จังหวัดชิบะ
จังหวัดชิบะ (ญี่ปุ่น: 千葉県; โรมาจิ: Chiba-ken) เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคันโต บนเกาะฮนชูของประเทศญี่ปุ่น[1] จังหวัดชิบะมีประชากร 6,278,060 คน (1 มิถุนายน ค.ศ. 2019) และมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ 5,157 ตารางกิโลเมตร จังหวัดชิบะติดกับจังหวัดอิบารากิทางทิศเหนือ จังหวัดไซตามะทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และโตเกียวทางทิศตะวันตก
จังหวัดชิบะ 千葉県 | |
---|---|
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น | |
• ญี่ปุ่น | 千葉県 |
• โรมาจิ | Chiba-ken |
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เมืองใหม่มากูฮาริ, เขตอุตสาหกรรมเคโย, มากูฮาริเม็ซเซะ, ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ, ท่าเรือชิบะ, นาริตาซัง | |
พิกัด: 35°36′18″N 140°07′24″E / 35.60500°N 140.12333°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
เกาะ | ฮนชู |
เมืองหลวง | ชิบะ |
เขตการปกครอง | อำเภอ: 6, เทศบาล: 54 |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | โทชิฮิโตะ คูมาไง (熊谷 俊人) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 5,157.61 ตร.กม. (1,991.36 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 28 |
ประชากร (1 มิถุนายน ค.ศ. 2019) | |
• ทั้งหมด | 6,278,060 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 6 |
• ความหนาแน่น | 1,200 คน/ตร.กม. (3,200 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส ISO 3166 | JP-12 |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | Kusamaki |
• ดอกไม้ | ดอกผักกาดก้านขาว |
• สัตว์ปีก | Meadow bunting |
• สัตว์น้ำ | ปลาจาน |
เว็บไซต์ | www |
จังหวัดชิบะมีเมืองหลวงชื่อเดียวกันคือ นครชิบะ อีกทั้งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด เมืองที่สำคัญอื่น ๆ เช่น ฟูนาบาชิ มัตสึโดะ อิจิกาวะ[2] และคาชิวะ จังหวัดชิบะตั้งอยู่ริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกของญี่ปุ่น อยู่ทางตะวันออกของโตเกียว และเป็นส่วนหนึ่งของเขตมหานครโตเกียว ซึ่งเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชิบะอยู่บนคาบสมุทรโบโซ ปิดล้อมด้านตะวันออกของอ่าวโตเกียว ซึ่งเป็นอ่าวที่แยกจังหวัดชิบะออกจากจังหวัดคานางาวะ จังหวัดชิบะเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ, โตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต (ประกอบด้วยโตเกียวดิสนีย์แลนด์และโตเกียวดิสนีย์ซี) และเขตอุตสาหกรรมเคโย
ที่มาของชื่อ
แก้ชื่อของจังหวัดชิบะในภาษาญี่ปุ่นมาจากตัวอักษรคันจิสองตัว ตัวแรก 千 หมายถึง "หนึ่งพัน" และตัวที่สอง 葉 หมายถึง "ใบไม้" ชื่อนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในชื่อของสำนักงานบัญชาการประจำภูมิภาค ชิบะ คูนิ โนะ มิยัตสึโกะ (ญี่ปุ่น: 千葉国造; โรมาจิ: Chiba Kuni no Miyatsuko)[3] ชื่อนี้ถูกนำมาใช้โดยตระกูลย่อยของตระกูลไทระ ซึ่งย้ายมาอยู่ในพื้นที่ที่เป็นนครชิบะในปัจจุบันในช่วงปลายสมัยเฮอัง โดยได้รับชื่อนี้มาใช้กลายเป็นตระกูลชิบะ และมีอิทธิพลอย่างมากในพื้นที่ของจังหวัดนี้จนถึงสมัยอาซูจิ–โมโมยามะ คำว่า "ชิบะ" ได้รับเลือกให้เป็นชื่อของจังหวัดนี้ ณ เวลาที่ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1873 โดยสมัชชาผู้ว่าราชการจังหวัด (ญี่ปุ่น: 地方官会議; โรมาจิ: Chihō Kankai Kaigi) ซึ่งเป็นการประชุมของผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยเมจิตอนต้นในการตัดสินใจโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในญี่ปุ่น[4]
คำประสม "เคโย" (ญี่ปุ่น: 京葉; โรมาจิ: Keiyō) ซึ่งหมายถึงภูมิภาคโตเกียว-ชิบะนั้น มาจากอักษรตัวที่สองของคำว่าโตเกียว (京) และอักษรตัวที่สองของคำว่าชิบะ (葉) ซึ่งสามารถออกเสียงได้เป็น "เค" และ "โย" ตามลำดับ[5] คำประสมนี้ใช้ในชื่อต่าง ๆ เช่น ทางรถไฟสายเคโย ถนนเคโย และเขตอุตสาหกรรมเคโย
ประวัติศาสตร์
แก้ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
แก้ในจังหวัดชิบะมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตามหลักฐานจากยุคโจมงที่ยังคงมีอยู่ในทุกส่วนของภูมิภาค มีการพบกองเปลือกหอยไคซูกะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีประชากรจำนวนมากในจังหวัดที่พึ่งพาอาศัยผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรแปซิฟิกและอ่าวโตเกียว และมีสุสานโบราณโคฟุง (เนินสุสานรูปกุญแจ) ซึ่งพบได้ทั่วทั้งจังหวัด โดยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในฟุตสึ ริมอ่าวโตเกียว[6]
ยุคอาซูกะและยุคนาระ
แก้ในยุคอาซูกะ (ค.ศ. 538–710) ภายใต้การปฏิรูปปีไทกะ ค.ศ. 645 โครงสร้างการปกครองของบริเวณที่เป็นจังหวัดชิบะในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นฟูซะ ซึ่งคาดว่าครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชิบะและอิบารากิ ได้แบ่งออกเป็นสองแคว้น ได้แก่ แคว้นชิโมซะ (หรือเรียกอีกอย่างว่าชิโมฟูซะ) ในพื้นที่ทางเหนือ และแคว้นคาซูซะ ในพื้นที่ทางใต้ แคว้นอาวะซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดชิบะได้แยกออกมาจากแคว้นคาซูซะใน ค.ศ. 718 หน่วยการปกครองเหล่านี้ดำรงอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งถูกยกเลิกและรวมเข้าเป็นจังหวัดชิบะหลังจากการฟื้นฟูเมจิ รัฐบาลกลางได้มีการจัดตั้งวัดประจำแคว้นหรือที่เรียกว่าโคคุบุนจิ[7]
ยุคเฮอัง
แก้ราชสำนักของจักรวรรดิค่อย ๆ ขยายอำนาจเหนือสามแคว้นดังกล่าวในยุคนาระ (ค.ศ. 710–794) และยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185) ฐานันดรศักดินาโชเอ็งได้ก่อตั้งขึ้นทั่วทั้งสามแคว้นนี้ และภูมิภาคนี้ได้กลายเป็นแหล่งรายได้จากภาษี สินค้าเกษตร และสินค้าอื่น ๆ ให้กับเมืองหลวงที่เกียวโต อย่างไรก็ตาม เมื่อยุคเฮอังก้าวหน้าขึ้น โคกูชิหรือผู้ว่าประจำแคว้นก็เข้ามาใช้อำนาจทางทหารโดยไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลางในเกียวโต ตระกูลชิบะได้ล่มสลายโดยสิ้นเชิงพร้อมกับราชสำนักของจักรวรรดิ และเป็นส่วนสำคัญในการก่อตั้งผู้สำเร็จรัฐบาลโชกุนคามากูระ[7][8]
ยุคใหม่
แก้จังหวัดชิบะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1873 โดยการยุบสองจังหวัดรวมกัน ได้แก่ จังหวัดคิซาราซุ และจังหวัดอิมบะ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโต ค.ศ. 1923 ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางในจังหวัดชิบะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณตอนใต้สุดของคาบสมุทรโบโซซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1,300 คน พื้นที่ของจังหวัดชิบะที่อยู่ติดกับโตเกียวได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ความรุนแรงของผู้ชุมนุมต่อชาวเกาหลีและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความวุ่นวายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในฟูนาบาชิ อิชิกาวะ และพื้นที่อื่น ๆ[9] ชาวเกาหลีในหลาย ๆ ย่านของยาจิโยะถูกสังหาร และมีการสร้างหอคอยขึ้นใน ค.ศ. 1972 บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟยาจิโยไดเพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว[10] การทำสงครามของจังหวัดชิบะเกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1904–1905) ป้อมปราการชายฝั่งถูกสร้างขึ้นตามอ่าวโตเกียวไปทางใต้จนถึงทาเตยามะเพื่อป้องกันเมืองหลวงของจักรวรรดิญี่ปุ่นจากการโจมตี ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 พื้นที่ทางตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัดได้กลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตทางทหารขนาดใหญ่ และมีการสร้างฐานทัพและป้อมปราการในพื้นที่ชายฝั่งส่วนใหญ่ของจังหวัด หลังจากที่สหรัฐเข้าควบคุมเกาะไซปัน พื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งนครชิบะและโชชิก็ถูกโจมตีด้วยระเบิดเพลิง อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของจังหวัดถูกทำลาย ปฏิบัติการโคโรเนต ซึ่งเป็นหนึ่งในสองส่วนของปฏิบัติการดาวน์ฟอล คือแผนการรุกรานแผ่นดินโตเกียวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1946 โดยสหรัฐ ปฏิบัติการโคโรเนตมีแผนให้หาดคูจูกูริเป็นหนึ่งในสองแห่งของฐานจอดเรือช่วงแรก ส่วนอีกแห่งคือฮิรัตสึกะโดยผ่านอ่าวซางามิ โดยกองทัพสหรัฐที่หนึ่งจะเข้าที่หาดคูจูกูริเพื่อกวาดล้างคาบสมุทรโบโซและไปพบกับกองทัพสหรัฐที่แปดที่โตเกียว หลังจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เนื่องจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 แผนดังกล่าวจึงไม่เป็นผล[11]
