เปี่ยม บุณยะโชติ
ร้อยตำรวจเอก เปี่ยม บุณยะโชติ เป็นอดีตหัวหน้าพรรคธรรมาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 3 สมัย เป็นอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นอดีตเลขานุการส่วนตัวของจอมพล ป.พิบูลสงคราม[1][2]
ประวัติ
แก้ร.ต.อ.เปี่ยม เป็นนักการเมืองชาวนครศรีธรรมราช เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีพรรคการเมือง และเขาก็ว่างเว้นทางการเมืองในการเลือกตั้งอีก 3 ครั้งต่อมา จนกระทั่งในการเลือกตั้งเพิ่มเติมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งเพิ่มเติมจำนวน 21 ที่นั่ง จากสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5 เขาได้รับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม
ร.ต.อ.เปี่ยม ได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งพรรคธรรมาธิปัตย์ ต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2498 และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ซึ่งนำทีมสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งพรรคธรรมาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งจำนวน 9 ที่นั่ง และเขาก็ได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วย[3]
ร.ต.อ.เปี่ยม ได้ร่วมเป็นกรรมการในชุดก่อตั้งพรรคสังคมชาตินิยม ในปี พ.ศ. 2518[4]
ร.ต.อ.เปี่ยม เป็นนักโหราศาสตร์ มีผลงานตำราด้านโหาราศาสตร์จำนวนมาก เช่น คัมภีร์ฤกษ์ กุญแจโหราศาสตร์ เรื่องของดาวจร เล่ม 1-เล่ม 5 ประมวลหลักโหราศาสตร์ กับมูลเหตุของศาสตร์และพิธีกรรม เล่ม 1-2 เป็นต้น[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ การย้ายถิ่นฐาน หาแหล่งทำมาหากิน และประวัติท้องถิ่น ชาวร่อนพิบูลย์
- ↑ พรรคการเมืองของทหาร
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ รวมหนังสือ อาจารย์ รตอ.เปี่ยม บุณยะโชติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