โตเกียวสกายทรี
โตเกียวสกายทรี (ญี่ปุ่น: 東京スカイツリー; โรมาจิ: Tōkyō Sukaitsurī; ทับศัพท์: โทเกียวซุไกสึรี; อังกฤษ: Tokyo Skytree หรือ Tokyo Sky Tree) เป็นหอกระจายคลื่นและสังเกตการณ์ตั้งอยู่ที่เขตซูมิดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่นนับตั้งแต่เปิดใช้งานใน ค.ศ. 2012[2] และมีความสูงสูงสุดที่ 634 เมตร (2,080 ฟุต) ในช่วงต้น ค.ศ. 2011 ทำให้เป็นหอคอยที่สูงที่สุดในโลกแทนที่แคนตันทาวเวอร์[3][4] และเป็นโครงสร้างที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก (เป็นรองเพียงเมอร์เดกา 118 (678.9 เมตร หรือ 2,227 ฟุต) และบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ (829.8 เมตร หรือ 2,722 ฟุต))[5][a]
โตเกียวสกายทรี | |
---|---|
東京スカイツリー | |
โตเกียวสกายทรีมองจากแม่น้ำซูมิดะ, พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เสร็จสมบูรณ์ |
สถาปัตยกรรม | อนาคตนิยมใหม่ |
ที่ตั้ง | เขตซูมิดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
พิกัด | 35°42′36″N 139°48′39″E / 35.7101°N 139.8107°E |
เริ่มสร้าง | 14 กรกฎาคม 2008 |
วางยอด | 18 มีนาคม 2011 |
แล้วเสร็จ | 29 กุมภาพันธ์ 2012 |
เปิดใช้งาน | 22 พฤษภาคม 2012 |
ค่าก่อสร้าง | 65,000 ล้านเยน[1] |
เจ้าของ | โทบุเรลเวย์ผ่านบริษัท โทบุทาวเวอร์สกายทรี จำกัด [ja] บริษัทในเครือที่ถือหุ้นทั้งหมด |
ความสูง | |
เสาอากาศ | 634.0 m (2,080 ft) |
หลังคา | 495.2 m (1,625 ft) |
ชั้นบนสุด | 451.2 m (1,480 ft) |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ลิฟต์ | 13 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | นิกเก็งเซ็กเก |
ผู้พัฒนาโครงการ | โทบุเรลเวย์ |
ผู้รับเหมาก่อสร้าง | บริษัทโอบายาชิ |
เว็บไซต์ | |
www |
หอคอยนี้เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุหลักสำหรับภูมิภาคคันโต โดยโตเกียวทาวเวอร์ที่เก่ากว่าไม่สามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลให้ครอบคลุม เนื่องจากรอบตัวหอคอยมีอาคารและตึกสูงจำนวนมาก สกายทรีสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 จากนั้นจึงเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2012[6] หอคอยแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโทบุเรลเวย์ (ที่ถือครองพื้นที่) และกลุ่มผู้แพร่ภาพกระจายเสียงภาคพื้นดินจำนวน 6 ราย นำโดย NHK หอคอยนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสถานีรถไฟโตเกียวห่างออกไป 7 กิโลเมตร
การออกแบบ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชื่อและความสูง
แก้ในช่วงตุลาคมถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 มีการรวบรวมข้อเสนอแนะจากประชาชนทั่วไปเพื่อตั้งชื่อหอคอย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2008 คณะกรรมการได้คัดเลือกชื่อเข้าชิงขั้นสุดท้ายจำนวน 6 ชื่อ ได้แก่: "โตเกียวสกายทรี" (ญี่ปุ่น: 東京スカイツリー; โรมาจิ: Tōkyō Sukaitsurī; "Tokyo sky tree"), "โตเกียวเอโดะทาวเวอร์" (ญี่ปุ่น: 東京EDOタワー; โรมาจิ: Tōkyō Edo Tawā; "Tokyo Edo tower"), "ไรซิงทาวเวอร์" (ญี่ปุ่น: ライジングタワー; โรมาจิ: Raijingu Tawā; "Rising tower"), "หอคอยแห่งอนาคต" (ญี่ปุ่น: みらいタワー; โรมาจิ: Mirai Tawā; ทับศัพท์: มิไรทาวเวอร์; "Tower of the future"), "หอคอยแห่งความฝัน" (ญี่ปุ่น: ゆめみやぐら; โรมาจิ: Yumemi Yagura; ทับศัพท์: ยูเมมิ ยางูระ; "Dream lookout") และ "ไรซิงอีสต์ทาวเวอร์" (ญี่ปุ่น: ライジングイーストタワー; โรมาจิ: Raijingu Īsuto Tawā; "Rising east tower") ชื่อโดยตัดสินชื่อทางการจากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ และประกาศเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2008 ว่า "โตเกียวสกายทรี" เป็นชื่อที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุดที่ประมาณ 33,000 คะแนน (30%) จากผู้ลงคะแนนทั้งหมด 110,000 คน โดยชื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองคือ "โตเกียวเอโดะทาวเวอร์"[7]
