จักรพรรดินีญี่ปุ่น

จักรพรรดินีญี่ปุ่น คือพระอิสริยยศของอิสตรีผู้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 女性天皇โรมาจิjosei tennō) และอาจหมายถึงจักรพรรดินีอัครมเหสีในจักรพรรดิญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 皇后โรมาจิkōgō) โดยจักรพรรดินีอัครมเหสีในรัชกาลปัจจุบันคือจักรพรรดินีมาซาโกะในจักรพรรดินารูฮิโตะ

สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
จักรพรรดินีมาซาโกะ
ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
สมาชิกของราชวงศ์ญี่ปุ่น
จวนพระราชวังหลวงโตเกียว
ผู้แต่งตั้งจักรพรรดิญี่ปุ่น
เว็บไซต์สำนักพระราชวังญี่ปุ่น

จักรพรรดินีผู้ครองราชย์

แก้

ตามประวัติศาสตร์ ญี่ปุ่นเคยมีจักรพรรดินีขึ้นเสวยราชสมบัติแปดพระองค์ (หากนับจักรพรรดินีจิงงุ จะมีทั้งหมดเก้าพระองค์ ในจำนวนนี้มีสองพระองค์ครองราชย์สองครั้ง) ซึ่งทั้งหมดจะถูกคัดเลือกมาจากผู้ที่สืบสันดานจากพระราชวงศ์เมื่อนับจากฝ่ายบิดา ทั้งนี้นักวิชาการบางส่วนมองว่าการครองราชย์ของจักรพรรดินีของญี่ปุ่นนั้นเป็นการครองราชย์อย่างชั่วคราวเท่านั้น และสงวนพระราชบัลลังก์เอาไว้เฉพาะแก่เจ้านายบุรุษเพศเท่านั้น[1][2][3] ครั้นหลายศตวรรษต่อมาได้มีกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. 2432 ซึ่งออกมาพร้อมกับรัฐธรรมนูญเมจิระบุว่ามิให้เจ้านายเพศหญิงขึ้นครองราชสมบัติ แม้จะเคยมีความพยายามที่แก้ไขกฎมณเฑียรบาลเพื่อปูทางให้เจ้านายที่เป็นหญิงขึ้นเสวยราชย์ แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ[3]

  1. จักรพรรดินีจิงงุ (ครองราชย์ พ.ศ. 744–812) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ยังเป็นที่ถกเถียง)
  2. จักรพรรดินีซุอิโกะ (ครองราชย์ พ.ศ. 1136–1171) จักรพรรดินีผู้เสวยราชย์พระองค์แรก
  3. จักรพรรดินีโคเงียวกุ (ครองราชย์ครั้งแรก พ.ศ. 1185–1188) หรือจักรพรรดินีไซเม (ครองราชย์ที่สอง พ.ศ. 1198–1204)
  4. จักรพรรดินีจิโต (ครองราชย์ พ.ศ. 1233–1240)
  5. จักรพรรดินีเก็มเม (ครองราชย์ พ.ศ. 1250–1258)
  6. จักรพรรดินีเก็นโช (ครองราชย์ พ.ศ. 1258–1267)
  7. จักรพรรดินีโคเก็ง (ครองราชย์ครั้งแรก พ.ศ. 1292–1301) หรือจักรพรรดินีโชตะกุ (ครองราชย์ที่สอง พ.ศ. 1307–1313)
  8. จักรพรรดินีเมโช (ครองราชย์ พ.ศ. 2172–2186)
  9. จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ (ครองราชย์ พ.ศ. 2305–2314) จักรพรรดินีผู้เสวยราชย์พระองค์ล่าสุด

จักรพรรดินีอัครมเหสี

แก้

แต่เดิมตำแหน่งพระชายาในองค์จักรพรรดิญี่ปุ่นจะถูกเรียกว่าเจ้าหญิง เช่น เจ้าหญิงอิวะพระชายาในจักรพรรดินิมเมียว จนกระทั่งในรัชกาลจักรพรรดิโชมุได้สถาปนาพระอัครมเหสีคือโคเมียวผู้มาจากตระกูลฟูจิวาระเป็น โคโง (ญี่ปุ่น: 皇后โรมาจิkōgō) พระองค์แรก แต่เดิมจะแบ่งพระอิสริยยศไว้ได้แก่ ชูงู (ญี่ปุ่น: 中宮โรมาจิchūgū) สำหรับพระชายา, โคโง (ญี่ปุ่น: 皇后โรมาจิkōgō) หรือ โคไตโง (ญี่ปุ่น: 皇太后โรมาจิKōtaigō) สำหรับพระราชชนนีหรือจักรพรรดินีวิธวา และ ไทโคไตโง (ญี่ปุ่น: 太皇太后โรมาจิTai-Kōtaigō) สำหรับพระอัยยิกาเจ้า กระทั่งกลางยุคเฮอัง มีพระราชธรรมเนียมมีพระชายาเพียงพระองค์เดียว เรียกว่าชูงู ครั้นในรัชสมัยจักรพรรดิอิจิโจมีพระราชธรรมเนียมมีพระชายาสองพระองค์ องค์แรกเรียกโคโงอีกองค์เรียกชูงู มีกรณีหนึ่งในรัชกาลจักรพรรดิโฮริกาวะ ได้สถาปนาเจ้าหญิงยะซุโกะหรือเทชิพระวิมาดา (准母; พระมารดาเลี้ยง) ขึ้นเป็นโคโง