ยุคหลังสงคราม
แก้ในช่วงการยึดครองญี่ปุ่น (ค.ศ. 1945–1952) จังหวัดชิบะถูกควบคุมโดยกองกำลังอเมริกันจากชั้นสองของอาคารศาลากลางจังหวัดในนครชิบะ และเมืองอื่น ๆ อีกมากมายในจังหวัดทั้งทางเหนืออย่างนครโชชิและทางใต้อย่างนครทาเทยามะได้ถูกใช้เป็นฐานในการยึดครอง ด้วยความที่ทั่วทั้งจังหวัดนี้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไม่ค่อยได้รับปัญหาการขาดแคลนอาหารและความอดอยากในทันทีหลังสงคราม ช่วงเวลาทันทีหลังสงครามนั้นได้มีการขยายตัวทางอุตสาหกรรมที่มีการวางแผนไว้อย่างดีทางตอนเหนือของจังหวัด และมีผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากการปฏิรูปที่ดินทั่วทั้งจังหวัด ได้มีการรวบรวมพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดเล็กตลอดทั้งชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดชิบะมาเป็นเขตอุตสาหกรรมเคโย และเขตอุตสาหกรรมนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมหนักและท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ที่สำคัญในญี่ปุ่นเรื่อยมา เมืองที่อยู่ใกล้กับโตเกียวเชื่อมต่อกันด้วยรถไฟ เมืองเหล่านี้ได้กลายเป็นเมืองที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในโตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเริ่มเปิดดำเนินการใน ค.ศ. 1978 ในนครนาริตะ เพื่อแทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (สนามบินฮาเนดะ) ที่แออัด โดยก่อนหน้านี้ได้มีการประท้วงอย่างหนัก ในปัจจุบันการสัญจรทางอากาศระหว่างประเทศส่วนใหญ่ที่เข้าสู่ญี่ปุ่นจะต้องผ่านจังหวัดชิบะ ส่วนเกษตรกรรมโดยเฉพาะข้าวและผักที่ส่งไปยังเขตมหานครโตเกียวและปริมณฑลได้ขยายตัวอย่างมากจนกลายเป็นแหล่งรายได้สู่พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือและตอนกลางของจังหวัด การขยายตัวของเกษตรกรรมทางตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัดนั้นตรงกันข้ามกับการลดลงของจำนวนประชากรในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ย้ายไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด อันเป็นผลมาจากนคราภิวัฒน์ (การกลายเป็นเมือง) ของญี่ปุ่น ซึ่งยังคงดำเนินต่อไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ค.ศ. 2011
แก้แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุใน ค.ศ. 2011 ส่งผลกระทบในทางตอนใต้ของจังหวัดชิบะ ในขณะที่การสูญเสียชีวิตและความเสียหายต่อที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมนั้นน้อยกว่าในภูมิภาคโทโฮกุอยู่มาก แต่ก็มีผู้เสียชีวิต 20 คนในจังหวัดชิบะ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสึนามิที่พัดถล่มนครอาซาฮิ นครทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด และทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในสื่อข่าวหลังแผ่นดินไหวในโทโฮกุ เกิดขึ้นที่โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทคอสโมออยล์ในนครอิจิฮาระ ถังแก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) ขนาดใหญ่ถูกไฟไหม้ตั้งแต่วันที่ 11–21 มีนาคม ค.ศ. 2011[12] เหตุการณ์แผ่นดินเหลวในพื้นที่ที่มีการแปรสภาพที่ดินได้เกิดทั่วพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันตกของจังหวัดชิบะทำให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะที่อยู่อาศัย[13][14] นครชิบะ ฟูนาบาชิ นาราชิโนะ และโดยเฉพาะอูรายาซุ ได้รับผลกระทบอย่างมาก[15] เนื่องด้วยความเสียหายถาวรต่อที่อยู่อาศัยอันเป็นผลมาจากแผ่นดินเหลว และการพบหลักฐานของวัสดุกัมมันตภาพรังสี ทำให้ประชากรในจังหวัดชิบะลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1920[13][16]
ภูมิศาสตร์
