เกาะฮาฮาจิมะ
เกาะฮาฮาจิมะ (ญี่ปุ่น: 母島; โรมาจิ: Hahajima; 母島 แปลตรงตัวว่าแม่) เป็นเกาะขนาดใหญ่อัมดับที่ 2 ในหมู่เกาะโองาซาวาระ (หมู่เกาะโบนินชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) ตั้งอยู่ห่างจากเกาะชิจิจิมะไปทางใต้ 50 กม. และห่างจากโตเกียว 287 กิโลเมตร[1] [2] จุดที่สูงที่สุดคือชิบูซายามะหรือแปลว่า "ภูเขาเต้านม" มีความสูงประมาณ 462 เมตร (1,516 ฟุต) และยังมีภูเขาซาไกงาทาเกะมีความสูง 443 เมตร (1,453 ฟุต) เกาะฮาฮาจิมะมีกลุ่มเกาะขนาดเล็กอยู่ใกล้เคียงชื่อ อาเนจิมะ อิโมโตจิมะ และเกาะมูโกจิมะฮาฮาจิมะ ถูกตั้งชื่อเป็นฮาฮาจิมะ เร็ตโตะ (母島列島) หรือในอดีตชื่อไบลี่
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | ญี่ปุ่น |
พิกัด | 26°39′N 142°10′E / 26.650°N 142.167°E |
กลุ่มเกาะ | โองาซาวาระ |
การปกครอง | |
ญี่ปุ่น | |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 400-460 คน |
เกาะฮาฮาจิมะนั้นเป็นเกาะเขตร้อนเช่นเดียวกับเกาะอื่นในหมู่เกาะโองาซาวาระ มีสถานะเป็นกิ่งจังหวัดของมหานครโตเกียว มีประชากรราว 440 คน มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร มีระยะทางยาวประมาณ 15 กิโลเมตร กว้าง 2-3 กิโลเมตร ครึ่งทางทิศเหนือเป็นท่าเรือคิตะ จุดสูงสุดของเกาะฮาฮาจิมะคือยอดเขาชิบูซะเป็นภูเขาที่สูงที่สุดของเกาะ[3]
ประวัติ
แก้เกาะฮาฮาจิมะค้นพบครั้งแรกในปี 1543 โดยสำรวจชาวสเปน เบร์นาร์โดเดลาตอร์เร[4] เดิมเรียกว่า เกาะคอฟฟิน เกาะฮิลส์โบโร หรือ หมู่เกาะโลงศพ และชาวยุโรปตั้งรกรากก่อนที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ในสงครามโลกครั้งที่สองรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ชาวบ้านอพยพออกไปและเสริมกำลังบนเกาะ เกาะนี้เป็นเป้าหมายของการโจมตีหลายครั้งโดยกองกำลังสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สิ่งที่เหลืออยู่จากการป้องกันของกองทัพได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของเกาะ
สามารถเดินทางไปเกาะได้โดยเรือข้ามฟากใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงจากชิจิจิมะ เศรษฐกิจของฮาฮาจิมะอิงจากการประมงเชิงพาณิชย์กับโรงกลั่นรัมที่เป็นของรัฐ
ฮาฮาจิมะมีประชากร 450 คนซึ่งเคยมีประชากร 1,546 คนในปี 1904 และเคยมีถึง 1,905 คน ใน ปี 1940 มีถนนสายหนึ่งจากหมู่บ้านคิตามูระ (北村) อยู่ทางตอนเหนือของเกาะไปยังหมู่บ้านโอกิมูระ (沖村) ดิมชื่อ "นิวพอร์ต" ทางตอนใต้ของเกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือ
นิเวศวิทยา
แก้ฮาฮาชิมะเป็นที่สนใจของนักสังขวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากมีหอยทากเฉพาะถิ่นเช่นลัมโปรซิสติส ฮาฮาจิมานะซึ่งมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากการปรากฏพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานย่างกว้างขวางรวมถึงแพะ (ซึ่งทำลายที่อยู่อาศัย) และหนอนตัวแบน หอยทากหมาป่าสีกุหลาบ (ซึ่งกินหอยทากพื้นเมือง) จึงมีการกังวลว่าสัตว์ถิ่นกำเนิดจำนวนมากจะสูญพันธุ์[5]
แต่ส่วนใหญ่หอยทากเฉพาะถิ่นทั้งหมดยังคงอยู่บนคาบสมุทรฮิงาชิซากิซึ่งอยู่ห่างไกลบนชายฝั่งตะวันออก เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลที่สวยงาม แต่เข้าถึงได้ยากมาก (ต้องปีนเขาชิบูสะก่อนที่จะลงไปยังคาบสมุทร) ประกอบด้วยโขดหินสูงชันล้อมรอบที่ราบสูงและมีต้นปาล์มจีน (Livistona chinensis) ใบเตยและใบกว้างเช่น เพอร์ซี โคบุ, อาโวคาโด และยังไม่ถูกเตะต้องจากพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานในปัจจุบัน มีการเสนอว่าควรมีการตรวจสอบการเข้าถึงพื้นที่ เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนในการทำลายพื้นที่พิเศษนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ[5]
