โคกูบุนจิ
โคกูบุนจิ (ญี่ปุ่น: 国分寺市; โรมาจิ: Kokubunji-shi) เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในส่วนตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 11.46 ตารางกิโลเมตร (4.42 ตารางไมล์) ข้อมูลเมื่อ 1 มีนาคม ค.ศ. 2021[update] โคกูบุนจิมีจำนวนประชากรประมาณ 126,791 คน และมีความหนาแน่นของประชากร 11,000 คนต่อตารางกิโลเมตร[1]
โคกูบุนจิ 国分寺市 | |
---|---|
บริเวณรอบสถานีรถไฟโคกูบุนจิ | |
ที่ตั้งของโคกูบุนจิ (เน้นสีชมพู) ในมหานครโตเกียว | |
พิกัด: 35°42′39.4″N 139°27′43.8″E / 35.710944°N 139.462167°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | มหานครโตเกียว |
บันทึกทางการครั้งแรก | ค.ศ. 741 (ทางการ) |
ก่อตั้งเมือง | 11 ธันวาคม 1940 |
ยกฐานะเป็นนคร | 3 พฤศจิกายน 1964 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | คูนิโอะ อิซาวะ (ตั้งแต่กรกฎาคม 2013) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 11.46 ตร.กม. (4.42 ตร.ไมล์) |
ประชากร (มีนาคม 2021) | |
• ทั้งหมด | 126,791 คน |
• ความหนาแน่น | 11,000 คน/ตร.กม. (29,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | เซลโควาญี่ปุ่น (Zelkova serrata) |
• ดอกไม้ | ซัตสึกิอาซาเลีย (Satsuki azalea) |
โทรศัพท์ | 042-325-0111 |
ที่อยู่ | 1-6-1 Tokura, Kokubunji-shi, Tokyo 185-8501 |
เว็บไซต์ | www |
ภูมิศาสตร์
แก้โคกูบุนจิตั้งอยู่บนที่ราบสูงมูซาชิโนะ อยู่บริเวณกึ่งกลางของมหานครโตเกียว โคกูบุนจิมีความยาวจากตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 5.68 กิโลเมตร และมีความยาวจากเหนือไปใต้ประมาณ 3.86 กิโลเมตร
เทศบาลโดยรอบ
แก้ภูมิอากาศ
แก้โคกูบุนจิมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบาย โดยมีหิมะตกน้อยไปจนถึงไม่มีหิมะตก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในโคกูบุนจิอยู่ที่ 14.0 °C ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1647 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงที่สุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.5 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 2.6 °C[2]
ประชากร
แก้จากข้อมูลสำมะโนของญี่ปุ่น[3] ประชากรของโคกูบุนจิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1920 | 4,618 | — |
1930 | 6,454 | +39.8% |
1940 | 9,324 | +44.5% |
1950 | 19,125 | +105.1% |
1960 | 39,098 | +104.4% |
1970 | 81,259 | +107.8% |
1980 | 91,010 | +12.0% |
1990 | 100,982 | +11.0% |
2000 | 111,404 | +10.3% |
2010 | 120,733 | +8.4% |
ประวัติศาสตร์
แก้พื้นที่ที่เป็นโคกูบุนจิในปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมูซาชิ และเป็นที่ตั้งของวัดประจำแคว้นมูซาชิในยุคนาระ (คำว่า โคกูบุนจิ แปลว่า วัดประจำแคว้น) ในช่วงการปฏิรูปที่ดิน ค.ศ. 1878 หลังยุคการฟื้นฟูเมจิ พื้นทีแห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอคิตะตามะ จังหวัดคานางาวะ หมู่บ้านโคกูบุนจิก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ซึ่งเป็นการจัดตั้งในรูปแบบเทศบาล ต่อมาอำเภอคิตะตามะได้โอนย้ายไปอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดโตเกียวเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1893 หมู่บ้านโคกูบุนจิได้รับการยกฐานะเป็นเมืองใน ค.ศ. 1940 และยกฐานะเป็นนครในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1964
การเมืองการปกครอง
แก้โคกูบุนจิมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครซึ่งเป็นสภาเดี่ยวมีสมาชิกจำนวน 22 คน นครโคกูบุนจิและนครคูนิตาจิประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภามหานครโตเกียวจำนวน 2 ที่นั่ง ในแง่ของการเมืองระดับชาติ โคกูบุนจิเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งโตเกียวที่ 19 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
แก้โคกูบุนจิเป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการวิจัยกลางของฮิตาชิ ซึ่งประกอบด้วยเขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในพื้นที่รอบโตเกียว[4] นอกจากนี้ สถาบันวิจัยเทคนิครถไฟ ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยทางเทคนิคภายใต้กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น ก็ตั้งอยู่ในโคกูบุนจิเช่นกัน
การศึกษา
แก้โคกูบุนจิมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถม 10 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 5 แห่ง[5] มีโรงเรียนมัธยมปลายรัฐ 1 แห่ง คือ โรงเรียนมัธยมปลายโคกูบุนจิ ซึ่งสังกัดคณะกรรมการการศึกษามหานครโตเกียว[6] และโรงเรียนมัธยมปลายเอกชน 1 แห่ง ที่อยู่ในเครือมหาวิทยาลัยวาเซดะ นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยโตเกียวเคไซ ซึ่งมีวิทยาเขตตั้งอยู่ที่โคกูบุนจิ
การขนส่ง
แก้รถไฟ
แก้- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก - สายหลักชูโอ
- สถานี: โคกูบุนจิ – นิชิ-โคกูบุนจิ
- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก - สายมูซาชิโนะ
- สถานี: นิชิ-โคกูบุนจิ
- รถไฟเซบุ - สายเซบุโคกูบุนจิ
- สถานี: โคกูบุนจิ – โคอิงากูโบะ
- รถไฟเซบุ - สายเซบุทามาโกะ
- สถานี: โคกูบุนจิ
ทางหลวง
แก้- โคกูบุนจิไม่มีทางหลวงแผ่นดินหรือทางด่วนผ่าน
เมืองพี่น้อง
แก้สถานที่สำคัญ
แก้- โบราณสถานมูซาชิโคกูบุนจิ
- สวนโทโนงายาโตะ
อ้างอิง
แก้- ↑ "สถิติทางการเทศบาลนครโคกูบุนจิ" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศโคกูบุนจิ
- ↑ สถิติประชากรโคกูบุนจิ
- ↑ Hitachi Central Research Laboratory website เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 28 January 2013
- ↑ "Compulsory Education Systems in Japan", Kokubunji official website เก็บถาวร 2007-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 23 June 2008
- ↑ Tokyo Metropolitan Kokubunji High School website เก็บถาวร 2020-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 23 June 2008
- ↑ "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures (ภาษาอังกฤษ). Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการเทศบาลนครโคกูบุนจิ (ในภาษาญี่ปุ่น)