno-shi)
- อินางิ (ญี่ปุ่น: 稲城市; โรมาจิ: Inagi-shi)
- โอเมะ (ญี่ปุ่น: 青梅市; โรมาจิ: Ōme-shi)
- ฮาจิโอจิ (ญี่ปุ่น: 八王子市; โรมาจิ: Hachiōji-shi)
- ฮามูระ (ญี่ปุ่น: 羽村市; โรมาจิ: Hamura-shi)
- ฮิงาชิกูรูเมะ (ญี่ปุ่น: 東久留米市; โรมาจิ: Higashikurume-shi)
- ฮิงาชิมูรายามะ (ญี่ปุ่น: 東村山市; โรมาจิ: Higashimurayama-shi)
- ฮิงาชิยามาโตะ (ญี่ปุ่น: 東大和市; โรมาจิ: Higashiyamato-shi)
- ฮิโนะ (ญี่ปุ่น: 日野市; โรมาจิ: Hino-shi)
อำเภอนิชิตามะแก้ไข
ทางตะวันตกสุดของจังหวัดโตเกียวนั้นเป็นที่ตั้งของอำเภอขนาดใหญ่ชื่อ "อำเภอนิชิตามะ" (ญี่ปุ่น: 西多摩郡; โรมาจิ: Nishitama-gun) เป็นพื้นที่ที่มีภูมิประเทศแบบภูเขา ซึ่งอำเภอนิชิตามะนี้เองเป็นที่ตั้งของภูเขาที่สูงที่สุดในโตเกียวคือเขาคูโมโตริซึ่งมีความสูงกว่า 2,017 เมตร และยังมีทะเลสาบโอกูตามะซึ่งตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อกับจังหวัดยามานาชิอีกด้วย อำเภอนิชิตามะประกอบด้วยสามเมืองและหนึ่งหมู่บ้าน ได้แก่
- เมืองมิซูโฮะ (ญี่ปุ่น: 瑞穂町; โรมาจิ: Mizuho-machi)
- เมืองโอกูตามะ (ญี่ปุ่น: 奥多摩町; โรมาจิ: Okutama-machi)
- เมืองฮิโนเดะ (ญี่ปุ่น: 日の出町; โรมาจิ: Hinode-machi)
- หมู่บ้านฮิโนฮาระ (ญี่ปุ่น: 檜原村 หรือ 桧原村; โรมาจิ: Hinohara-mura)
เกาะและกิ่งจังหวัดแก้ไข
นอกชายฝั่งออกไปนั้น โตเกียวมีหมู่เกาะมากมาย แต่เนื่องจากระยะทางที่ห่างไกลมากจากสำนักงานกรุงโตเกียว ดังนั้นทางรัฐบาลจึงได้ตั้งสำนักงานท้องถื่นขึ้นบนเกาะนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยมีหมู่เกาะที่เป็นที่รู้จักอยู่ คือ
หมู่เกาะอิซุเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ และยังเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ ซึ่งหมู่เกาะอิซุนี้เป็นที่ตั้งของ 3 กิ่งจังหวัด
หมู่เกาะโองาซาวาระ จากเหนือจรดใต้ประกอบไปด้วยเกาะชิชิจิมะ เกาะนิชิโนะชิมะ เกาะฮาฮาจิมะ เกาะคิตะอิโอ และเกาะมินามิอิโอ ซึ่งโองาซาวาระยังบริหารเกาะเล็ก ๆ ที่ห่างไกลอีกสองเกาะคือเกาะมินามิโตริชิมะ ดินแดนส่วนตะวันออกที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโตเกียวกว่า 1,850 กม. และเกาะโอกิโนะโตริชิมะ เกาะที่อยู่ใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ประชาชนท้องถิ่นแท้ ๆ จะพบเฉพาะบนเกาะชิจิและเกาะฮาฮะเท่านั้น
กิ่งจังหวัด | เทศบาลท้องถิ่น | ประเภท |
---|---|---|
ฮาจิโจ | ฮาจิโจ | เมือง |
อาโองาชิมะ | หมู่บ้าน | |
มิยาเกะ | มิยาเกะ | หมู่บ้าน |
มิกูราจิมะ | หมู่บ้าน | |
โอชิมะ | โอชิมะ | เมือง |
โทชิมะ | หมู่บ้าน | |
นีจิมะ | หมู่บ้าน | |
โคซูชิมะ | หมู่บ้าน | |
โองาซาวาระ | โองาซาวาระ | หมู่บ้าน |
เศรษฐกิจแก้ไข
โตเกียวเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางทางการเงินของโลกร่วมกับนครนิวยอร์กและลอนดอน โตเกียวเป็นเขตเมืองที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการสำรวจพบว่าในเขตอภิมหานครโตเกียวซึ่งมีประชากรประมาณ 35.2 ล้านคน มี GDP รวม 1.191 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2005 (เทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ) ทำให้โตเกียวเป็นเขตเมืองที่มี GDP สูงที่สุดในโลก[30] ในปี 2008 มีบริษัท 47 แห่งในรายชื่อ Fortune Global 500 ที่มีฐานอยู่ในโตเกียว ซึ่งมากเป็นเกือบ 2 เท่าของเมืองอันดับ 2 [31]
โตเกียวเป็น 1 ในศูนย์กลางหลักทางการเงินระหว่างประเทศ[32] และมีสำนักงานใหญ่ของวาณิชธนกิจและบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่ง ในระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้การควบคุมจากทางการ บริษัทใหญ่ ๆ หลายแห่งย้ายสำนักงานใหญ่จากเมืองต่าง ๆ เช่น โอซากะ (ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางการค้าในอดีต) มายังโตเกียว โดยหวังว่าจะได้ประโยชน์จากการที่ติดต่อรัฐบาลได้สะดวกขึ้น แต่แนวโน้มนี้ก็ชะลอตัวลงเมื่อประชากรเพิ่มขึ้นและทำให้ค่าครองชีพสูงตามขึ้นไปด้วย
ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมูลค่าการซื้อขายในตลาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในปี 2003 โตเกียวมีพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมถึง 8.46 ตร.กม.[33] ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงญี่ปุ่น การเกษตรกรรมมีมากในพื้นที่โตเกียวตะวันตก โดยสินค้าที่เน่าเปื่อยง่ายเช่นผัก ผลไม้ และดอกไม้สามารถขนส่งอย่างสะดวกและรวดเร็วไปยังตลาดในเขตพิเศษของจังหวัด โดยมี "โคมัตสึนะ" หรือผักโขมเป็นผักเศรษฐกิจ
การคมนาคมแก้ไข
โตเกียวซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคคันโตตอนใต้ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ทั้งทางรถไฟ รถยนต์ และทางอากาศ การขนส่งมวลชนภายในโตเกียวที่สำคัญคือรถไฟและรถใต้ดินที่มีเครือข่ายกว้างใหญ่และมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
ภายในโตเกียวมีท่าอากาศยานนานาชาติฮาเนดะ (โตเกียว) ซึ่งให้บริการเที่ยวบินในประเทศเป็นส่วนใหญ่และเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุดในเอเชีย[34] ท่าอากาศยานนานาชาติหลักคือท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะซึ่งอยู่ในจังหวัดชิบะ เกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะอิซุก็มีสนามบินของตนเอง เช่น ท่าอากาศยานฮาจิโจจิมะ ท่าอากาศยานมิยาเกจิมะ ท่าอากาศยานโอชิมะ และมีเที่ยวบินมายังสนามบินฮาเนดะ แต่หมู่เกาะโองาซาวาระยังไม่มีสนามบิน เพราะมีข้อโต้แย้งว่าไม่ควรสร้างสนามบินเพราะจะเป็นภัยคุกคามต่อธรรมชาติของเกาะ[35]
นอกจากนี้รถไฟยังเป็นการคมนาคมหลักในโตเกียว ซึ่งมีเครือข่ายทางรถไฟในเมืองขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกเป็นผู้ให้บริการรถไฟที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งรวมถึงรถไฟสายยามาโนเตะ ซึ่งวิ่งเป็นวงผ่านสถานีที่สำคัญของโตเกียวเช่นสถานีโตเกียวและชินจูกุ รถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการโดยโตเกียวเมโทรและสำนักขนส่งมหานครโตเกียว (โทเอ)
ประชากรแก้ไข
+ ประชากรของโตเกียว[3] | ||||
ตามพื้นที่1 |
จังหวัด |
12.79 ล้าน | ||
---|---|---|---|---|
ตามวัย² |
เยาวชน (อายุ 0-14) |
1.461 ล้าน (11.8%) | ||
ตามช่วงเวลา³ |
กลางวัน |
14.978 ล้าน | ||
ตามสัญชาติ |
ต่างชาติ |
364,6534 | ||
|
ผู้พำนักที่ขึ้นทะเบียนแบ่งตามสัญชาติ (ค.ศ. 2012) [36] | |
สัญญาติ | จำนวน |
---|---|
จีน | 161,169 |
เกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ | 99,880 |
ฟิลิปปินส์ | 27,929 |
สหรัฐ | 15,901 |
อินเดีย | 8,313 |
เนปาล | 8,669 |
ไทย | 6,906 |
สหราชอาณาจักร | 5,522 |
พม่า | 4,781 |
ฝรั่งเศส | 4,635 |
โตเกียวมีประชากรทั้งหมดประมาณ 12.79 ล้านคนในเดือนตุลาคม 2007 ซึ่งในจำนวนนั้น 8.65 ล้านคนอาศัยอยู่บริเวณ 23 เขตการปกครองพิเศษในโตเกียว ในเวลากลางวันมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.5 ล้านคนเนื่องจากมีประชากรจากเมืองใกล้เคียงเดินทางเข้ามาเพื่อทำงานหรือศึกษาเล่าเรียน[37] ปรากฏการณ์นี้จะเป็นได้ชัดในเขตชิโยดะ เขตชูโอ และเขตมินาโตะ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 2 ล้านคนในเวลากลางวัน แต่น้อยกว่า 3 แสนคนในเวลากลางคืน
ในปี 2005 ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในโตเกียวมากที่สุด 5 เชื้อชาติได้แก่ จีน (123,611 คน) เกาหลี (106,697 คน) ฟิลิปปินส์ (31,077 คน) อเมริกัน (18,848 คน) และอังกฤษ (7,696 คน)[38]
การศึกษาแก้ไข
โตเกียวมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งรวมทั้งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่นและมีชื่อเสียงในระดับโลก เช่นมหาวิทยาลัยโตเกียว สถาบันเทคโนโลยีโตเกียว มหาวิทยาลัยวาเซดะ มหาวิทยาลัยนครโตเกียว มหาวิทยาลัยโชวะ มหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ เป็นต้น[39][40]
ในแต่ละเขตมีโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของรัฐบริหารโดยคณะกรรมการการศึกษาของมหานครโตเกียว นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายหลายแห่ง[41]
เมืองพี่น้องแก้ไข
โตเกียวมีเมืองพี่น้อง 11 แห่ง[42]
เมือง | ค.ศ. |
---|---|
นิวยอร์ก | 1960 |
ปักกิ่ง | 1979 |
ปารีส | 1982 |
ซิดนีย์ | 1984 |
โซล | 1988 |
จาการ์ตา | 1989 |
เซาเปาโล | 1990 |
ไคโร | 1990 |
มอสโก | 1991 |
เบอร์ลิน | 1994 |
โรม | 1996 |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "東京都歌・市歌". Tokyo Metropolitan Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-11. สืบค้นเมื่อ September 17, 2011.
- ↑ อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/678498
- ↑ 3.0 3.1 "Population of Tokyo". Tokyo Metropolitan Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-23. สืบค้นเมื่อ 2009-01-01.
- ↑ "大都市圏・都市圏の人口". Ministry of Internal Affairs and Communications. สืบค้นเมื่อ 2005.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-20.
- ↑ รายชื่อเมืองที่มีประชากรสูงที่สุดในโลก (อังกฤษ)
- ↑ "Global 500". Fortune (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "TOKYO HOTELS". web.archive.org. 2012-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-09-26.
- ↑ "Metropolitan Area Outer Underground Discharge Channel | Kasukabe | Japan | AFAR". web.archive.org. 2018-09-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-14. สืบค้นเมื่อ 2022-09-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Heart of gold: The Ginza Line celebrates its 90th birthday | The Japan Times". web.archive.org. 2020-12-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 11.0 11.1 Room, Adrian. Placenames of the World. McFarland & Company (1996), p360. ISBN 0-7864-1814-1.
- ↑ "明治東京異聞~トウケイかトウキョウか~東京の読み方" Tokyo Metropolitan Archives (2008). Retrieved on 4 December 2008. (ญี่ปุ่น)
- ↑ McClain, James (1994). Edo and Paris: Urban Life and the State in the Early Modern Era. Cornell University Press. p. 13. ISBN 080148183X.
- ↑ Sorensen, Andre (2004). The Making of Urban Japan: Cities and Planning from Edo to the Twenty First Century. RoutledgeCurzon. p. 16. ISBN 0415354226.