พระนามาภิไธย พระชนม์ชีพ ดำรงตำแหน่ง รัชกาล หมายเหตุ
โอโตโมะ โนะ โคเตโกะ
(大伴小手子)
1130–1135 จักรพรรดิซุชุง
ยะมะโตะฮิเมะ โนะ โอกิมิ
(倭姫王)
1204–1214 จักรพรรดิเท็นจิ
เจ้าหญิงโทชิ
(十市皇女)
1191–1221 1214–1215 จักรพรรดิโคบุง
จักรพรรดินีโคเมียว
(光明皇后)
1244–1303 1273–1292 จักรพรรดิโชมุ
เจ้าหญิงอิโนะเอะ (อิงะมิ)
(井上内親王)
1260–1318 1313–1315 จักรพรรดิโคนิง ถูกถอดจากพระราชอิสริยยศ
ฟุจิวะระ โนะ โอะโตะมุโระ
(藤原乙牟漏)
1303–1333 1326–1333 จักรพรรดิคัมมุ
ุฟุจิวะระ โนะ ไทชิ (ทะระชิโกะ)
(藤原帯子)
?–1337
จักรพรรดิเฮเซ (อาเตะ) สถาปนาเป็นจักรพรรดินีหลังสวรรคต เมื่อ พ.ศ. 1349
ทะชิบะนะ โนะ คะชิโกะ
(橘嘉智子)
1329–1393 1358–1366 จักรพรรดิซะงะ
เจ้าหญิงโคชิ
(高志内親王)
1332–1352
จักรพรรดิจุนนะ สถาปนาเป็นจักรพรรดินีหลังสวรรคต เมื่อ พ.ศ. 1366
เจ้าหญิงเซชิ (มะซะโกะ)
(正子内親王)
1353–1422 1370–1376
ฟุจิวะระ โนะ องชิ (ยะซุโกะ)
(藤原穏子)
1428–1497 1466–1473 จักรพรรดิไดโงะ
ฟุจิวะระ โนะ อังชิ (ยะซุโกะ)
(藤原安子)
1470–1507 1501–1507 จักรพรรดิมุระกะมิ
เจ้าหญิงโชชิ (มะซะโกะ)
(昌子内親王)
1493–1543 1510–1516 จักรพรรดิเรเซ
ฟุจิวะระ โนะ โคชิ (เทะรุโกะ)
(藤原媓子)
1490–1522 1516–1522 จักรพรรดิเอ็งยู
ฟุจิวะระ โนะ จุนชิ (โนะบุโกะ)
(藤原遵子)
1500–1560 1525–1543 (ชูงู)
ฟุจิวะระ โนะ เทชิ (ซะดะโกะ)
(藤原定子)
1520–1544 1533–1543 (ชูงู)
1543–1544 (โคโง)
จักรพรรดิอิจิโจ
ฟุจิวะระ โนะ โชชิ (อะกิโกะ)
(藤原彰子)
1431–1517 1543–1555 (ชูงู)
ฟุจิวะระ โนะ เค็นชิ (คิโยะโกะ)
(藤原妍子)
1537–1570 1555–1561 (ชูงู) จักรพรรดิซันโจ
ฟุจิวะระ โนะ เซชิ (ซุเกะโกะ)
(藤原娍子)
1515–1568 1555–1568 (โคโง)
ฟุจิวะระ โนะ อิชิ (ทะเกะโกะ)
(藤原威子)
1543–1579 1561–1579 (ชูงู) จักรพรรดิโกะ-อิจิโจ
เจ้าหญิงเทชิ
(禎子内親王)
1556–1637 1580 (ชูงู)
1580–1594 (โคโง)
จักรพรรดิโกะ-ซุซะกุ
ฟุจิวะระ โนะ เก็นชิ (โมะโตะโกะ)
(藤原げん子)
1559–1582 1580–1582 (ชูงู)
เจ้าหญิงโชชิ (อะกิโกะ)
(章子内親王)
1570–1648 1589–1611 (ชูงู) จักรพรรดิโกะ-เรเซ
ฟุจิวะระ โนะ ฮิโระโกะ
((藤原寛子)
1579–1670 1594–1611 (โคโง)
1611–1611 (ชูงู)
ฟุจิวะระ โนะ คังชิ
(藤原歓子)
1564–1645 1611–1617 (โคโง)
เจ้าหญิงคะโอะรุโกะ (เคชิ)
(馨子内親王)
1572–1636 1612–1617 (ชูงู)
1617–1636 (โคโง)
จักรพรรดิโกะ-ซังโจ
ฟุจิวะระ โนะ เค็นชิ (คะไตโกะ)
(藤原賢子)
