สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 190 คน โดยประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งแบ่งเขตทั้งหมด 91 คนจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 และ 4 คนจากการได้ดินแดน 4 จังหวัดในภายหลัง ประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิกประเภทที่ 1
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 | |||||
---|---|---|---|---|---|
| |||||
ภาพรวม | |||||
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎร | ||||
เขตอำนาจ | ประเทศไทย | ||||
ที่ประชุม | พระที่นั่งอนันตสมาคม | ||||
วาระ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 | ||||
การเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 | ||||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีแปลก 1 (2481-2485) คณะรัฐมนตรีแปลก 2 (2485-2487) คณะรัฐมนตรีควง 1 (2487-2488) คณะรัฐมนตรีทวี (2488) คณะรัฐมนตรีเสนีย์ 1 (2488-2489) | ||||
สภาผู้แทนราษฎร | |||||
สมาชิก | 190 | ||||
ประธาน | พระยามานวราชเสวี ตั้งแต่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2481 และตั้งแต่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 พระยาศรยุทธเสนี ตั้งแต่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 | ||||
รองประธาน | พระประจนปัจจนึก ตั้งแต่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ควง อภัยวงศ์ ตั้งแต่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ฟื้น สุพรรณสาร ตั้งแต่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | ||||
นายกรัฐมนตรี | จอมพลป. พิบูลสงคราม ตั้งแต่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ควง อภัยวงศ์ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ทวี บุณยเกตุ ตั้งแต่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ตั้งแต่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 |
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทางตรง แบบรวมเขต ครั้งแรก ถือเกณฑ์ราษฎร 200,000 คน ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 91 คน
เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ว่าด้วยบทเฉพาะกาล ซึ่งเสนอโดยขุนบุรัสการกิตติคดี (เหมือน บุรัสการ) ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล ซึ่งมี นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อันมีผลให้บทเฉพาะกาลซึ่งควรจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม 2485 เป็นอย่างช้า ยืดเวลาออกไปอีก 10 ปี แก่นแท้ของการเสนอยึดบทเฉพาะกาลก็คือ การคงอยู่ต่อไปอีกของสมาชิกประเภทที่ 2 อันมาจากการแต่งตั้ง
ประกาศขยายอายุสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่หนึ่ง รัฐบาลได้เสนอรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยให้มีบทบัญญัติว่าถ้ามีพฤติการณ์สำคัญกระทบถึงนโยบายภายในและภายนอกประเทศอันเป็นการพ้นวิสัย หรือมีเหตุขัดข้องที่จะทำให้การเลือกตั้งในขณะที่กำหนดเวลาสี่ปีสิ้นสุดลงไม่ได้ ก็ให้ตราพระราชบัญญัติขยายเวลาออกไปอีกคราวละไม่เกินสองปีได้ ที่ประชุมได้พิจารณารับหลักการและให้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม
วันที่ 5 ธันวาคม 2485 รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติขยายกำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกไปอีกไม่เกินสองปี นับแต่วันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษรสิ้นสุดลง ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการและได้ลงมติให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้
ประกาศขยายอายุสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สอง วันที่ 14 กันยายน 2487 รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติขยายกำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) โดยกำหนดให้ขยายอายุของสมาชิกชุดนี้ออกไปอีกไม่เกินสองปี นับแต่วันที่สิ้นวาระเป็นต้นไป โดยมีเหตุผลว่าอยู่ในระหว่างสงครามไม่สามารถดำเนินการเลือกตั้งได้ และได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2487 [1]
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดลง เนื่องจาก สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามที่รัฐบาลเสนอ เพื่อให้ลงโทษผู้ก่อให้เกิดการปกครองตามลัทธิคอมมิวนิสต์
รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ประเภทที่ 1
แก้ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ ออกจากตำแหน่ง |
มีรายนามดังนี้
พระนคร
แก้จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
พระนคร | 1 | ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) | เสียชีวิต | |
โชติ คุ้มพันธ์ | เลือกตั้งใหม่ 25 มิถุนายน 2488[2] | |||
2 | ร้อยโทณเณร ตาละลักษณ์ | ขาดคุณสมบัติ | ||