การเดินทาง
แก้วิธีที่เหมาะที่สุดในการไปเยือนฮาฮาจิมะ คือ อาศัยเรือเฟอร์รีฮาฮาจิมะมารุจากชิจิจิมะ หากต้องการเดินทางไปยังฮาฮาจิมะ ให้ขึ้นเรือเฟอร์รี่ค้างคืนโอะงะซาวาระมารุ จากโตเกียวทาเกะชิบะเทอร์มินัล ไปยังชิจิจิมะใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงและขึ้นเรือเฟอร์รี่ฮาฮาจิมะมารุไปยังฮาฮาจิมะ ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง[6]
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของหมู่เกาะโองาซาวาระ (1981–2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 20.5 (68.9) |
20.1 (68.2) |
21.5 (70.7) |
23.2 (73.8) |
25.4 (77.7) |
28.0 (82.4) |
30.0 (86) |
29.9 (85.8) |
29.7 (85.5) |
28.3 (82.9) |
25.6 (78.1) |
22.4 (72.3) |
25.4 (77.7) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 18.4 (65.1) |
17.9 (64.2) |
19.2 (66.6) |
21.0 (69.8) |
23.2 (73.8) |
25.8 (78.4) |
27.5 (81.5) |
27.7 (81.9) |
27.5 (81.5) |
26.2 (79.2) |
23.5 (74.3) |
20.3 (68.5) |
23.2 (73.8) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 15.7 (60.3) |
15.3 (59.5) |
16.7 (62.1) |
18.8 (65.8) |
21.2 (70.2) |
24.0 (75.2) |
25.4 (77.7) |
25.9 (78.6) |
25.5 (77.9) |
24.1 (75.4) |
21.3 (70.3) |
17.8 (64) |
21.0 (69.8) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 65.3 (2.571) |
58.2 (2.291) |
77.0 (3.031) |
118.4 (4.661) |
145.4 (5.724) |
134.7 (5.303) |
80.9 (3.185) |
112.6 (4.433) |
131.1 (5.161) |
132.1 (5.201) |
128.2 (5.047) |
108.7 (4.28) |
1,292.6 (50.89) |
ความชื้นร้อยละ | 66 | 68 | 73 | 79 | 83 | 86 | 82 | 82 | 82 | 80 | 75 | 70 | 77.2 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 10.3 | 9.1 | 10.8 | 9.9 | 11.7 | 9.3 | 8.4 | 11.0 | 11.6 | 13.0 | 11.1 | 11.8 | 128 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 136.4 | 131.4 | 154.7 | 148.2 | 159.8 | 198.9 | 250.3 | 211.0 | 200.9 | 179.1 | 140.9 | 126.8 | 2,038.4 |
แหล่งที่มา: [7] |
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.gotokyo.org/th/destinations/izu-and-ogasawara-islands/hachijojima-island/index.html;สวรรค์แห่งภูมิภาคกึ่งเขตร้อนที่ตั้งอยู่กลางทะเลห่างจากโตเกียว[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://matcha-jp.com/th/3926;เกาะฮะฮะจิมะ[ลิงก์เสีย] หมู่เกาะโอกาซาวาระ และวิธีเดินทางจากโตเกียว (Hahajima)
- ↑ https://www.talonjapan.com/hahajima-island/;เกาะฮาฮาจิมะ[ลิงก์เสีย] Hahajima Island
- ↑ Welsch, Bernhard. (2004). "Was Marcus Island Discovered by Bernardo de la Torre in 1543?" Journal of Pacific History, 39:1, 109-122.
- ↑ 5.0 5.1 Chiba et al. (2007)
- ↑ https://www.japan.travel/th/spot/1622/
- ↑ https://www.travelroad.co.jp/ogasawara/about/climate;มรดกทางธรรมชาติของโลกสภาพอากาศและสภาพภูมิอากาศของหมู่เกาะโองาซาวาระ[ลิงก์เสีย]