บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง

บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496
ก่อนหน้าพลเอก มังกร พรหมโยธี
ถัดไปพลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
ก่อนหน้าพลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ถัดไปพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
ก่อนหน้าพลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ถัดไปสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มิถุนายน พ.ศ. 2448
เสียชีวิต9 มิถุนายน พ.ศ. 2519 (70 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงเลื่อน เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลโท

ประวัติ

แก้

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เกิดในราชสกุลเทพหัสดิน สืบเชื้อสายมาจากพระยาราชภักดี (หม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน) มารดาชื่ออนงค์ สกุลเดิม ยมาภัย เป็นบุตรีพระยาอภัยรณฤทธิ์ (เวก) บิดาชื่อบรรยง เป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งรองหุ้มแพร บิดาถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ เมื่อโตขึ้นได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก แล้วรับราชการในกองทัพบก มียศสูงสุดที่ พลโท ชีวิตส่วนตัวสมรสกับคุณหญิงเลื่อน เทพหัสดิน ณ อยุธยา

งานการเมือง

แก้

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2[1] ได้รับการแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีครั้งแรกขณะยังมียศเป็น พันเอก เมื่อ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2492[2] เป็นรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2493 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[3][4]

เมื่อคณะบริหารประเทศชั่วคราวของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ทำรัฐประหาร พลโท บัญญัติ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2[5] ในปี พ.ศ. 2494 และแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[6]

เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2495 พลโท บัญญัติ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[7][8]เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ได้รับการแต่งตั้งให้ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[9] เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2499 ได้รับการแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2499 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม 2 สมัย[10]

พลโท บัญญัติ ได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดพระนคร สังกัด พรรคเสรีมนังคศิลา[11][12] และสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เนื่องจากรัฐบาลของจอมพล ป. ไม่ได้รับการไว้วางใจจากประชาชนและไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยได้จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ จึงได้ทำการรัฐประหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "วุฒิสภา ชุดที่ ๒ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (จำนวน ๗ ราย)
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 22 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
  5. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  6. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 24 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-11. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
  7. ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
  8. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 23 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
  9. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 25 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
  10. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  11. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  12. สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา ๒๔๗๕ - ๒๕๐๒. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2502
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๙๐, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๒, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๒๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๓๘, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๒, ๑๙ กันยายน ๒๔๘๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๘, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 385, 31 มกราคม 2499
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 86 หน้า 3267, 23 ตุลาคม 2499
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๒๑๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๐๖