ฟื้น สุพรรณสาร
ฟื้น สุพรรณสาร (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2503)[1] เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3 สมัย
ฟื้น สุพรรณสาร | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 17 สิงหาคม 2487 – 15 กรกฎาคม 2488 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ธันวาคม พ.ศ. 2440 |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2503 |
ประวัติ
แก้ฟื้น สุพรรณสาร เกิดเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2440[2] เป็นบุตรของหมื่นชำนาญคชสิทธิ์ (โข่ง) นายกรมช้างต้นในรัชกาลที่ 5 กับนางต่วน เขาสมรสกับ อำพัน ธุปโชติ นายฟื้นจบการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฟื้น เป็นอดีตนายกเทศมนตรีคนแรกของเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 โดยไม่สังกัดพรรคการเมือง ในปีเดียวกันได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยในปี พ.ศ. 2492 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ[3] และเป็น ส.ส. ครั้งที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495
ฟื้น สุพรรณสาร ได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2487[4][5] แทนนายควง อภัยวงศ์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2492 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ คู่มือปฏิบัติงานศาสนพิธี. สมาคมพ่อค้าไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ นายฟื้น สุพรรณสาร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 30 ตุลาคม 2503
- ↑ https://www.parliament.go.th/represent_web/represent.pdf
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายฟื้น สุพรรณสาร เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๕๕๓๓, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