1600–1627 1617–1627 (ชูงู) จักรพรรดิชิระกะวะ
เจ้าหญิงยะซุโกะ (เทชิ)
(媞子内親王)
1619–1639 1614–1636 (ชูงู) จักรพรรดิโฮะริกะวะ พระวิมาดา
เจ้าหญิงโทะกุชิ
(篤子内親王)
1603–1657 1636–1657 (ชูงู)
เจ้าหญิงเรชิ
(令子内親王)
1621–1687 1651–1677 (โคโง) จักรพรรดิโทะบะ พระวิมาดา
ฟุจิวะระ โนะ ทะมะโกะ (โชชิ)
(藤原璋子)
1644–1688 1661–1667 (ชูงู)
ฟุจิวะระ โนะ คิโยะโกะ
(藤原聖子)
1665–1725 1673–1684 (ชูงู) จักรพรรดิซุโตะกุ
ฟุจิวะระ โนะ ยะซุโกะ (ไทชิ)
(藤原泰子)
1638– 1699 1677–1682 (โคโง) จักรพรรดิโทะบะ
ฟุจิวะระ โนะ นะริโกะ
(藤原得子)
1660–1703 1685–1692 (โคโง)
ฟุจิวะระ โนะ ทะชิ (มะซะรุโกะ)
(藤原多子)
1683–1745 1693–1699 (โคโง) จักรพรรดิโคะโนะเอะ
ฟุจิวะระ โนะ ชิเมะโกะ (เทชิ)
(藤原呈子)
1674–1719 1693–1699 (ชูงู)
1699–1701 (โคโง)
ฟุจิวะระ โนะ โยะชิโกะ (คินชิ)
(藤原忻子)
1677–1752 1699–1702 (ชูงู)
1702–1715 (โคโง)
จักรพรรดิโกะ-ชิระกะวะ
เจ้าหญิงมุเนะโกะ
(統子内親王)
1669–1732 1701–1702 (โคโง) สถาปนาเป็นกรณีพิเศษโดยที่มิได้เป็นพระชายา
เจ้าหญิงชิยุชิ (โยะชิโกะ)
(姝子内親王)
1684–1719 1702–1705 (โคโง) จักรพรรดินิโจ พระวิมาดา
ฟุจิวะระ โนะ อิกุชิ (มุเนะโกะ)
(藤原育子)
1689–1716 1715–1716 (ชูงู)
ไทระ โนะ โทะกุชิ (โนะริโกะ)
(平徳子)
1698–1757 1715–1723 (ชูงู) จักรพรรดิทะกะกุระ
เจ้าหญิงเรียวชิ (อะกิโกะ)
(亮子内親王)
1690–1759 1725–1730 (โคโง) จักรพรรดิอันโตะกุ พระวิมาดา
คุโจ นินชิ (ทะเอะโกะ)
(九条任子)
1716–1782 1733–1743 (ชูงู) จักรพรรดิโกะ-โทะบะ
เจ้าหญิงฮันชิ (โนะริโกะ)
(範子内親王)
1720–1753 1741–1749 (โคโง) จักรพรรดิสึชิมิกะโดะ พระวิมาดา
โออิ โนะ มิกะโดะ
(大炊御門麗子)
1728–1786 1748–1753 (ชูงู)
เจ้าหญิงโชชิ (โนะโบะรุโกะ)
(昇子内親王)
1738–1754 1751–1752 (โคโง) จักรพรรดิจุนโตะกุ พระวิมาดา
คุโจ ริชิ (ทะสึโกะ)
(九条立子)
1735–1791 1754–1765 (ชูงู)
เจ้าหญิงคุนิโกะ
(邦子内親王)
1752–1826 1764–1767 (โคโง) จักรพรรดิโกะ-โฮะริกะวะ พระวิมาดา
ซันโจ ยูชิ
(三条有子)
1750–1829 1766–1769 (ชูงู)
1769–1770 (โคโง)
โคะโนะเอะ นะงะโกะ
(近衛長子)
1761–1818 1769–1772 (ชูงู)
คุโจ ชุนชิ (โยะชิโกะ)
(九条竴子)
1752–1776 1773–1776 (ชูงู)
เจ้าหญิงโทะชิโกะ
(利子内親王)
1740–1794 1776–1794 (โคโง) จักรพรรดิชิโจ พระวิมาดา
ไซอนจิ คิสึชิ
(西園寺姞子)
1768–1835 1785–1791 (ชูงู) จักรพรรดิโกะ-ซะงะ
เจ้าหญิงกิชิ (อะกิโกะ)
(曦子内親王)
1767–1805 1791–1794 (โคโง) จักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะ สถาปนาเป็นกรณีพิเศษโดยที่มิได้เป็นพระชายา
ไซอนจิ คิมิโกะ
(西園寺公子)
1775–1847 1800–1802 (ชูงู)
ฟุจิวะระ โนะ คิตสึชิ
(藤原佶子)
1788–1815 1804 (ชูงู)
1804–1815 (โคโง)
จักรพรรดิคะเมะยะมะ
ฟุจิวะระ โนะ คิชิ
(藤原嬉子)
1795–1861 1804–1811 (ชูงู)
เจ้าหญิงเรชิ
(姈子内親王)
1813–1850 1828–1834 (โคโง) จักรพรรดิโกะ-อุดะ สถาปนาเป็นกรณีพิเศษโดยที่มิได้เป็นพระชายา
ไซอนจิ โชชิ
(西園寺鏱子)
1814–1885 1831–1841 (ชูงู) จักรพรรดิฟุชิมิ
โทะกุไดจิ คินชิ
(徳大寺忻子)
1826–1895 1846–1853 (ชูงู) จักรพรรดิโกะ-นิโจ
เจ้าหญิงโชชิ (มะซะโกะ)
(奨子内親王)
1829–1891 1862 (โคโง) จักรพรรดิโกะ-ฟุชิมิ สถาปนาเป็นกรณีพิเศษโดยที่มิได้เป็นพระชายา
ไซอนจิ คิชิ
(西園寺禧子)
1846–1876 1862–1861 (ชูงู)
เจ้าหญิงจุนชิ
(珣子内親王)
1854–1880 1861–1882 (ชูงู)
ไม่ปรากฏพระนาม
ไม่ทราบ (ชูงู) จักรพรรดิโชเก
โทะกุงะวะ มะซะโกะ
(徳川和子)
2150–2221 2163–2172 (ชูงู) จักรพรรดิโกะ-โยเซ
ทะกะสึกะซะ ฟุซะโกะ
(鷹司房子)
2196–2255 2226–2230 (ชูงู) จักรพรรดิเรเง็ง
เจ้าหญิงยุกิโกะแห่งอะริซุงะวะ
(幸子女王)
2223–2263 2251–2253 (ชูงู) จักรพรรดิฮิงะชิยะมะ
เจ้าหญิงโยะชิโกะ
(欣子内親王)
2322–2389 2323–2360 (ชูงู) จักรพรรดิโคกะกุ
ฟุจิวะระ โนะ สึนะโกะ
(藤原繋子)
2341–2366
จักรพรรดินินโก สถาปนาเป็นโคโงหลังสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2367
พระพันปีเอโช
(英照皇太后)
2376–2441 2389–2410 (เนียวโง) จักรพรรดิโคเม
จักรพรรดินีโชเก็ง
(昭憲皇后)
2392–2457 2412–2455 (โคโง) จักรพรรดิเมจิ
จักรพรรดินีเทเม
(貞明皇后)
2427–2494 2455–2469 (โคโง) จักรพรรดิไทโช
จักรพรรดินีโคจุง
(香淳皇后)
2446–2543 2469–2532 (โคโง) จักรพรรดิโชวะ
จักรพรรดินีมิชิโกะ
(上皇后美智子)
2477–ปัจจุบัน 2532–2562 (โคโง) จักรพรรดิอะกิฮิโตะ
จักรพรรดินีมาซาโกะ
(皇后雅子)
2506–ปัจจุบัน 2562–ปัจจุบัน (โคโง) จักรพรรดินารูฮิโตะ

อ้างอิง

แก้
  1. "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl", Japan Times. March 27, 2007.
  2. "เจ้าชายนารุฮิโตะ ว่าที่จักรพรรดิองค์ใหม่ของญี่ปุ่น". บีบีซีไทย. 10 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "ราชวงศ์ญี่ปุ่นเผชิญภาวะหดตัว เสี่ยงไร้รัชทายาทสำรองในอนาคต". บีบีซีไทย. 20 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)