คณิน บุญสุวรรณ
คณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2540 อดีตรองหัวหน้าพรรคเอกภาพ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี พรรคกิจสังคม พรรคเอกภาพ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์[1]
คณิน บุญสุวรรณ | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2539 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดชลบุรี |
เสียชีวิต | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (71 ปี) โรงพยาบาลราชวิถี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เอกภาพ พรรคเพื่อไทย |
คู่สมรส | กรประภา บุญสุวรรณ |
ประวัติ
แก้คณิน บุญสุวรรณ เดิมชื่อ บุญเลิศ เป็นบุตรของอำมาตย์ตรีแปลก กับยาใจ บุญสุวรรณ มีพี่น้อง 7 คน สมรสกับนางกรประภา (ชื่อเดิม: เพ็ญศิริ) บุญสุวรรณ มีบุตร 2 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮุสตัน สหรัฐอเมริกา[2]
ประวัติทางการทำงาน
แก้- วิทยากรโท สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
- ช่วยราชการ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
- หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- 2522 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชลบุรีสมัยแรกในการเลือกตั้งซ่อม พรรคกิจสังคม
- 2526 ไม่ได้ลงสมัครรับเลือก
- 2528 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(เลือกตั้งซ่อม) กรุงเทพมหานคร เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์
- 27 กรกฎาคม 2529 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สอบตก) กรุงเทพมหานคร เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์
- 16 ตุลาคม 2529 ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (ลาออก 19 พฤษภาคม 2531)
- 22 มีนาคม 2535 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สอบตก) จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคสามัคคีธรรม
- 13 กันยายน 2535 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชลบุรี เขต 1 พรรคเอกภาพ (ยุบสภา 19 พฤษภาคม 2538)
- 15 ตุลาคม 2535 กรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน
- 2535 กรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
- 19 ตุลาคม 2535 กรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- 2 กรกฎาคม 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สอบตก) จังหวัดชลบุรี เขต 1 พรรคเอกภาพ
- 29 สิงหาคม 2538 รองหัวหน้าพรรคเอกภาพ
- 17 พฤศจิกายน 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สอบตก) จังหวัดชลบุรี เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์
- 26 ธันวาคม 2539 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดชลบุรี (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จังหวัดชลบุรี) (พ้นตำแหน่ง 11 ตุลาคม 2540)
- 15 มกราคม 2540 กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
- 15 มกราคม 2540 กรรมาธิการประชาสัมพันธ์
- 14 มิถุนายน 2543 หัวหน้าพรรคไทยมหารัฐ (ลาออก 13 ก.ย.2544)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ https://www.thairath.co.th/content/1324581
- ↑ https://www.thairath.co.th/person/6339
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