แก้จังหวัดชิบะมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดอิบารากิที่แม่น้ำโทเนะ ทิศตะวันตกติดกับกรุงโตเกียวและจังหวัดไซตามะที่แม่น้ำเอโดะ ทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก และทิศใต้ล้อมรอบโดยมหาสมุทรแปซิฟิกและอ่าวโตเกียว พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดชิบะตั้งอยู่บนคาบสมุทรโบโซซึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขา มีพื้นที่ทำนาข้าวทางด้านชายฝั่งตะวันออกที่เรียกว่าที่ราบคูจูกูริ[17] ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผลผลิตมาก เขตที่มีประชากรมากที่สุดที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคันโต ซึ่งเขตเมืองได้ขยายไปยังโตเกียวและไซตามะเกิดเป็นการรวมกันเป็นกลุ่มของเขตเมือง (urban agglomeration) การไหลของกระแสน้ำคูโรชิโอะใกล้กับจังหวัดชิบะทำให้ที่นี่ค่อนข้างอบอุ่นในฤดูหนาวและเย็นกว่าในฤดูร้อนในโตเกียว
อุทยานแห่งชาติและอุทยานประจำจังหวัด
แก้ชายฝั่งทั้งหมดของจังหวัดชิบะ ยกเว้นเขตอุตสาหกรรมเคโยทางตอนเหนือ ได้รับการคุ้มครองเป็นอุทยานกึ่งแห่งชาติ 2 แห่ง และอุทยานธรรมชาติประจำจังหวัด 1 แห่ง ภายใต้ระบบอุทยานแห่งชาติของญี่ปุ่น โดย ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2012 ร้อยละ 6 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานธรรมชาติ[18]
- อุทยานกึ่งแห่งชาติซูอิโงะ-สึกูบะ (ญี่ปุ่น: 水郷筑波国定公園; โรมาจิ: Suigō-Tsukuba Kokutei Kōen) ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ของลุ่มแม่น้ำโทเนะและบริเวณรอบภูเขาสึกูบะในจังหวัดอิบารากิ อุทยานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1953 เพื่อคุ้มครองไม่เพียงแต่สิ่งแวดล้อมของพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วย ปากแม่น้ำโทเนะ แหลมอินูโบ และเบียวบูงาอูระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ เป็นพื้นที่ทางตอนใต้ของอุทยาน[19]
- อุทยานกึ่งแห่งชาติมินามิโบโซ (ญี่ปุ่น: 南房総国定公園; โรมาจิ: Minami-Bōsō Kokutei Kōen) ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1953 เพื่อคุ้มครองพื้นที่ชายฝั่งทางตอนใต้ของจังหวัดชิบะ ตั้งแต่แหลมฟุตสึบนอ่าวโตเกียวไปจนถึงแหลมอินูโบทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ อุทยานแห่งนี้ครอบคลุมเขตการปกครอง 9 แห่งในจังหวัด อุทยานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองไม่เพียงแต่สภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่เหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะวัดที่เกี่ยวข้องกับนิจิเร็ง[20]
จังหวัดชิบะได้กำหนดและดูแลอุทยานธรรมชาติประจำจังหวัดจำนวน 8 แห่ง เพื่อคุ้มครองทั้งพื้นที่ธรรมชาติและวัฒนธรรม ได้แก่ อุทยานธรรมชาติประจำจังหวัดอินบะเทงะ, คาซาโมริสึรูมาอิ, คูจูกูริ, มิเนโอกาซังเก, โอโตเนะ, ทากาโงยามะ, โทมิซัง, และโยโรเคโกกุโอกูกิโยซูมิ[21] อีกทั้งยังมีพื้นที่สวนสาธารณะที่กำหนดและคุ้มครองโดยเทศบาลนคร เมือง และหมู่บ้านต่าง ๆ ภายในจังหวัด สวนสาธารณะเหล่านี้ได้รับการบำรุงรักษาเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในท้องถิ่น
ภูมิอากาศ
แก้จังหวัดชิบะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa ตามการแบ่งแบบเคิพเพิน) โดยมีฤดูร้อนที่ร้อนชื้น และฤดูหนาวที่ไม่หนาวจัด ช่วงฤดูฝนหรือที่เรียกว่า สึยุ มีช่วงเวลาประมาณ 50 วัน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 15.7 °C (60.3 °F) ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 19.6 °C (67.3 °F) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ 12.3 °C (54.1 °F)[22]
ข้อมูลภูมิอากาศของนครชิบะ จังหวัดชิบะ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 8.9 (48) |
8.9 (48) |
11.7 (53) |
17.2 (63) |
21.7 (71) |
23.9 (75) |
27.2 (81) |
29.4 (85) |
26.1 (79) |
20.6 (69) |
16.1 (61) |
11.7 (53) |
18.61 (65.5) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 0.6 (33) |
1.1 (34) |
3.9 (39) |
9.4 (49) |
13.9 (57) |
17.8 (64) |
21.1 (70) |
23.3 (74) |
19.4 (67) |
13.3 (56) |
7.8 (46) |
2.8 (37) |
11.2 (52.2) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 48.3 (1.902) |
66 (2.6) |
94 (3.7) |
109.2 (4.299) |
96.5 (3.799) |
139.7 (5.5) |
106.7 (4.201) |
121.9 (4.799) |
177.8 (7) |
157.5 (6.201) |
83.8 (3.299) |
48.3 (1.902) |
1,249.7 (49.201) |
แหล่งที่มา: weather.com |
