พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
พลเอก พระยาเทพหัสดิน (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2494) หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในสมัยรัฐบาลปรีดี พนมยงค์
พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 – 3 ธันวาคม พ.ศ. 2488 | |
นายกรัฐมนตรี | ปรีดี พนมยงค์ |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาทรงสุรเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ก่อนหน้า | พระยาศรีสิทธิสงคราม |
ถัดไป | แปลก พิบูลสงคราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421 |
เสียชีวิต | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
บุตร | 11 คน |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพบกไทย |
ผ่านศึก | |
พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนามเต็มว่า พลเอก พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์สวามิภักดิ์ อุดมศักดิ์เสนีย์พิริยะพาหะ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ของพันเอก หลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา พี่ชายต่างมารดาของ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)) ซึ่งเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ เกิดเมื่อวันขึ้น 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2421) ณ บ้านสำเพ็ง (เวิ้งเลื่อนฤทธิ์)หน้าวัดจักรวรรดิราชาวาส จังหวัดพระนคร พระยาเทพหัสดิน มีศักดิ์เป็นหลานอาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แต่มีอายุไล่เลี่ยกัน
ปฐมวัยและการศึกษา
แก้ตามคตินิยมในสกุล ลูกข้าหลวงเดิมจะต้องเป็นมหาดเล็กหลวง มิฉะนั้นก็เรียกได้ว่าขาดความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้นเมื่อพระยาเทพหัสดิน มีอายุได้เพียง 5 ขวบ ก็ได้ถูกนำตัวเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ ธูปเทียนเป็นมหาดเล็กหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสว่า “เด็กคนนี้หน้าตาดีและคล่องแคล่ว ทั้งอายุอานามก็ไล่เลี่ยกับฟ้าชายใหญ่ ให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กฟ้าชายใหญ่เถิด จะได้เป็นเพื่อนเล่นกัน” จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำตัวไปถวายดอกไม้ธูปเทียนให้เป็นมหาดเล็ก และเป็นเพื่อนเล่นกับกับเจ้าฟ้าชายพระองค์ใหญ่ คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งต่อมาได้ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร องค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่ออายุได้ 7 ขวบ บิดาได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ในสำนักขุนอนุกิจวิทูร แล้วจึงย้ายไปอยู่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (ปัจจุบันคือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนอายุ 13 ปี หลังจากหลวงฤทธิ์นายเวรถึงแก่กรรมในตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการทหารบก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระราชกระแสรับสั่งกับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ มารดาว่า "ข้าจะเลี้ยงมันแทนพ่อของมันที่อายุสั้นนัก" ต่อมาก็ย้ายไปเข้าโรงเรียนทหารที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม จนกระทั่งสำเร็จกลับเข้ามารับราชการทหารสนองพระเดชพระคุณนับแต่ปี พ.ศ. 2445 เป็นต้นมา
ขณะเมื่อครั้งที่ยังศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคต จึงได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ต่อมา และให้บรรดามหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระองค์ก่อน โอนไปสังกัดขึ้นเป็นมหาดเล็กสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระยาเทพหัสดินจึงได้โอนสังกัดเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ นับแต่นั้นมา
ชีวิตการทำงานและผลงาน
แก้ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงเล็งเห็นการไกล เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ประเทศไทยประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี และ ออสเตรีย-ฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีพระบรมราชโองการเรียกผู้อาสาสมัคร เพื่อเดินทางไปร่วมรบยังสมรภูมิยุโรป มีคนสมัครเป็นจำนวนมาก ในเวลานั้นพระยาเทพหัสดินซึ่งยังมีตำแหน่งและบรรดาศักดิ์เป็นนายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะทูตพิเศษในตำแหน่งแม่ทัพไทยที่จะนำกองทัพทหารอาสาไทยเดินทางไปร่วมรบในทวีปยุโรป
ทหารอาสาไทยที่ไปรบในสงครามนั้นมีจำนวน 1,500 คน โดย 500 คน สังกัดกองบินทหารบก มีนายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) เป็นผู้บังคับกอง อีก 1,000 คน สังกัดกองทหารบกรถยนต์ มีนายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย หัสดิเสวี) ซึ่งต่อมาได้เป็น นายพันโท พระอาสาสงคราม เป็นผู้บังคับกอง ทหารอาสากองทหารบกรถยนต์เหล่านี้ ภายหลังสงครามได้ร่วมกับพระยาพิไชยชาญฤทธิ์ ก่อตั้ง บริษัท แท็กซี่สยาม ขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2466 สมัยนั้นเรียกกันว่า "รถไมล์" เก็บค่าโดยสารตามเลขไมล์ระยะทางที่วิ่ง
เมื่อกลับจากงานพระราชสงครามแล้ว ท่านซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 4 ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ แต่โปรดให้โอนย้ายไปเป็นข้าราชการพลเรือนในตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2462 แทน จางวางตรี พระยาไกรเพชร์รัตนสงคราม ที่เจ็บป่วยอยู่เนือง ๆ และโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย[1]
