โตเกียวทาวเวอร์

โตเกียวทาวเวอร์ (ญี่ปุ่น: 東京タワー; โทเกียวทะวา; อังกฤษ: Tokyo Tower) คือหอคอยสื่อสารขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตมินาโตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีความสูง 332.6 เมตร (1,091 ฟุต)[1] สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958)

โตเกียวทาวเวอร์
東京タワー
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งญี่ปุ่น โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เริ่มสร้างมิถุนายน พ.ศ. 2500
ก่อสร้างพ.ศ. 2500 - 2501
การใช้งานหอสังเกตการณ์ หอกระจายคลื่นวิทยุ หอสัญญาณโทรทัศน์
ความสูง
เสาอากาศ / ยอด332.6 เมตร (1,091 ฟุต)
รายละเอียด
มูลค่า2.8 พันล้านเยน
บริษัท
สถาปนิกทะจู ไนโต
วิศวกรบริษัทนิกเกงเซกเก
เจ้าของนิฮงเดมปะโต

นอกจากจะเป็นหอคอยที่ไว้ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ เช่น NHK TBS ฯลฯ แล้ว โตเกียวทาวเวอร์ยังเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงโตเกียวอีกด้วย โดยปีหนึ่งจะมีคนเข้าชมหอมากกว่า 2 ล้าน 5 แสนคน [2] บริเวณหอคอยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ส่วนล่างสุดเป็นอาคารสูง 4 ชั้นที่ตั้งอยู่ใต้หอโดยตรง ภายในประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ ร้านคา ภัตตาคาร ฯลฯ อีก 2 ส่วนที่เหลือเป็นจุดชมทัศนียภาพของหอคอย ตั้งอยู่บนความสูง 150 เมตร และ 250 เมตรตามลำดับ [3]

ประวัติ

แก้
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - ก่อตั้งบริษัท เสาส่งสัญญาณญี่ปุ่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารจัดการหอคอย
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2500 - ลงมือการสร้าง
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - สร้างแล้วเสร็จ
  • 7 ธันวาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - เปิดให้เข้าชม
  • 23 ธันวาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการ
  • 10 มกราคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - สถานีโทรทัศน์แห่งชาติและบริการสาธารณะ เพื่อการศึกษา (NHK)ทำการออกอากาศผ่านระบบ VHF ช่อง 1
  • 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (NET) หรือสถานีโทรทัศน์อะซะฮิทำการออกกากาศผ่านระบบ VHF ช่อง 10
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - สถานีโทรทัศน์ฟูจิ ทำการออกอากาศผ่านระบบ VHF ช่อง 8
  • เมษายน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - เปลี่ยนเสาส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ NHK เพื่อการศึกษาไปไว้ที่เสาส่งสัญญาณคิโอะอิ แล้วนำเสาส่งสัญญาณของสถานีโรทัศน์ NHK หลักมาใส่แทน
  • 17 มกราคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - ย้ายเสาส่งสัญญาณของ TBS เข้ามาติดตั้ง (VHF ช่อง 6)
  • 12 เมษายน พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - ทีวีโตเกียวออกอากาศผ่านระบบ VHF ช่อง 12
  • 26 เมษายน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - กระจายเสียงคลื่นวิทยุ FM TOKYO ในคลื่น FM 80.0 MHz เป็นครั้งแรก พร้อมกับย้ายเสาส่งสัญญาณของ NHK-FM มาที่หอ ในคลื่น 82.5 MHz
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - ย้ายเสาส่งสัญญาณขอ NTV มาติดตั้ง (VHF ช่อง 4)
  • พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - สถานีโทรทัศน์ NHK เพื่อการศึกษา ได้ย้ายเข้ามาติดตั้ง(VHF ช่อง 3)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)- สถานีวิทยุ J-WAVE ทำการกระจายเสียงผ่านในคลื่น 81.3 MHz
  • 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - TOKYO MX ทำการออกอากาศผ่านระบบ UHF ช่อง 14
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - InterFM ทำการกระจายเสียงผ่านระบบคลื่น 76.1 MHz
  • 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)- สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศจากโตเกียวจำนวน 9 สถานี ยุติการแพร่ภาพออกอากาศในสัญญาณอะนาล็อก และจะทำการแพร่ภาพออกอากาศเป็นสัญญาณดิจิทัลแทน ตั้งแต่เวลา 24:00 น. ในวันเดียวกัน
  • กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)- สืบเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว (เหตุการณ์นี้ทำให้ยอดเสาส่งเอียง) และสถานีโทรทัศน์ทั้ง 9 แห่ง ยุติการแพร่ภาพออกอากาศในสัญญาณอะนาล็อก และทำการแพร่ภาพออกอากาศเป็นสัญญาณดิจิทัลแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ส่งผลมีการรื้อถอนยอดเสาส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ สำหรับโทรทัศน์อะนาล็อก และทำให้เสาฯ ถูกลดจำนวนความสูงเหลือแค่ 315 เมตร ลดลงจากเดิม 18 เมตร
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)- ทางบริษัทฯผู้ดำเนินการเสาส่งฯ มีกำหนดการติดตั้งยอดเสาส่งสัญญาณคลื่นวิทยุแบบใหม่แล้วเสร็จในวันดังกล่าว (แต่ไม่มีการประกาศเรื่องเป้าหมายการใช้งานในภาคต่อไปได้) ทำให้เสาส่งฯ กลับมามีความสูงในระดับเท่าเดิม เมื่อแรกสร้างเสร็จและดำเนินการใช้งานต่อไป[4]

อ้างอิง

แก้
  1. 東京タワーの高さはなぜ333mなの?
  2. "Planners Reveal Design of 'New Tokyo Tower;' Will Be the Tallest Structure in the World". Fox News. สืบค้นเมื่อ 2008-03-30.
  3. "Tokyo Tower". japan-guide.com. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
  4. การรื้อถอนยอดเสาชุดเดิม สำหรับการออกอากาศโทรทัศน์อะนาล็อก จาก Fuji News Network (ภาษาญี่ปุ่น)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

35°39′31″N 139°44′44″E / 35.65861°N 139.74556°E / 35.65861; 139.74556