คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10

คณะรัฐมนตรีของประเทศไทย

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 ของไทย (7 มีนาคม พ.ศ. 2485 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)

คณะรัฐมนตรีแปลก 2
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 10 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2487
วันแต่งตั้ง10 มีนาคม​ พ.ศ. 2485
วันสิ้นสุด1 สิงหาคม พ.ศ.​ 2487
(2 ปี 144 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
หัวหน้ารัฐบาลแปลก พิบูลสงคราม
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 9
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 11

จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) และนายปรีดี พนมยงค์ ลงนามในประกาศ

พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 ของไทย แก้

ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

  1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  2. พลตรี พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  3. พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นาวาอากาศเอก เทียน เก่งระดมยิง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  5. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  6. พลตรี วิจิตร วิจิตรวาทการ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  7. พลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
  8. หม่อมหลวง เดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
  9. นายพันตรี ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  10. พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  11. นายอุทัย แสงมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  12. พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  13. พลโท มังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  14. พลตำรวจตรี อดุล อดุลเดชจรัส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  15. นายโป-ระ สมาหาร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  16. นาวาเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  17. พันเอก ประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  18. นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  19. ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรี
  20. นายทวี บุณยเกตุ เป็นรัฐมนตรี
  21. พลอากาศตรี บุญเจียม โกมลมิศร์ เป็นรัฐมนตรี
  22. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรี
  23. นายวนิช ปานะนนท์ เป็นรัฐมนตรี
  24. พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ เป็นรัฐมนตรี

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 ของไทย แก้

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2485 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2485 เล่ม 59 ตอน 18 หน้า 518

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 ของไทย แก้

คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ

  • วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2485
    • พระยามไหสวรรย์ (กาย สมบัติศิริ) เป็นรัฐมนตรี
  • วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 เนื่องจากได้ประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม จึงปรับปรุงรัฐมนตรี ดังนี้
    • พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
    • พลตรี จรูญ เสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
    • หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
    • นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485
    • นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทน จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
  • วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2485
    • พันตรี ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
    • พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ พันจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2485
    • พันเอก อุดมโยธา รัตนาวดี เป็นรัฐมนตรี
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
    • พันตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2486
    • หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2486
    • พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรี
  • วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2486
    • พลอากาศตรี เจียม อธึกเทวเดช โกมลมิศร์ ได้ขอกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี
  • วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2486[1]
    • พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2486
    • นายพลตำรวจโท อดุล อดุลเดชจรัส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง
  • วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2486[2]
    • นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
    • พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิพันลึก ทัตตานนท์ เป็นรัฐมนตรี
  • วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486
    • นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัตรราชทูตไทย ประจำประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2486[3]
    • นาวาอากาศเอก กาจ เก่งระดมยิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลาออกจากตำแหน่ง
    • นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
    • นายกอ มไหสวรรย์ สมบัติศิริ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
    • พลตรี ไชย ประทีปเสน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2486[4]
    • นายวนิช ปานะนนท์ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486[5]
    • พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
    • พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  • วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2486[6]
    • นายอุทัย แสงมณี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
    • นาวาเอก สังวรณ์ สุวรรณชีพ เป็นรัฐมนตรี
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
    • นายวนิช ปานะนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
    • พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่ประจำอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการทั้งสิ้น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ แทน นายกรัฐมนตรี
  • วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2487
    • พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อดำเนินกิจการของบริษัท ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 ของไทย แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่อนุมัติ ร่างพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ พุทธศักราช 2487 และ ร่างพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล พุทธศักราช 2487

นายกรัฐมนตรีและคณะ จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (๑.นายเดือน บุนนาค ๒.พลอากาศตรี กาพย์ เทวริทธิพันลึก ทัตตานนท์)พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายเดือน บุนนาค พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิพันลึก ทัตตานนท์ นายวิจิตร วิจิตรวาทการ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายดิเรก ชัยนาม นายกอ มไหสวรรย์ สมบัติสิริ พลตรี ไชย ประทีปะเสน)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวนิช ปานะนนท์)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๑.พลโท พิชิต เกรียงสักดิ์พิชิต ๒.พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รนรงค์)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (๑.นายอุทัย แสงมนี ๒.นาวาเอก สังวรน์ สุวรรนชีพ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้