ตลอดระยะเวลาการรับราชการนั้น พระยาเทพหัสดิน ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารระดับสูงที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย โดยเฉพาะจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเคยพระราชทานมะพร้าวอ่อนลูกที่พระองค์กำลังเสวยน้ำอยู่ ให้แก่พระยาเทพหัสดิน เพื่อดื่มร่วมกัน [2]
ตำแหน่งราชการ
แก้- – เจ้ากรมแผนที่
- กุมภาพันธ์ 2453 – รักษาราชการแทนในตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ 2 มณฑลนครไชยศรี[3]
- – ผู้บัญชาการกองพลที่ 6 มณฑลนครสวรรค์
- 28 เมษายน 2456 – กราบถวายบังคมลาไปรับตำแหน่ง[4]
- 27 พฤศจิกายน 2456 – ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 มณฑลราชบุรี[5]
- 8 มกราคม 2460 – กราบถวายบังคมลาไปราชการสงครามที่ทวีปยุโรป[6]
- 19 มิถุนายน 2462 – สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์[7]
- 25 กรกฎาคม 2462 – สภานายกกรรมการจัดการลูกเสือมณฑลนครสวรรค์[8]
- 16 พฤศจิกายน 2468 - เสนาธิการการทหารบก
- 30 มกราคม 2474 - รองผู้บัญชาการทหารบก
- 30 พฤศจิกายน 2484 - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
มรสุมในชีวิต
แก้ดูบทความหลักที่ กบฏพระยาทรงสุรเดช
เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากพระยาพหลพลพยุหเสนา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 ได้มีการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่ต้องสงสัยว่าคิดจะทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล รวมทั้งผู้อยู่เบี้องหลัง ที่พยายามจะลอบสังหาร หลวงพิบูลสงคราม โดยจับกุมผู้ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 และได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะ มีพันเอกหลวงพรหมโยธี เป็นประธาน ศาลพิเศษนี้ได้ตัดสินว่า มีการเตรียมการยึดอำนาจโดย พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นผู้นำ และตัดสินลงโทษประหารชีวิตนักโทษจำนวน 21 คน [9][10][11] คือ
- นายลี บุญตา - คนรับใช้ในบ้านหลวงพิบูลสงคราม ที่เคยใช้ปืนไล่ยิงหลวงพิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
- พันโท พระสุวรรณชิต (วอน กังสวร)
- ร้อยโท ณเณร ตาละลักษณ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระนคร
- นายดาบ พวง พลนาวี - พี่ชายภรรยาของพระยาทรงสุรเดช
- พลโท พระยาเทพหัสดิน
- นายดาบ ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - บุตรพระยาเทพหัสดิน
- ร้อยโท เผ่าพงศ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา - บุตรพระยาเทพหัสดิน
- ร้อยตรี บุญมาก ฤทธิ์สิงห์
- นายทอง ชาญช่างกล
- พันเอก หลวงมหิทธิโยธี (สุ้ย ยุกตวิสาร) - ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรี
- พันโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
- พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์) - อดีตรัฐมนตรี
- ร้อยเอก ขุนคลี่พลพฤนท์ (คลี่ สุนทราชุน) - นายทหารประจำกองบังคับการโรงเรียนรบ
- พันตำรวจตรี ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์)
- พันตรี หลวงไววิทยาศร (เสงี่ยม ไววิทย์)
- พันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส) อดีตรัฐมนตรี
- จ่านายสิบตำรวจ แม้น เลิศนาวี
- ร้อยเอก จรัส สุนทรภักดี - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
- ร้อยโทแสง วัณณะศิริ - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
- ร้อยโท สัย เกษจินดา - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
- ร้อยโท เสริม พุ่มทอง - นายทหารฝึกหัดราชการ ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่โรงเรียนรบ
ศาลพิเศษได้เว้นโทษประหารชีวิต คงเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต 3 คน คือ
- พันโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
- พลโท พระยาเทพหัสดิน
- พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์
นักโทษประหารชีวิตที่เหลือ ถูกทยอยนำตัวออกมาประหารชีวิต รวมทั้งบุตรชายทั้ง 2 คน ของพระยาเทพหัสดิน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีใครได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาบ้างหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลที่ตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษ และไม่มีทนายจำเลย นักโทษที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิต ถูกนำไปคุมขังที่เรือนจำกองมหันตโทษ จังหวัดนนทบุรี ในส่วนตัวของ พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ศาลเห็นว่าเคยเป็นผู้ประกอบความดีแก่ประเทศมาก่อน จึงลดหย่อนโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต เช่นเดียวกับ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร โดยตลอดระยะเวลาที่ต้องโทษอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถูกจองจำเดี่ยวในห้องขังห้องสุดท้ายติดทางขึ้นลงบันได ซึ่งเป็นคนละด้านกับห้องขังของ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ซึ่งถูกจองจำเดี่ยวเช่นเดียวกัน จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2482 หลังจากที่ลูกชายทั้ง 2 ได้ถูกเบิกตัวไปประหารชีวิตแล้วในเวลาเช้ามืด พลโท พระยาเทพหัสดิน ยังไม่ทราบเรื่อง และได้ชงกาแฟเพื่อให้ผู้คุมเรือนจำนำไปให้ลูกชายเหมือนเช่นทุกวันที่เคยทำมา ถึงค่อยทราบ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ถูกจองจำอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถือเป็นที่เคารพของบรรดานักโทษคดีเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากเป็นผู้อาวุโสสูงสุดและมีตำแหน่งอันทรงเกียรติมาก่อน
ครั้นรัฐบาลหลวงพิบูลสงครามสิ้นอำนาจลง นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ภารกิจแรก ๆ ที่รัฐบาลรีบกระทำก็คือ ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษการเมืองทั้งหมด พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 และได้รับนิรโทษกรรมในเวลา 3 ปีต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2490[2]
หลายปีต่อมา พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับหนังสือขอโทษจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ได้เข้าใจผิดในเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด และขอการอโหสิกรรม
การเมืองและรับตำแหน่งรัฐมนตรี
แก้พระยาเทพหัสดิน เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 จังหวัดพระนคร (ส.ส.พระนคร) จากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2476 ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกด้วย[12][13] และมีตำแหน่งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาในบั้นปลายชีวิต ได้รับพระราชทานยศสูงสุดเป็น พลเอก (พล.อ.)[14] หลังจากได้รับพระราชทานคืนยศ บรรดาศักดิ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2491[15] และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[16] ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ซึ่งกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังจากรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2490 และรัฐประหาร พ.ศ. 2491 ซึ่งก่อนหน้าการรัฐประหาร พ.ศ. 2491 ไม่นาน พระยาเทพหัสดินก็เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้ จอมพล ป. กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง[17]
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้เกียรติยศ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[23]
- พ.ศ. 2492 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[24]
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[25]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[26]
- พ.ศ. 2452 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[27]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[28]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[29]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เบลเยียม:
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 2[30]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2464 – เหรียญครัวเดอแกรร์[31]
เข็มพระราชทาน
แก้- พ.ศ. 2454 - เข็มข้าหลวงเดิม[32]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์
- ↑ 2.0 2.1 พายัพ โรจนวิภาต (2554). ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช. ศรีปัญญา. p. 216. ISBN 978-6167146-22-5.
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ กราบถวายบังคมลา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสภานายกกรรมการจัดการลูกเสือ มณฑลนครสวรรค์
- ↑ "กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร". www.rakbankerd.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.
- ↑ "ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง / ช่วงปี พ.ศ. 2475-2489". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27.
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 2 พ.ศ. 2476 เลือกตั้งทั่วไป ครั้งแรก". อาร์วายทีไนน์. 1997-02-20.
- ↑ "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 2625-2629. 24 ธันวาคม 2476.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 62 เล่ม 67 หน้า 5872. 14 พฤศจิกายน 2493.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศบรรดาศักดิ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์กลับคืน
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 36 เล่ม 66 หน้า 503. 5 กรกฎาคม 2492.
- ↑ ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (มีนาคม 2522). นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์. กรุงเทพฯ: เรืองศิลป์. p. 398.
- ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายพระนามผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์ ในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๘๘, ๙ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๕๕๓๒, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๕๖, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๓, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๖ คอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๐๗, ๙ มกราคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๔, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิศริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๒, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 38 หน้า 3117, 22 มกราคม 2464
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๑, ๒๘ พฤษภาคม ๑๓๐
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา (6 กุมภาพันธ์ 2495). เรื่องเบ็ดเตล็ด ของ พล.อ. พระยาเทพหัสดินฯ. โรงพิมพ์การรถไฟฯ. p. 113. OCLC 1088596914. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-02. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
พิมพ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พล.อ. พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์สวามิภักดิ์ อุดมศักดิ์เสนีย์ พิริยะพาหะ (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ราชองค์รักษ์พิเศษ (จ.ป.ร.) ณ เมรุหลวงวัดเบ็ญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- เนตรเฉลา สิงหะ สุตเธียรกุล, บ.ก. (มีนาคม 2549). "จงรักเกียรติยิ่งชีวิต" พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. p. 191. ISBN 9749412354.