สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ (30 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2495) เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรี[1][2]
สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 (0 ปี 308 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | เดือน บุนนาค |
ถัดไป | ผิน ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 11 มกราคม พ.ศ. 2494 (1 ปี 197 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | มังกร พรหมโยธี |
ถัดไป | เลียง ไชยกาล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 (0 ปี 7 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | ปฐม โพธิ์แก้ว |
ถัดไป | ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี |
รักษาการแทนผู้ประศาสน์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 เมษายน พ.ศ. 2494 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2495 | |
ก่อนหน้า | หลวงวิจิตรวาทการ |
ถัดไป | แปลก พิบูลสงคราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 เทศบาลนครเชียงใหม่ |
เสียชีวิต | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 (52 ปี) |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.ท. สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ[3] หรือ ขุนสวัสดิ์รณชัย[4] เกิดวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 ณ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นของนายเซ้ง และนางจีน สวัสดิเกียรติ
พล.ท. สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ[3] ได้สมรสกับนางสาวปทุม พัศดุรักษา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2467 มีบุตรทั้งหมด 14 คน
การทำงาน
แก้เคยรับราชการในกองทัพบก ขณะมียศ พันเอก ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2490 [5] โดยได้รับพระราชทานยศ พลตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491[6] และรับราชการมียศสูงสุดที่ พลโท เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 [7]
ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 พล.ต. สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ (ยศในขนาดนั้น) พร้อมด้วย
- พ.อ. ขุนศิลปศรชัย
- พ.ท. ก้าน จำนงภูมิเวท
- พ.ท. ละม้าย อุทยานานนท์
ได้ทำการรัฐประหาร และบังคับให้นายควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[8]
พล.ท. สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ต่อมาในพ.ศ. 2492 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[9] ก่อนจะถูกปรับเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี[10]
ในปี พ.ศ. 2494 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[11] นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2[12]
การถึงแก่กรรม
แก้พล.ท. สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคตับเรื้อรัง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 สิริอายุ 52 ปี[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2492 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2485 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)
- พ.ศ. 2492 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
อ้างอิง
แก้- ↑ "คณะที่ 23 The Secretariat of the Cabinet, THAILAND". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26.
- ↑ "สมัยที่ 5 - ThaiGoodView.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-20. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 เผ่า ศรียานนท์, พล.ต.อ., 2452-2503. คู่มือตำรวจตามโครงการณ์ใหม่. [ม.ป.ท.]: ส. การพิมพ์; 2496.
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๑๒๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ หนังสือ นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2522)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ)
- ↑ ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๒" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-26.