- ↑ 15.0 15.1 "History of Tokyo". Tokyo Metropolitan Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
- ↑ Soki Yamamoto. "Case History No. 9.4. Tokyo, Japan" (PDF). UNESCO. Guidebook to studies of land subsidence due to ground-water withdrawal
- ↑ Takeshi Endoh. "Historical Review of Reclamation Works in the Tokyo Bay Area" (PDF). Journal of Geography. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2005-12-22. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
- ↑ Hidenori Yokoyama. "Disposing of waste in Tokyo Port" (PDF). Japan Society of Civil Engineers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
- ↑ Anne K. Petry. "Geography of Japan". Stanford University.
- ↑ Stefan Lovgren (2005-07-14). "Earthquake Fault Under Tokyo Closer Than Expected, Study Finds". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
- ↑ "The eruption of Miyake island". JAXA.
{{cite web}}
: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า :|1=
(help) - ↑ Makoto Miyazaki. "Wildlife thrives in 'Oriental Galapagos'". Daily Yomiuri Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
- ↑ M. C. Peel, B. L. Finlayson, and T. A. McMahon (2007). "Updated world map of the Köppen-Geiger climate classification" (PDF). Hydrology and Earth System Sciences.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Inter-Ministry Coordination Committee to Mitigate Urban Heat Island (2004-03). "Outline of the Policy Framework to Reduce Urban Heat Island Effects" (PDF).
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ The JMA Tokyo, Tokyo (東京都 東京) station is at 35°41.4′N 139°45.6′E, JMA: 気象統計情報>過去の気象データ検索>都道府県の選択>地点の選択
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値) (ภาษาญี่ปุ่น). สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ December 16, 2014.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ December 16, 2014.
- ↑ 観測史上1~10位の値( 年間を通じての値) (ภาษาญี่ปุ่น). สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ December 16, 2014.
- ↑ "気象庁 / 気象統計情報 / 過去の気象データ検索 / 平年値(年・月ごとの値)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ June 24, 2013.
- ↑ PriceWaterhouseCoopers, "UK Economic Outlook, March 2007", page 5. ""Table 1.2 – Top 30 urban agglomeration GDP rankings in 2005 and illustrative projections to 2020 (using UN definitions and population estimates)"" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
- ↑ "Global 500 Our annual ranking of the world's largest corporationns". CNNMoney.com. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
- ↑ "Financial Centres, All shapes and sizes". The Economist. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
- ↑ Horticulture Statistics Team, Production Statistics Division, Statistics and Information Department, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries (July 15, 2003). "Statistics on Cultivated Land Area" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-24. สืบค้นเมื่อ 2008-10-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Airports welcome record 4.8 billion passengers in 2007". Airports Council International. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-22. สืบค้นเมื่อ 2008-12-07.
- ↑ Rika Nemoto (2008-09-02). "Runways clearing for Ogasawara airport talks". The Asahi Shimbun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2008-12-07.
- ↑ "Tokyo Statistical Yearbook 2012, Population: 2-4 Foreign Residents by District and Nationality (Year-End Data 2008-2012)" (Excel 97). Bureau of General Affairs, Tokyo Metropolitan Government. สืบค้นเมื่อ January 27, 2015.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmetropop
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อforeigners
- ↑ "The Times Higher Education - QS World University Rankings 2008". Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
- ↑ "The World University Rankings 2008". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-04. สืบค้นเมื่อ 2009-01-08.
- ↑ "東京都高等学校一覧". Japanese Wikipedia (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
- ↑ "Sister Cities (States) of Tokyo - Tokyo Metropolitan Government". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-16.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โตเกียว |
- กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เก็บถาวร 2005-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สาระน่ารู้ก่อนเดินทาง โดยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย
- เทศกาลในโตเกียว เก็บถาวร 2005-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพถ่ายดาวเทียมของโตเกียว
- โฮมเพจของมหานครโตเกียวอย่างเป็นทางการ
- ปฏิทินเหตุการณ์สำคัญในโตเกียว เก็บถาวร 2005-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บริษัท รถไฟใต้ดินโตเกียว จำกัด (มหาชน) เก็บถาวร 2007-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- tokyo คู่มือการท่องเที่ยวจากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
ก่อนหน้า | โตเกียว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เฮอังเกียว (เกียวโตะ) |
นครหลวงของญี่ปุ่น (ตั้งแต่ พ.ศ. 2411) |
ปัจจุบัน |