เขตการปกครอง
แก้จังหวัดชิบะประกอบด้วย 37 เทศบาลนคร, 6 อำเภอ, 16 เทศบาลเมือง และ 1 เทศบาลหมู่บ้าน พื้นที่ที่แสดงในตารางมาจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2019[23] และจำนวนประชากรที่แสดงในตารางมาจากรายงานสำมะโนประชากรประจำ ค.ศ. 2015 ของสำนักงานสถิติ กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร[24] โดย 37 เทศบาลนครในจังหวัดชิบะมีพื้นที่รวมกัน 4,405.55 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 85.42 ของพื้นที่จังหวัด และมีประชากรรวม 6,012,551 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 96.62 ของประชากรทั้งจังหวัด
เทศบาล
แก้รหัส ท้องถิ่น |
ธง | ชื่อ | ประเภท | อำเภอ | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ประชากร (คน) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทับศัพท์ไทย | อักษรญี่ปุ่น | โรมาจิ | |||||||
12100 | ชิบะ (เมืองหลวง) |
千葉市 | Chiba-shi | นครใหญ่ ที่รัฐกำหนด |
ไม่มีอำเภอ | 271.78 | 971,882 | 3,576 | |
12217 | คาชิวะ | 柏市 | Kashiwa-shi | นครศูนย์กลาง | 114.74 | 413,954 | 3,608 | ||
12204 | ฟูนาบาชิ | 船橋市 | Funabashi-shi | 85.62 | 622,890 | 7,275 | |||
12202 | โชชิ | 銚子市 | Chōshi-shi | นคร | 84.20 | 64,415 | 765 | ||
12203 | อิจิกาวะ | 市川市 | Ichikawa-shi | 57.45 | 481,732 | 8,385 | |||
12205 | ทาเตยามะ | 館山市 | Tateyama-shi | 110.05 | 47,464 | 431 | |||
12206 | คิซาราซุ | 木更津市 | Kisarazu-shi | 138.95 | 134,141 | 965 | |||
12207 | มัตสึโดะ | 松戸市 | Matsudo-shi | 61.38 | 483,480 | 7,877 | |||
12208 | โนดะ | 野田市 | Noda-shi | 103.55 | 153,583 | 1,483 | |||
12210 | โมบาระ | 茂原市 | Mobara-shi | 99.92 | 89,688 | 898 | |||
12211 | นาริตะ | 成田市 | Narita-shi | 213.84 | 112,993 | 528 | |||
12212 | ซากูระ | 佐倉市 | Sakura-shi | 103.69 | 172,739 | 1,666 | |||
12213 | โทงาเนะ | 東金市 | Tōgane-shi | 89.12 | 60,652 | 681 | |||
12215 | อาซาฮิ | 旭市 | Asahi-shi | 130.45 | 66,586 | 510 | |||
12216 | นาราชิโนะ | 習志野市 | Narashino-shi | 20.97 | 167,909 | 8,007 | |||
12218 | คัตสึอูระ | 勝浦市 | Katsuura-shi | 93.96 | 19,248 | 205 | |||
12219 | อิจิฮาระ | 市原市 | Ichihara-shi | 368.17 | 274,656 | 746 | |||
12220 | นางาเรยามะ | 流山市 | Nagareyama-shi | 35.32 | 174,373 | 4,937 | |||
12221 | ยาจิโยะ | 八千代市 | Yachiyo-shi | 51.39 | 193,152 | 3,759 | |||
12222 | อาบิโกะ | 我孫子市 | Abiko-shi | 43.15 | 131,606 | 3,050 | |||
12223 | คาโมงาวะ | 鴨川市 | Kamogawa-shi | 191.14 | 33,932 | 178 | |||
12224 | คามางายะ | 鎌ヶ谷市 | Kamagaya-shi | 21.08 | 108,917 | 5,167 | |||
12225 | คิมิตสึ | 君津市 | Kimitsu-shi | 318.81 | 86,033 | 270 | |||
12226 | ฟุตสึ | 富津市 | Futtsu-shi | 205.53 | 45,601 | 222 | |||
12227 | อูรายาซุ | 浦安市 | Urayasu-shi | 17.30 | 164,024 | 9,481 | |||
12228 | ยตสึไกโด | 四街道市 | Yotsukaidō-shi | 34.52 | 89,245 | 2,585 | |||
12229 | โซเดงาอูระ | 袖ヶ浦市 | Sodegaura-shi | 94.93 | 60,952 | 642 | |||
12230 | ยาจิมาตะ | 八街市 | Yachimata-shi | 74.94 | 70,734 | 944 | |||
12231 | อินไซ | 印西市 | Inzai-shi | 123.79 | 92,670 | 749 | |||
12232 | ชิโรอิ | 白井市 | Shiroi-shi | 35.48 | 61,674 | 1,738 | |||
12233 | โทมิซาโตะ | 富里市 | Tomisato-shi | 53.88 | 49,636 | 921 | |||
12234 | มินามิโบโซ | 南房総市 | Minamibōsō-shi | 230.12 | 39,033 | 170 | |||
12235 | โซซะ | 匝瑳市 | Sōsa-shi | 101.52 | 37,261 | 367 | |||
12236 | คาโตริ | 香取市 | Katori-shi | 262.35 | 77,499 | 295 | |||
12237 | ซัมมุ | 山武市 | Sanmu-shi | 146.77 | 52,222 | 356 | |||
12238 | อิซูมิ | いすみ市 | Isumi-shi | 157.50 | 38,594 | 245 | |||
12239 | โออามิชิราซาโตะ | 大網白里市 | Ōamishirasato-shi | 58.08 | 49,184 | 847 | |||
12320 | อำเภออิมบะ | 印旛郡 | Inba-gun | อำเภอ | 51.52 | 42,183 | 819 | ||
12322 | ชิซูอิ | 酒々井町 | Shisui-machi | เมือง | อิมบะ | 19.01 | 20,955 | 1,102 | |
12329 | ซากาเอะ | 栄町 | Sakae-machi | 32.51 | 21,228 | 653 | |||
