มังกร พรหมโยธี

พลเอก มังกร พรหมโยธี หรือ หลวงพรหมโยธี (นามเดิม มังกร ผลโยธิน; 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2509) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรี

พลเอก
มังกร พรหมโยธี
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม 2484 – 15 ธันวาคม 2484
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้า แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไป แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม 2485 – 1 สิงหาคม 2487
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้า ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
ถัดไป บุง ศุภชลาศัย
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน 2492 – 29 พฤศจิกายน 2494
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้า แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไป บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน 2491 – 25 มิถุนายน 2492
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไป สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน 2494 – 26 กุมภาพันธ์ 2500
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้า เลียง ไชยกาล
ถัดไป มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน 2482 – 19 สิงหาคม 2484
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไป หลวงเสรีเริงฤทธิ์
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม 2484 – 7 มีนาคม 2485
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้า หลวงเสรีเริงฤทธิ์
ถัดไป พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม 2481 – 7 มีนาคม 2485
นายกรัฐมนตรี แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439
เมืองธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต 24 มีนาคม พ.ศ. 2509 (69 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรค พรรคเสรีมนังคศิลา
บิดา หมื่นสาธิตพิทักษ์ (เทียน ผลโยธิน)
มารดา อุ่น ผลโยธิน
คู่สมรส คุณหญิงทองเจือ พรหมโยธี
หม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ
บุตร 8 คน
ลายมือชื่อ Mangkon Phrommayothi Signature.svg

ประวัติแก้ไข

มังกร ผลโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ณ บ้านบางขุนเทียน ตำบลบางขุนเทียน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรหมื่นสาธิตพิทักษ์ (เทียน ผลโยธิน) และนางอุ่น ผลโยธิน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาคือ เพ็ชร, หอม และพู ผลโยธิน[1]

พลเอก มังกร พรหมโยธี เริ่มศึกษาที่โรงเรียนวัดอรุณราชวราราม แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทวีธาภิเศกจนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วย้ายมาศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ได้สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ปัจจุบันคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ออกมารับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร[1]

การทำงานแก้ไข

 
หลวงพรหมโยธีขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

มังกร ผลโยธินเริ่มรับราชการในกองทัพบกตั้งแต่ยศร้อยตรี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หลวงพรหมโยธี[2] ในปีพ.ศ. 2471 และเจริญก้าวหน้าจนถึงพลเอก มีตำแหน่งสูงสุดคือ รองผู้บัญชาการทหารบก ในกองทัพบก รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในกองบัญชาการทหารสูงสุด

พลเอก มังกร พรหมโยธี รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2481 เป็นรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง[3] ต่อมาได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[4] และย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงพรหมโยธินในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า มังกร พรหมโยธี เมื่อ พ.ศ. 2484[5]

ต่อมาย้ายกลับมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอีกครั้ง พ.ศ. 2485 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ พ.ศ. 2487[6]

ต่อมาในพ.ศ. 2491 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ย้ายมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งใน พ.ศ. 2492[7] เมื่อพ.ศ. 2494 ย้ายกลับไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[8] และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ พ.ศ. 2500

นอกจากนี้ พลเอก มังกร พรหมโยธี ยังเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 8[9] สมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 1[10] และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2[11]

ครอบครัวแก้ไข

พลเอกมังกร พรหมโยธี สมรสกับคุณหญิงทองเจือ พรหมโยธี (สกุลเดิม: ศุภชลัสถ์) เมื่อ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2462 มีบุตรธิดา คือ[1]

  1. พันเอก กำจร พรหมโยธี
  2. นงโภช พรหมโยธี
  3. ทินกร โปษยานนท์
  4. มณฑา พรหมโยธี
  5. เกียรติกร พรหมโยธี
  6. ร้อยเอก เจตกมล พรหมโยธี

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2485 พลเอกมังกร พรหมโยธี ได้มีบุตรชายอีก 2 คน ซึ่งเกิดจากหม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ คือ[1]

  1. กำจรเดช พรหมโยธี
  2. เจตกำจร พรหมโยธี

พลเอกมังกร พรหมโยธี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2509 ณ โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2509

เกียรติยศแก้ไข

มังกร พรหมโยธี
รับใช้  ไทย
บริการ/สังกัดกองทัพบกไทย
ชั้นยศ  พลเอก
  พลเรือเอก
  พลอากาศเอก

บรรดาศักดิ์แก้ไข

  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: หลวงพรหมโยธี[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2484: ลาออกจากบรรดาศักดิ์[12]

ยศทหารแก้ไข

  • 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เป็น ว่าที่ร้อยตรี
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 เป็น ร้อยตรี
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็น ร้อยโท
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เป็น ร้อยเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็น พันตรี
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2477 เป็น พันโท
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 เป็น พันเอก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2482 เป็น นาวาเอก, นาวาอากาศเอก
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็น พลตรี, พลเรือตรี, พลอากาศตรี
  • 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เป็น พลโท[13]
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็น พลเรือโท, พลอากาศโท[14]
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 เป็น พลเอก[15]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2495 เป็น พลเรือเอก, พลอากาศเอก[16]

เครื่องอิสริยาภรณ์แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "พลเอกมังกร พรหมโยธี". จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์ เล่ม 45 หน้า 580
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 25 ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง (นายพันเอก หลวงพรหมโยธี และหลวงนฤเบศร์มานิต)
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
  6. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 10 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  8. ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
  9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  10. วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
  11. "วุฒิสภา ชุดที่ ๒ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  12. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เล่ม 58 หน้า 4525. วันที่ 6 ธันวาคม 2484
  13. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  14. พระราชทานยศทหาร
  15. พระราชทานยศทหาร
  16. พระราชทานยศทหาร
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๙๖, ๑๕ มกราคม ๒๔๙๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๑, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๘๔, ๑๑ มกราคม ๒๔๘๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๓๘, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๘๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๕๓, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๑๕, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๒๔, ๑๗ กันยายน ๒๔๘๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๑๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๓
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๔๐, ๕ สิงหาคม ๒๔๘๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๓๓๙๒, ๑๕ กันยายน ๒๔๙๖
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๑๓๕, ๑๐ มกราคม ๒๔๙๙