น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ[1] คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน[2]

อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554

ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและ การละลายของหิมะตามฤดูกาล แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้ เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น

น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้ เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด (meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวลา

การควบคุม

แก้
 
ฝายกั้นแม่น้ำฮัมเบอร์ในรัฐออนแทริโอ ประเทศแคนาดา

ในหลายประเทศทั่วโลก แม่น้ำซึ่งมีแนวโน้มว่าน้ำจะท่วมมักมีการจัดการอย่างระวัง การป้องกัน เช่น คันดิน ทางริมแม่น้ำ (bund) อ่างเก็บน้ำและฝาย (weir) ถูกใช้เพื่อป้องกันมิให้แม่น้ำพังตลิ่งเข้ามา เมื่อการป้องกันเหล่านี้ล้มเหลว จะมีการใช้มาตรการฉุกเฉิน เช่น กระสอบทรายหรือหลอดหรือท่อที่พองเคลื่อนย้ายง่าย น้ำท่วมชายฝั่งนั้นได้รับการจัดการในยุโรปและอเมริกาด้วยการป้องกันชายฝั่ง เช่น กำแพงกันคลื่นหรือกำแพงทะเล (sea wall), การสร้างหาดทรายและเกาะสันดอน

หลายคนเสนอว่า การสูญเสียพืชพรรณหรือการตัดไม้ทำลายป่าจะนำไปสู่ความเสี่ยงน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีป่าตามธรรมชาติปกคลุมอยู่ ระยะเวลาที่น้ำท่วมควรลดลง การลดอัตราการตัดไม้ทำลายป่าจะช่วยลดความถี่การอุบัติและความรุนแรงของน้ำท่วมได้[3]

ผลกระทบ

แก้

น้ำท่วมมีผลกระทบรบกวนมากมายต่อถิ่นฐานและกิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์ อย่างไรก็ดี น้ำท่วม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง/เล็กกว่า) ยังสามารถนำมาซึ่งประโยชน์ได้ เช่น การเติมน้ำบาดาลใหม่ ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้นและให้สารอาหารแก่ดินที่ขาดน้ำท่วมทำให้บางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่แห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง มีทรัพยากรน้ำที่สำคัญยิ่ง ที่ซึ่งเหตุการณ์หยาดน้ำฟ้าสามารถมีการกระจายไม่สม่ำเสมอมากตลอดทั้งปี น้ำจืดท่วมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการรักษาระบบนิเวศในทางน้ำไหล และเป็นปัจจัยหลักในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของที่ราบน้ำท่วมถึง[4] น้ำท่วมได้เติมสารอาหารปริมาณมากแก่ทะเลสาบและแม่น้ำซึ่งทำให้การประมงดีขึ้นเป็นเวลาสองสามปี ซึ่งยังเป็นผลของความเหมาะสมของที่ราบน้ำท่วมถึงสำหรับการวางไข่ เพราะมีการล่าน้อยและสารอาหารมาก[5] นกและปลาได้ประโยชน์จากการเพิ่มการผลิตซึ่งเป็นผลจากน้ำท่วม[6]

น้ำท่วมเป็นเวลานั้นสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนโบราณตามแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส, ไนล์, สินธุ, คงคาและแม่น้ำเหลือง เป็นต้น ความอยู่รอดได้สำหรับแหล่งพลังงานทดแทนได้ทางอุทกวิทยานั้นมีมากกว่าในพื้นที่น้ำมีโอกาสท่วม

น้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุด

แก้

ด้านล่างเป็นรายการน้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุดทั่วโลก แสดงถึงเหตุการณ์ที่มียอดผู้เสียชีวิตเกิน 200,000 คน

ยอดผู้เสียชีวิต เหตุการณ์ ประเทศ ปี
2,500,000–3,700,000[7] อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474 จีน พ.ศ. 2474
900,000–2,000,000 อุทกภัยแม่น้ำหวง พ.ศ. 2430 จีน พ.ศ. 2430
500,000–700,000 อุทกภัยแม่น้ำหวง พ.ศ. 2481 จีน พ.ศ. 2481
231,000 เขื่อนป่านเฉียวแตก ผลจากพายุไต้ฝุ่นนีนา มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยประมาณ 86,000 คน และเสียชีวิตจากโรคภัยที่ตามมาอีก 145,000 คน จีน พ.ศ. 2518
230,000 แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 อินโดนีเซีย พ.ศ. 2547
145,000 น้ำท่วมแม่น้ำแยงซี พ.ศ. 2478 จีน พ.ศ. 2478
100,000+ น้ำท่วมในเซนต์เฟลิกซ์ เนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2073
100,000 ฮานอย และ น้ำท่วมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง เวียดนามเหนือ พ.ศ. 2514
100,000 น้ำท่วมแม่น้ำแยงซี พ.ศ. 2454 จีน พ.ศ. 2454

อ้างอิง

แก้
  1. MSN Encarta Dictionary. Flood. เก็บถาวร 2011-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2006-12-28. [http:/www.webcitation.org/query?id=1257023547055729 Archived] 2009-10-31.
  2. Glossary of Meteorology (June 2000). Flood. Retrieved on 2009-01-09.
  3. Bradshaw CJ, Sodhi NS, Peh SH, Brook BW. (2007). Global evidence that deforestation amplifies flood risk and severity in the developing. Also a flood has recently hit Pakistan which is said to be more devastating then the Tsunami of 2005 world. Global Change Biology, 13: 2379–2395.
  4. WMO/GWP Associated Programme on Flood Management "Environmental Aspects of Integrated Flood Management." เก็บถาวร 2015-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน WMO, 2007
  5. Extension of the Flood Pulse Concept[ลิงก์เสีย]
  6. "Birdlife soars above Botswana's floodplains". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-11. สืบค้นเมื่อ 2012-02-09.
  7. Worst Natural Disasters In History เก็บถาวร 2008-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2012-06-07), Retrieved on 2012-06-12

แม่แบบ:Link FA