12340 | อำเภอคาโตริ | 香取郡 | Katori-gun | อำเภอ | 138.95 | 35,009 | 252 | ||
12342 | โคซากิ | 神崎町 | Kōzaki-machi | เมือง | คาโตริ | 19.90 | 6,133 | 308 | |
12347 | ทาโกะ | 多古町 | Tako-machi | 72.80 | 14,724 | 202 | |||
12349 | โทโนโช | 東庄町 | Tōnoshō-machi | 46.25 | 14,152 | 306 | |||
12400 | อำเภอซัมบุ | 山武郡 | Sanbu-gun | อำเภอ | 134.71 | 47,703 | 354 | ||
12403 | คูจูกูริ | 九十九里町 | Kujūkuri-machi | เมือง | ซัมบุ | 24.46 | 16,510 | 675 | |
12409 | ชิบายามะ | 芝山町 | Shibayama-machi | 43.24 | 7,431 | 172 | |||
12410 | โยโกชิบาฮิการิ | 横芝光町 | Yokoshibahikari-machi | 67.01 | 23,762 | 355 | |||
12420 | อำเภอโชเซ | 長生郡 | Chōsei-gun | อำเภอ | 226.96 | 60,040 | 265 | ||
12421 | อิจิโนมิยะ | 一宮町 | Ichinomiya-machi | เมือง | โชเซ | 22.99 | 11,767 | 512 | |
12422 | มุตสึซาวะ | 睦沢町 | Mutsuzawa-machi | 35.59 | 7,222 | 203 | |||
12424 | ชิราโกะ | 白子町 | Shirako-machi | 27.50 | 11,149 | 405 | |||
12426 | นางาระ | 長柄町 | Nagara-machi | 47.11 | 7,337 | 156 | |||
12427 | โชนัง | 長南町 | Chōnan-machi | 65.51 | 8,206 | 125 | |||
12423 | โชเซ | 長生村 | Chōsei-mura | หมู่บ้าน | 28.25 | 14,359 | 508 | ||
12440 | อำเภออิซูมิ | 夷隅郡 | Isumi-gun | อำเภอ | 154.72 | 17,158 | 111 | ||
12441 | โอตากิ | 大多喜町 | Ōtaki-machi | เมือง | อิซูมิ | 129.87 | 9,843 | 73 | |
12443 | อนจูกุ | 御宿町 | Onjuku-machi | 24.85 | 7,315 | 294 | |||
12460 | อำเภออาวะ | 安房郡 | Awa-gun | อำเภอ | 45.19 | 8,022 | 178 | ||
12463 | เคียวนัง | 鋸南町 | Kyonan-machi | เมือง | อาวะ | 45.19 | 8,022 | 178 | |
12000-6 | จังหวัดชิบะ | 千葉県 | Chiba-ken | จังหวัด | 5,157.50 | 6,275,916 | 1,217 |
การเมืองการปกครอง
แก้ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 มีผู้ว่าราชการจังหวัด[25]คือ เอจิ ซูซูกิ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อในวงการของเขาคือ เค็นซากุ โมริตะ ซึ่งเป็นอดีตนักแสดง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พรรคจิมินโต/อิสระ – โตเกียวเขต 4) และสภาชิกราชมนตรีสภา (อิสระ – โตเกียว) เขาได้รับเลือกอย่างท่วมท้นจนถึงวาระที่สองในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 โดยมีเพียงผู้ท้าชิงจากพรรคคอมมิวนิสต์และผู้เยาว์ที่ไม่สังกัดพรรค
สภาจังหวัดชิบะ[26] มีสมาชิกตามจำนวน 94 คน โดยได้รับการเลือกตั้งใน 45 เขตเลือกตั้ง ปัจจุบันยังคงอยู่ในวงรอบการเลือกตั้งท้องถิ่นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1947 (รอบล่าสุดคือ ค.ศ. 2019) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 สมาชิกสภาประกอบด้วย พรรคจิมินโต 53 คน, พรรคมินชูโต 17 คน, พรรคโคเมโต 8 คน, พรรคมินนะโนะโต 3 คน, พรรคคอมมิวนิสต์ 2 คน, พรรคอื่น ๆ อีก 5 คน และไม่สังกัดพรรค 6 คน[27]
ในรัฐสภาญี่ปุ่น จังหวัดชิบะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 13 คนจากเขตเลือกตั้ง 1 คนต่อเขต และสมาชิกราชมนตรีสภา 6 คน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ใน ค.ศ. 2014 จังหวัดชิบะแบ่งออกเป็น 54 เทศบาล (ดูรายชื่อในส่วน #เขตการปกครอง) ได้แก่ 37 นคร, 16 เมือง และ 1 หมู่บ้าน[28] เช่นเดียวกับในช่วงหลังสงครามของญี่ปุ่น เทศบาลแต่ละแห่งจะมีนายกเทศมนตรีและสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง นครที่มีประชากรมากที่สุดและเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดเพียงแห่งเดียวในจังหวัดชิบะคือ นครชิบะ มีนครศูนย์กลาง 2 แห่ง คือ ฟูนาบาชิ และคาชิวะ หลังจากมีการควบรวมเทศบาลในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของจังหวัดส่วนใหญ่ได้รับการจัดตั้งเป็นนครที่เป็นอิสระจากอำเภอ ทำให้เหลืออำเภอเพียง 6 อำเภอ ซึ่งมี 3 อำเภอที่มีเมืองหรือหมู่บ้านขึ้นอยู่เหลือเพียงหนึ่งหรือสองแห่ง ในสมัยก่อนหลังจากที่มีการปรับโครงสร้างของการปกครองอำเภอและเทศบาลในทุกจังหวัดใน ค.ศ. 1889–1890 จังหวัดชิบะในตอนแรกมี 12 อำเภอและยังไม่มีนคร[29] และต่อมาเมืองชิบะที่ขึ้นกับอำเภอชิบะได้กลายเป็นเทศบาลแห่งแรกในจังหวัดชิบะที่ได้รับการยกฐานะเป็นนครใน ค.ศ. 1921
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดชิบะ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1947)
แก้- ทาเมโนซูเกะ คาวางูจิ (川口為之助) - ตั้งแต่ 21 เมษายน ค.ศ. 1947 ถึง 25 ตุลาคม ค.ศ. 1950
- ฮิโตชิ ชิบาตะ (柴田 等) - ตั้งแต่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ถึง 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962
- ฮิซาอากิ คาโนะ (加納久朗) - ตั้งแต่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962 ถึง 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963
- มาโกโตะ โทโมโน (友納武人) - ตั้งแต่ 17 เมษายน ค.ศ. 1963 ถึง 16 เมษายน ค.ศ. 1975
- คิอิจิ คาวากามิ (川上紀一) - ตั้งแต่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 ถึง 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981
- ทาเกชิ นูมาตะ (沼田 武) - ตั้งแต่ 5 เมษายน ค.ศ. 1981 ถึง 4 เมษายน ค.ศ. 2001
- อากิโกะ โดโมโตะ (堂本暁子) - ตั้งแต่ 5 เมษายน ค.ศ. 2001 ถึง 4 เมษายน ค.ศ. 2009
- เค็นซากุ โมริตะ (森田健作) - ตั้งแต่ 5 เมษายน ค.ศ. 2009 ถึง 4 เมษายน ค.ศ. 2021
- โทชิฮิโตะ คูมาไง (熊谷俊人) - ตั้งแต่ 5 เมษายน ค.ศ. 2021 ถึงปัจจุบัน
เศรษฐกิจ
แก้อุตสาหกรรม
แก้จังหวัดชิบะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เนื่องจากลักษณะชายฝั่งที่ติดต่อกับอ่าวโตเกียว ในอดีตชิบะเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการบ่ม เช่น มิโซะ สาเก มิริน
ภายหลังสงครามโลกสิ้นสุดลงเกิดการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ชิบะเป็นที่ตั้งของโรงงานเหล็กขนาดใหญ่คาวาซากิตั้งแต่ ค.ศ. 1950 รัฐบาลมีนโยบายการถมทะเลทำนิคมอุตสาหกรรม โกดัง และท่าเรือ เช่นเขตอุตสาหกรรมเคโย[30] อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมเครื่องจักร จังหวัดชิบะมีผลผลิตรวมด้านอุตสาหกรรมเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศญี่ปุ่น[31]
เกษตรกรรม
แก้จังหวัดชิบะยังได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเกษตรกรรมอันดับ 2 ของญี่ปุ่นรองจากจังหวัดฮกไกโด โดยเฉพาะถั่ว ถือเป็นพืชหลักที่ปลูกในจังหวัดชิบะถึงร้อยละ 78[32] นอกจากนี้ยังมีพืชอื่นที่สำคัญเช่น แคร์รอต กะหล่ำปลี ผักกาดหัว ข้าวโพด และข้าว[33][34] นอกจากนี้ยังมีการประมงที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดชิบะจากอ่าวโตเกียว
ประชากรศาสตร์
แก้อัตราการเพิ่มหรือลดของจำนวนประชากรภายในจังหวัดมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภูมิภาคของจังหวัด โดยภูมิภาคฮิงาชิกัตสึ ภูมิภาคอิมบะ และภาคกลางของจังหวัดเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่ภาคใต้ของจังหวัด ภูมิภาคโซโตโบ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดมีการลดลงอย่างมาก อัตราการเติบโตของประชากรมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเป็นพื้นที่ที่ใกล้กับเขตพิเศษของโตเกียว และอัตราการเติบโตของประชากรจะลดลงเมื่อเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างออกไป จังหวัดไซตามะและจังหวัดคานากาวะก็เป็นลักษณะนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งสองจังหวัดเป็นเขตปริมณฑลของโตเกียว แต่ในจังหวัดชิบะจะเห็นแนวโน้มนี้เด่นชัดมากกว่าสองจังหวัดดังกล่าว
|
|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งที่มา:[35] |
ตำรวจ
แก้กองกำลังตำรวจของจังหวัดชิบะเป็นหนึ่งในสิบกองตำรวจที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีสมาชิกมากกว่า 10,000 นาย (รวมถึงตำรวจสนามบินนาริตะ) เช่นเดียวกับในทุกจังหวัด ตำรวจจะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะประจำจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกห้าคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดและได้รับอนุมัติจากสภาจังหวัด[36][37]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แก้จังหวัดชิบะมีความสัมพันธ์แบบเมืองพี่น้องกับ
อ้างอิง
แก้- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Chiba-ken" in Japan Encyclopedia, p. 109, p. 109, ที่กูเกิล หนังสือ; "Kantō" in p. 479, p. 479, ที่กูเกิล หนังสือ.
- ↑ Nussbaum, "Chiba" in p. 109, p. 109, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ "千葉国造(下総)". Nihonjiten.com.
- ↑ "千葉県の成立と行政的変遷". Nihon Rekishi Chimei Taikei (日本歴史地名大系) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-01.
- ↑ "Keiyō". Dijitaru daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-26.
- ↑ 千葉県史料: 原始古代編 [Historical Materials on Chiba Prefecture: Prehistory and Ancient History] (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. Kazusa-no-Kuni. Chiba, Chiba Prefecture: Chiba Prefecture. 1963. LCCN 67000809. OCLC 37884389.
- ↑ 7.0 7.1 Chiba-ken Kōtō Gakkō Kyōiku Kenkyūkai. Rekishi Bukai. (1989). Chiba-ken no rekishi sanpo (千葉県の歴史散步) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Yamakawa Shuppansha. pp. 3–4. ISBN 9784634291201.
- ↑ Nussbaum, "Provinces and prefectures" in p. 780, p. 780, ที่กูเกิล หนังสือ.
- ↑ Chiba-ken Kōtō Gakkō Kyōiku Kenkyūkai. Rekishi Bukai. (1989). Chiba-ken no rekishi sanpo (千葉県の歴史散步) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Yamakawa Shuppansha. p. 9. ISBN 9784634291201.
- ↑ Chiba-ken Kōtō Gakkō Kyōiku Kenkyūkai. Rekishi Bukai. (1989). Chiba-ken no rekishi sanpo (千葉県の歴史散步) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Yamakawa Shuppansha. p. 91. ISBN 9784634291201.
- ↑ Giangreco, D. M. (2011). Hell to Pay: Operation DOWNFALL and the Invasion of Japan, 1945-1947. New York: Naval Institute Press. pp. 169–170. ISBN 9781612510262. OCLC 741492494.
- ↑ "LPG Tanks Fire Extinguished at Chiba Refinery (5th Update)". Cosmo Energy Holdings. March 21, 2011.
- ↑ 13.0 13.1 Fukue, Natsuko (30 March 2012). "Liquefaction driving away Chiba residents". Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2012.
- ↑ Fukue, Natsuko (8 April 2011). "Urayasu still dealing with liquefaction". Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2011.
- ↑ "Liquefaction damage widespread". Yomiuri Shimbun. 10 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2011.
- ↑ "Foreigner exodus spurs Chiba population decline". Yomiuri Shimbun. 9 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2012.
- ↑ "九十九里平野 (Kujūri Heino)". Dijitaru daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-09.
- ↑ "General overview of area figures for Natural Parks by prefecture" (PDF). Ministry of the Environment. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
- ↑ "Suigō-Tsukuba Kokutei Kōen (水郷筑波国定公園)". Nihon Daihyakka Zensho (Nipponika) (日本大百科全書(ニッポニカ) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-09.
- ↑ "Minami-Bōsō Kokutei Kōen (南房総国定公園)". Nihon Daihyakka Zensho (Nipponika) (日本大百科全書(ニッポニカ) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-09.
- ↑ 千葉県の自然公園一覧表 [List of Natural Parks of Chiba Prefecture] (ภาษาญี่ปุ่น). Chiba Prefecture. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
- ↑ "気象庁|過去の気象データ検索". www.data.jma.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2019-02-18.
- ↑ 令和元年全国都道府県市区町村別面積調(7月1日時点) (.pdf) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). สำนักงานสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น. 1 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2019.
- ↑ Population, Population Change(2010-2015), Area, Population Density, Households and Households Change(2010-2015) - Japan*, All Shi, All Gun, Prefectures*, All Shi of Prefectures, All Gun of Prefectures, Shi*, Ku*, Machi*, Mura* and Municipalities in 2000 (.csv) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). สำนักงานสถิติ กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร. 16 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2019.
- ↑ Chiba Prefecture: Governor เก็บถาวร 2015-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)
- ↑ Chiba Prefecture: Assembly (ญี่ปุ่น)
- ↑ Prefectural assembly: Members by caucus (ญี่ปุ่น)
- ↑ Chiba Prefecture, Municipalities เก็บถาวร 2015-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: List, Map
- ↑ Chiba's counties and cities in 1900 (ญี่ปุ่น)
- ↑ Industry
- ↑ "อุตสาหกรรมในจังหวัดชิบะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-06.
- ↑ Chiba, Chiba Prefecture. "Chiba-ken Agricultural statistics". www.japancrops.com. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
- ↑ "Welcome to Chiba - Foods". Chiba Prefectural Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2012-04-20.
- ↑ "Trends in Japan: Chiba Offers Delicacies From Land And Sea". Web Japan. 4 December 2007. สืบค้นเมื่อ 2012-04-26.
- ↑ Statistics Bureau of Japan
- ↑ ตำรวจจังหวัดชิบะ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ คณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะประจำจังหวัดชิบะ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ "Sister-States and Cities". International Wisconsin. 2010-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์จังหวัดชิบะ (ในภาษาญี่ปุ่น)