หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)

พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต ป.ช. ป.ม. นามเดิม พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2507) อดีตแม่ทัพกองทัพภาคอีสานในสงครามไทย-อินโดจีน, อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตสมาชิกคณะราษฎร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 (ส.ส.ประเภทที่ 2) ในปี พ.ศ. 2476

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
(พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ 2489 – 24 มีนาคม 2489
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าอดุล อดุลเดชจรัส
ถัดไปพระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน 2486 – 1 สิงหาคม 2487
นายกรัฐมนตรีจอมพลป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าจอมพลป. พิบูลสงคราม
ถัดไปสินธุ์ กมลนาวิน
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
6 สิงหาคม 2487 – 24 สิงหาคม 2487
ก่อนหน้าจอมพลป. พิบูลสงคราม
ถัดไปพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439
เมืองสมุทรปราการ ประเทศสยาม
เสียชีวิต29 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 (68 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองคณะราษฎร
คู่สมรสคุณหญิงชื่น เกรียงศักดิ์พิชิต
บุญเหลือ ปีเจริญ
บุตร11 คน
บุพการี
  • จิ้น จิตตะคุณ (บิดา)
  • เพียร จิตตะคุณ (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
วิชาชีพทหาร

ประวัติ

แก้

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต มีชื่อจริงว่า พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต มีนามเดิมว่า ค้วน จิตตะคุณ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ตรงกับวัน 2 เดือน 11 แรม 8 ค่ำ ปีวอก ภูมิลำเนาเดิม คลองบางกอบัว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บิดาชื่อนายจิ้น มารดาชื่อนางเพียรภายหลังแยกทางกัน นายจิ้นได้ไปทำไร่ยาสูบที่นครปฐม จึงได้อาศัยอยู่กับมารดาซึ่งติดการพนันขายที่สวนนำไปเล่นพนันจนหมด ภายหลังมารดาได้เปลี่ยนอาชีพทำสวนมาพายเรือค้าขายแทน[1]

การศึกษา

แก้

เมื่ออายุ 8 ปีมารดานำไปฝากตัวกับหลวงตาทองที่วัดบางกอบัวให้เรียนหนังสือได้เพียง 7 วันเพราะโดนเด็กวัดรังแก พออายุ 9 ปีมารดานำตัวไปฝากไว้กับอาจารย์ไล้ที่วัดบางบำหรุสอนหนังสือจนพออ่านออกเขียนได้ จากนั้นอาจารย์ไล้ได้นำตัวไปฝากเข้าโรงเรียนวินัยชำนาญ เมื่อสำเร็จชั้นประถมศึกษาจึงไปสมัครเรียนโรงเรียนราชบูรณะ (สวนกุหลาบวิทยาลัย) ซึ่งตอนนั้นมารดาเลิกค้าขายแล้วและได้ไปอยู่แม่ครัวให้กับคุณแปลก ตันยุวรรธนะช่วยอุดหนุนให้มีทุนเรียนชั้นมัธยมต่อได้[2]

ขีวิตในช่วงมัธยมก็มีเกเรหนีเที่ยวบ้างแต่ก็สอบไล่ได้ทุกปี ความตั้งใจเดิมก็ไม่คิดที่จะวางแผนอนาคตไปทางใดแต่บังเอิญเพื่อนสนิทแอบไปสมัครสอบโรงเรียนนายร้อยโยไม่บอกกกล่าวจึงน้อยใจเพื่อนและเกิดความมานะไปสมัครสอบบ้าง ไปสมัครสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยมซึ่งในเวลานั้นมีผู้สมัครสอบ 75 คนแต่รับเพียง 10 คน[3]

จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยมัธยม (โรงเรียนนายร้อยทหารบก) ในปี พ.ศ. 2457 เหล่าปืนใหญ่ ซึ่งในรุ่นที่จบการศึกษานั้นเป็นเหล่าปืนใหญ่ทั้งหมดไม่สามารถเลือกเหล่าได้แบบรุ่นที่ผ่านๆมา หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตรับราชการครั้งแรกที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 จังหวัดลพบุรี แต่ภายหลังได้ลาออกจากราชการเนื่องจากมีความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชาซึ่งได้ว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการใช้ชีวิตส่วนตัวแบบคนหนุ่มทั่วไปประกอบกับตอนนั้นมีภรรยาทำอาชีพค้าขายอยู่ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) จึงได้ลาออกไปช่วยกันทำมาหากินโดยการนำสินค้าจากกรุงเทพเข้ามาขายทางเรือซึ่งได้กำไรดี แต่ต้องค้าขายโดยการลำบากต้องถ่อเรือและหวนคิดถึงเกียรติยศของความเป็นนายทหารจึงได้หลบหนีภรรยาออกมาเพื่อสมัครเข้ามารับราชการใหม่รวมระยะเวลาที่ลาออกจากราชการ 8 เดือน[4]

