พลตรี ศิริ สิริโยธิน (5 สิงหาคม 2458 - 31 กรกฎาคม 2522) เป็นอดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 5 สมัย

ศิริ สิริโยธิน
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม 2515 – 11 ธันวาคม 2516
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
ดำรงตำแหน่ง
23 มีนาคม 2497 – 26 กุมภาพันธ์ 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม – 12 กันยายน 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม 2518 – 12 มกราคม 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน – 23 กันยายน 2519
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน – 6 ตุลาคม 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2458
จังหวัดชลบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต31 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (63 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา
สหประชาไทย
ชาติไทย
คู่สมรสคุณหญิงอำไพ ศิริโยธิน

ประวัติ แก้

พลตรี ศิริ สิริโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2458 สำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และ ได้รับปริญญาสังคมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล[1] สมรสกับคุณหญิงอำไพ ศิริโยธิน

งานการเมือง แก้

พลตรีศิริ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[2] และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2522 รวม 5 สมัย

พลตรี ศิริ สิริโยธิน ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 10[3] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ[4] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลจอมพลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2500[5] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2518[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[7] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[8] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[9]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

พลตรีศิริ สิริโยธิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดชลบุรี ไม่สังกัดพรรคการเมือง[10]
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคสหประชาไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคชาติไทย

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พลตรี ศิริ สิริโยธิน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 สิริอายุรวม 63 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2523 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พลตรี ศิริ สิริโยธิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. รัฐสภาสาร ปีที่ 27 ฉบับที่ 6 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2522. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2522
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  9. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๙, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๐๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
  16. รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไชต์ thaiscouts
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
  18. 18.0 18.1 18.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑ ง หน้า ๖๐, ๑ มกราคม ๒๕๐๐
ก่อนหน้า ศิริ สิริโยธิน ถัดไป
แปลก พิบูลสงคราม    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
(23 มีนาคม 2497 – 26 กุมภาพันธ์ 2500)
  เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(14 มีนาคม 2518 - 12 มกราคม 2519)
  ทวิช กลิ่นประทุม