คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 17

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 17 ของไทย (23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490)

คณะรัฐมนตรีถวัลย์
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2489–2490
วันแต่งตั้ง24 สิงหาคม พ.ศ.​ 2489
วันสิ้นสุด30 พฤษภาคม พ.ศ.​ 2490
(0 ปี 279 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
รองนายกรัฐมนตรีดิเรก ชัยนาม (ถึง 2490)
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคแนวรัฐธรรมนูญ (57)
พรรคสหชีพ (7)
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
64 / 82
พรรคฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ (18)
ผู้นำฝ่ายค้านควง อภัยวงศ์
ประวัติ
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 16
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 18

พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) เป็นผู้ลงนามในประกาศ

พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ ประธานพฤฒสภา และนายเกษม บุญศรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทย

แก้

ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

  1. นายดิเรก ชัยนาม เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  2. พลโท จิร วิชิตสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  3. นายวิจิตร ลุลิตานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นายจรูญ สืบแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  5. พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  6. นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  7. หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  8. พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  9. พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  10. พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  11. นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  12. พันเอก ทวน วิชัยขัทคะ เป็นรัฐมนตรี
  13. นายจำลอง ดาวเรือง เป็นรัฐมนตรี
  14. นายเตียง ศิริขันธ์ เป็นรัฐมนตรี
  15. นายทองเปลว ชลภูมิ เป็นรัฐมนตรี
  16. หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ เป็นรัฐมนตรี
  17. นายเยื้อน พาณิชวิทย์ เป็นรัฐมนตรี
  18. นายวิโรจน์ กมลพันธ์ เป็นรัฐมนตรี

ที่มาของคณะรัฐมนตรี

แก้

เมื่อปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ประกอบด้วยพรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ และกลุ่มอิสระ ได้เสนอชื่อหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ผลของการซาวเสียงเพื่อสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 113 เสียง มากกว่าคู่แข่งขัน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอ เสนีย์ ปราโมช ซึ่งได้รับคะแนนเพียง 52 คะแนน[1]

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทย

แก้

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2489 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2489 เล่ม 63 ตอน 56 หน้า 3

การปรับคณะรัฐมนตรี

แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ คือ

  • วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นายทอง กันทาธรรม เป็นรัฐมนตรี
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ถึงแก่อนิจกรรม เนื่องในการไปตรวจราชการโดยทางรถไฟสายพม่า–กาญจนบุรี รถคันที่ท่านรัฐมนตรีโดยสารนั้น ได้พลัดตก

จากสะพานทั้งคัน ทั้งนี้ ปรากฏว่ามีเพลิงไหม้เสาสะพานนั้นอยู่ก่อน

  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
    • นายดิเรก ชัยนาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
    • พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อีกตำแหน่งหนึ่ง
    • นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกตำแหน่งหนึ่ง
  • วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2490 นายเตียง ศิริขันธ์ รัฐมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รองตัวแทนในการประนอมระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทย

แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่สมควรกราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ ภายหลังที่ได้มี ญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2490

อ้างอิง

แก้
  1. บัญชา แก้วเกตุทอง, 2520 : หน้า 165