ครอบครัว

แก้

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต มีบุตรธิดารวม 11 คน โดยกับ คุณหญิงชื่น เกรียงศักดิ์พิชิต มีบุตรธิดา 9 คน[5] และกับ นางบุญเหลือ ปีเจริญ มีบุตรธิดา 2 คน[6]<rer>https://www.policecollege.go.th/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3</ref>[7]

รับราชการ

แก้

เมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตถูกบรรจุที่กรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 2 บางซื่อเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นเข้าเรียนที่โรงเรียนปืนใหญ่ ลพบุรี เมื่อสำเร็จการศึกษาได้บรรจุที่เดิมได้แค่ 2 เดือนมีคำสั่งให้ไปเป็นผู้บังคับหมวดที่โรงเรียนปืนใหญ่ ประจำอยู่ที่โรงเรียนปืนใหญ่ 4 ปีก็โยกย้ายไปรับราชการเป็นผบ.ร้อยที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 8 เชียงใหม่ ประจำอยู่เชียงใหม่ได้ 2 ปีมีคำสังให้ย้ายมากรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลกซึ่งอยู่ได้ 1 ปีครึ่งต่อมาภายหลังกรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 ได้ยุบหน่วยมารวมกับกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 นครสวรรค์และประจำการเป็นเวลา 2 ปีครึ่งก่อนที่จะย้ายมาเป็นผบ.ร้อยอยู่ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์เมื่อรับราชการได้ 1 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475[8]

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันกับ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม, พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส, พลเอก มังกร พรหมโยธี, พลอากาศโท กาจ กาจสงคราม และจอมพล ผิน ชุณหะวัณ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2475 นักเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกันนี้หลายคนได้เข้าร่วมเป็นคณะราษฎร ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ ซึ่งรวมถึงตัวของหลวงเกรียงศักดิ์พิชิตด้วย[9]

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล เมื่อพ.ศ. 2484[10]

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อวันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ตรงกับวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 8-8 (เดือน 8 ทุติยาสาฬห) ปีมะโรง สิริอายุได้ 68 ปี 9 วัน

สงครามไทย-อินโดจีน

แก้

ในระหว่างสงครามไทย-อินโดจีน (กรณีพิพาทอินโดจีน) พ.ศ. 2483 กองทัพในบัญชาของ พันเอก หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ยศในขณะนั้น) สามารถเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ได้ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งเพลงให้เพลงหนึ่งคือ นครจำปาศักดิ์ มีเนื้อหายกย่องวีรกรรมครั้งนี้

สัญญาบัตรยศทหาร

แก้
หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย และกองทัพอากาศไทย
ประจำการ
ชั้นยศ
  •   พลโท
  •   พลเรือโท
  •   พลอากาศโท
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เป็น ว่าที่ร้อยตรี
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 เป็น ร้อยตรี[11]
  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 เป็น ร้อยโท
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เป็น ร้อยเอก [12]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็น พันตรี [13]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เป็น พันโท [14]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480 เป็น พันเอก
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็น พลตรี
  • 17 สิงหาคม พ.ศ. 2486 เป็น พลโท
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็น พลเรือโท พลอากาศโท

งานการเมือง

แก้

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ต่อมาถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ก่อนจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา ในขณะที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ กระทั่งในเวลาต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์[15]

เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[16]

บรรดาศักดิ์

แก้
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 เป็น ขุนเกรียงศักดิ์พิชิต ถือศักดินา 600[17]
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 เป็น หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต ถือศักดินา 800[18]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม

แก้
  • อำเภอเกรียงศักดิ์พิชิต (ปัจจุบันคืออำเภอสำโรง ประเทศกัมพูชา)

อ้างอิง

แก้
  1. หนังสือ สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507
  2. หนังสือ สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507
  3. หนังสือ สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507
  4. หนังสือ สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507
  5. "วิทยาลัยการตำรวจ - สิ่งสักการะประจำ วตร". www.policecollege.go.th.
  6. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/025V002/14.PDF
  7. "วิทยาลัยการตำรวจ - ทำเนียบผู้บริหาร". www.policecollege.go.th.
  8. หนังสือ สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507
  9. สองฝั่งประชาธิปไตย, "2475". สารคดีทางไทยพีบีเอส: พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2556
  10. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายยังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๔๙๙)
  12. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๔๑๒)
  13. ประกาศพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๖๑)
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๓๗๘)
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
  16. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  17. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๕๘๒)
  18. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๓๑)
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๕, ๑๙ มิถุนายน ๒๔๘๔
  21. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ง, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔, หน้า ๘๑๐
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๐, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๘๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๙๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๗, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • หนังสือ สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507
  • หนังสือ ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ และ ประชุมบทเพลงไทยเดิม พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ค้วน จินตะคุณ) ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507