ความสูง 634 m (2,080 ft) ได้รับการกำหนดเพื่อให้จำได้ง่าย โดยตัวเลข 6 (mu), 3 (sa) และ 4 (shi) รวมกันเป็นชื่อ "มูซาชิ" ชื่อเก่าของภูมิภาคที่โตเกียวสกายทรีตั้งอยู่[8]
การใช้งานเพื่อออกอากาศ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เส้นเวลา
แก้2008
แก้- 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2008: ทำพิธี ณ สถานที่ดังกล่าว เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้าง[9]
2009
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเปิดตัว
แก้เมื่อวันเปิดบริการสกายทรีใกล้มาถึง มีรายงานว่าผู้คนต่างเข้าแถวรอซื้อตั๋วนานถึงหนึ่งสัปดาห์ เมื่อถึงเวลาเปิดให้บริการ การจองตั๋วขึ้นหอคอยในช่วงสองเดือนแรกของการเปิดทำการเต็มเรียบร้อยแล้ว[10] วันเปิดทำการดึงดูดฝูงชนจำนวนหลายหมื่นคน แม้ว่ามีฝนตกหนักจนบดบังทัศนียภาพจากจุดชมวิวของหอคอย นอกจากนี้ ลมแรงยังบังคับให้ต้องปิดลิฟต์ 2 ตัว ทำให้ผู้เข้าชมบางส่วนต้องติดอยู่บนจุดชมวิวชั่วครู่[11]
โทบุรายงานว่า มีผู้เข้าชมสกายทรีในสัปดาห์แรกถึง 1.6 ล้านคน ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่รายงานว่าการที่นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาสร้างความวุ่นวายให้กับความสงบสุขในชุมชน และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับส่วนท้องถิ่นมากนัก[12]
ภาพ
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Japan finishes Tokyo Sky Tree". Mmtimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2014. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
- ↑ Tokyo Sky Tree beats Tokyo Tower, now tallest building in Japan เก็บถาวร 5 ธันวาคม 2012 ที่ archive.today, The Mainichi Daily News, 29 March 2010
- ↑ "Japan Finishes World's Tallest Communications Tower". Council on Tall Buildings and Urban Habitat. 1 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2016. สืบค้นเมื่อ 2 March 2012.
- ↑ "Tokyo Sky Tree". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2 March 2012.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 Arata Yamamoto (22 May 2012). "Tokyo Sky Tree takes root as world's second-tallest structure". NBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
- ↑ 事業概要. Tokyo Skytree Home (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
- ↑ Name of New Tower Decided เก็บถาวร 4 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ Kyodo News, "Tower's developers considered several figures before finally settling on 634 เก็บถาวร 23 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Japan Times, 23 May 2012, p. 2
- ↑ "Tokyo Sky Tree construction starts" เก็บถาวร 15 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Japan Times (15 July 2008). Retrieved 15 July 2008.
- ↑ Tim Newcomb (22 May 2012). "Tokyo Skytree: The World's Tallest Tower, By the Numbers". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
- ↑ "High winds mar opening of Tokyo's Skytree tower". BBC News. 22 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
- ↑ Aoki, Mizuho, "Skytree a mixed blessing for locals เก็บถาวร 5 กรกฎาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Japan Times, 22 June 2012, p. 3
ข้อมูล