เลื่อน พงษ์โสภณ | เลือกตั้งใหม่ 21 มกราคม 2483 | |||
3 | อรุณ ทองปัชโชติ |
ธนบุรี
แก้จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
ธนบุรี | 1 | นายกวดหุ้มแพร (โต สุจริตกุล) |
ภาคกลาง
แก้ภาคเหนือ
แก้จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
เชียงราย | 1 | บุญศรี วิญญรัตน์ | ||
2 | นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) | |||
เชียงใหม่ | 1 | ภิญโญ อินทวิวัฒน์ | ||
2 | อินทร สิงหเนตร | สภาผู้แทนฯ ให้พ้นสมาชิกภาพ | ||
สี่หมื่น วณีสอน | เลือกตั้งใหม่ 11 มิถุนายน 2482 | |||
3 | สุวิชช พันธเศรษฐ | |||
น่าน | 1 | จำรัส มหาวงศนันท์ | ||
แพร่ | 1 | ทอง กันทาธรรม | ||
แม่ฮ่องสอน | 1 | บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ | ||
ลำปาง | 1 | พลตรีพระยาอมรวิสัยสรเดช (พิณ โรหิตะพินทุ) | ||
2 | สร้อย ณ ลำปาง | เสียชีวิต | ||
ประยูร ขันธรักษ์ | เลือกตั้งใหม่ 24 พฤษภาคม 2485 | |||
ลำพูน | 1 | เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน | ||
อุตรดิตถ์ | 1 | พึ่ง ศรีจันทร์ |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แก้ภาคใต้
แก้จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กระบี่ | 1 | เต๋ พวงนุ่น | ||
ชุมพร | 1 | หลวงศรีสุพรรณดิษฐ์ (เผียน ชุมวรฐายี) | ||
ตรัง | 1 | เชือน สวัสดิปาณี | ||
นครศรีธรรมราช | 1 | ฉ่ำ จำรัสเนตร | ||
2 | ร้อยตำรวจเอก เปี่ยม บุณยะโชติ | |||
นราธิวาส | 1 | อดุลย์ ณ สายบุรี | ||
ปัตตานี | 1 | พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) | ||
พังงา | 1 | โมรา ณ ถลาง | ||
พัทลุง | 1 | ร้อยตรีถัด รัตนพันธ์ | เสียชีวิต | |
ถัด พรหมมาณพ | เลือกตั้งใหม่ 30 กันยายน 2487 | |||
ภูเก็ต | 1 | ชิต เวชประสิทธิ์ | ||
ยะลา | 1 | วิไล เบญจลักษณ์ | ||
ระนอง | 1 | บุลจักร (จู๋) ลิ่มศิลา | ||
สงขลา | 1 | เธียร วิปุลากร | ||
2 | พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) | |||
สตูล | 1 | สงวน ณ นคร | ||
สุราษฎร์ธานี | 1 | วุฒิ สุวรรณรักษ์ |
ภาคตะวันออก
แก้จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
จันทบุรี | 1 | อมร ผลประสิทธิ์ | ||
ฉะเชิงเทรา | 1 | นิ่ม เรืองเกษตร | ||
ชลบุรี | 1 | จันทรเขตร์ ฉัตรภูติ | ||
ตราด | 1 | เฉลา เตาลานนท์ | ||
ปราจีนบุรี | 1 | ดาบสงวน พยุงพงศ์ | ||
พระตะบอง | 1 | ชวลิต อภัยวงศ์ | เลือกตั้งเพิ่มเติม 15 กรกฎาคม 2488 | |
พิบูลสงคราม | 1 | ประยูร อภัยวงศ์ | เลือกตั้งเพิ่มเติม 15 กรกฎาคม 2488 | |
ระยอง | 1 | เสกล เจตสมมา |
ภาคตะวันตก
แก้จังหวัด | เขต | รายนาม | สมาชิกภาพ | หมายเหตุ |
กาญจนบุรี | 1 | พิพัฒน์ (เต็ก) ภังคานนท์ | ||
ตาก | 1 | หมัง สายชุ่มอินทร์ | ||
ประจวบคีรีขันธ์ | 1 | หม่อมหลวงต้อย ชุมสาย | ||
เพชรบุรี | 1 | ทองพูน อังกินันทน์ | ||
ราชบุรี | 1 | ทองดี จันทรกุล |
ประเภทที่ 2
แก้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาจาก สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 1
ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ ออกจากตำแหน่ง |
ผู้ดำรงตำแหน่ง
แก้ประธานสภาผู้แทนราษฎร
- พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) (12 ธันวาคม พ.ศ. 2481 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486)
- พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2487)
- พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488)
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- พลตรี พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) (12 ธันวาคม 2481 - 29 มิถุนายน 2487)
- พันตรี ควง อภัยวงศ์ (29 มิถุนายน 2487 - 16 สิงหาคม 2487)
- ฟื้น สุพรรณสาร (17 สิงหาคม 2487 - 15 กรกฎาคม 2488)
อ้างอิง
แก้- ↑ การยุบสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 15 ตุลาคม 2488[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชกฤษฎีกาดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ว่าง พุทธศักราช ๒๔๘๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เล่ม 50 หน้า 816 วันที่ 9 ธันวาคม 2476
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ให้มีจำนวนเท่ากันกับสมาชิกประเภทที่ 1 เล่ม 55 หน้า 2195 วันที่ 8 ธันวาคม 2480
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 6.0 6.1 6.2 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 7.0 7.1 7.2 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 8.0 8.1 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 13.0 13.1 13.2 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 14.7 14.8 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 15.0 15.1 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 16.0 16.1 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง