เดือน บุนนาค
ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค ม.ว.ม. ป.ช. ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1] อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร่วมก่อตั้ง เลขาธิการ และรักษาการผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าพรรคสหชีพ มีผลงานที่สำคัญระหว่างปี พ.ศ. 2485-2490 คือ ช่วยแก้ประกาศสงครามให้กลายเป็นโมฆะ
เดือน บุนนาค | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 25 มกราคม พ.ศ. 2489 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2489 | |
ก่อนหน้า | ฟื้น สุพรรณสาร |
ถัดไป | มงคล รัตนวิจิตร |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | ดิเรก ชัยนาม |
ถัดไป | สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | พระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร) |
ถัดไป | พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | วิลาศ โอสถานนท์ |
ถัดไป | หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ |
รักษาการแทนผู้ประศาสน์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2493 | |
ก่อนหน้า | ปรีดี พนมยงค์ |
ถัดไป | หลวงวิจิตรวาทการ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กันยายน พ.ศ. 2448 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (76 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | สหชีพ |
คู่สมรส | คุณหญิง เยาวมาลย์ อมาตยกุล บุนนาค |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค หรือที่รู้จักกันในนาม ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เกิดในตระกูลขุนนาง เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2448 ปีมะเส็ง บริเวณบ้านถนนสินค้า พระนคร เป็นบุตรพระยาประเสนะชิตศรีพิไลย (ดัด บุนนาค) กับคุณหญิงทรัพย์ บุนนาค (สกุลเดิม จุลดุลย์) นับเป็นลำดับชั้นที่ 6 ของตระกูลบุนนาค[2]
ด้านครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงเยาวมาลย์ ธิดาพระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล) และคุณหญิงแถม มีบุตรธิดา 4 คน คือ เดือนฉาย ธัลดล ดนุช และรัฐฎา
เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[3]
การศึกษา
แก้เริ่มต้นการศึกษาในปี พ.ศ. 2454 ที่โรงเรียนวัดราชบูรณะ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2455 และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ใน พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2465 ได้ไปศึกษาต่อทีโรงเรียนลีเซ (Lycée) ณ เมืองเกรอนอบล์ ประเทศฝรั่งเศส และสามารถสอบ Equivalence de Baccalauréat ได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2468
จากนั้น ได้เข้าศึกษา ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบล์ ได้ปริญญา Licencié en droit “Très bien” เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2471
ต่อมาย้ายมาเรียนต่อที่ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส จนได้รับ Diplôme d'Études Supérieures de droit privé และ Diplôme ď'Études Supérieures de l'Économie Politique ใน พ.ศ. 2472 และได้รับปริญญาเอก (Docteur en droit) จากมหาวิทยาลัยปารีส ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2473
ประสบการณ์การทำงาน
แก้- รับราชการและการเมือง
เริ่มต้นฝึกราชการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 ณ ศาลฎีกา กระทรวงยุติธรรม และได้เป็นผู้พิพากษาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้ร่วมจัดระเบียบราชการบริหารจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตย โดยได้โอนจากกระทรวงยุติธรรมไปดำรงตำแหน่งเลขานุการ กรมร่าง กฎหมายคณะรัฐมนตรี จนในที่สุดได้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2477[4]
เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ได้ลาออกจากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[5][6] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[7] รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลายท่าน ได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พันตรีควง อภัยวงศ์ นายทวี บุณยเกตุ นายปรีดี พนมยงค์[8] และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์[9]
- วิชาการและบริหารมหาวิทยาลัย
เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เคยรักษาการในตำแหน่งผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย[10] และเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปิดตลาดวิชา ได้เป็นคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณบดีของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนแรก นอกจากนี้ยังเป็นเป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชาความรู้เบื้องต้นของกฎหมาย และกฎหมายฝรั่งเศส และ ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์วิสามัญ[11]อีกด้วย
- งานด้านรัฐสภา
ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2478 จนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 และได้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2489 เคยเป็นกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาสังคายนารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 และทำการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็นพฤฒสภาในปี พ.ศ. 2489
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[14]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขานิติศาสตร์[15]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค. (มปป.). ศาสตราจารย์เดือน บุนนาค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2010-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
- ↑ สำนักราชเลขานุการ. (มปป.). ประมวลเอกสารทั้งหมด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
- ↑ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2552). ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค กับตำราเศรษฐศาสตร์ยุคแรก*. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ กระทรวงศึกษาธิการ. (มปป.). ทำเนียบรัฐมนตรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
- ↑ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปภัมภ์. (2553). นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ สกุลบุนนาค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
- ↑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์วิสามัญ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๔, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๕, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
ก่อนหน้า | เดือน บุนนาค | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วิลาศ โอสถานนท์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (30 พฤษภาคม 2490 – 8 พฤศจิกายน 2490) |
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ |