เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 3 เมษายน พ.ศ. 2513) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[2] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว., อ.ร. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2484 – 1 สิงหาคม 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม |
ถัดไป | ควง อภัยวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 8 ธันวาคม 2494 – 30 มีนาคม 2500 | |
ก่อนหน้า | หลวงวิจิตรวาทการ |
ถัดไป | นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 12 กุมภาพันธ์ 2478 – 19 สิงหาคม 2484 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
ถัดไป | พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) |
ถัดไป | พลเรือตรี หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤศจิกายน 2436 กรุงเทพมหานคร ราชอาณาจักรสยาม |
เสียชีวิต | 3 เมษายน พ.ศ. 2513 (76 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงมากะริต บริภัณฑ์ยุทธกิจ[1] (มากะริต ดว๊อต) |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2464–2494 |
ยศ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ[3] เดิมชื่อเภา เพียรเลิศ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ที่บ้านหน้าวัดอมรินทราราม ในคลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรีในครั้งนั้น เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายเพ็ชร์และนางส้มจีน เพียรเลิศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 11 คน จบการศึกษาชั้นประถมบริบูรณ์จากโรงเรียนวัดอมรินทราราม ชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสวนกุหลาบ แล้วเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2449 และเมื่อ พ.ศ. 2452 ได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเยอรมัน แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงต้องย้ายไปศึกษาและปฏิบัติงานในราชการกองทัพบก ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ตามลำดับ โดยขณะนั้นมียศร้อยตรี (ร.ต.) ได้เป็นหนึ่งใน 19 นายทหารระดับสูงที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกองทัพไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตร ที่เรียกว่า "กองทูตศึกสัมพันธมิตร" ที่นำโดย พลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ (ต่อมาคือ พลโท พระยาเทพหัสดิน [4]) จนถึง พ.ศ. 2464 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย รับราชการทหารจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระบริภัณฑ์ยุทธกิจเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2472[5] และดำรงตำแหน่งพลาธิการทหารบกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2477 ขณะมียศเป็นพันเอก[6]
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ เมื่อ พ.ศ. 2484[7]ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้เป็น พลตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2484 และรับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษในวันถัดมา[8][9]
เข้าสู่วงการเมืองแก้ไข
ใน พ.ศ. 2478 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการอีกตำแหน่งหนึ่ง หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งและคืนสู่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงการคลัง หรือกระทรวงพาณิชย์[10] ฯลฯ รวมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องรับผิดชอบการเงินหรือการค้าของชาติเป็นระยะ ๆ ตามความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และได้รับพระราชทานยศทางทหารสูงขึ้นเป็นลำดับจนถึงชั้นพลเอก ใน พ.ศ. 2494
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เกิดรัฐประหาร ยุบคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐประหารประกาศแต่งตั้งคณะบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการในคณะบริหารดังกล่าว[11] พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ จึงเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยตำแหน่งในช่วงเวลานั้น ได้ขอจดทะเบียนนามสกุลใหม่ตามบรรดาศักดิ์ว่า บริภัณฑ์ยุทธกิจ ในปี พ.ศ. 2484
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร 2 สมัย[12]
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2500[13]
ชีวิตส่วนตัวและวาระสุดท้ายแก้ไข
พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ สมรสกับคุณหญิงมาเกอริต บริภัณฑ์ยุทธกิจ (นางสาวมาเกอริต ดว๊อต) มีบุตรและบุตรบุญธรรม คือ เรืออากาศเอก กระจัง บริภัณฑ์ยุทธกิจ (ถึงแก่กรรม) นายอังกูร บริภัณฑ์ยุทธกิจ และนางวลัยวรรณ ติตติรานนท์ (บุตรบุญธรรม) พลเอก เภาเพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2513 สิริอายุ 76 ปี 4 เดือน 24 วัน[ต้องการอ้างอิง] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2486 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)[17]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[18]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[20]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ ประวัติจากฐานข้อมูลบูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ↑ นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 740 หน้า. หน้า 20.
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๖๔)
- ↑ ประกาศ ตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม และพลาธิการทหารบก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 69 ตอน 4 ง: หน้า 196. 15 มกราคม พ.ศ. 2495. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
- ↑ "เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (29): 2052. 12 พฤษภาคม 2496. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศพระราชทานถานันดรเครื่องราชอิศริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 36: 2331. 16 พฤศจิกายน 2462. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญเล่ม 44 หน้า 2567 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2470
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๐, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๑๖๙๖, ๑๔ เมษายน ๒๔๙๖
ก่อนหน้า | เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (12 กุมภาพันธ์ 2478 – 19 สิงหาคม 2484) |
พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ) | ||
พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ (19 สิงหาคม 2484 – 16 กุมภาพันธ์ 2485) |
หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) | ||
พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (16 พฤศจิกายน 2491 – 29 พฤศจิกายน 2494) |
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ | ||
ศิริ สิริโยธิน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (21 มีนาคม 2500 – 16 กันยายน 2500) |
สุกิจ นิมมานเหมินท์ |