คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 11

คณะรัฐมนตรีของประเทศไทย

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 11 (1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488)

คณะรัฐมนตรีควง
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 11 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2488
วันแต่งตั้ง2 สิงหาคม พ.ศ.​ 2487
วันสิ้นสุด31 สิงหาคม​ พ.ศ. 2488
(1 ปี 29 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
หัวหน้ารัฐบาลควง อภัยวงศ์
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 12

พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487

นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้ลงนามในประกาศ

นายปลอด วิเชียร ณ สงขลา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี แก้

ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2487 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[1]

  1. พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  2. พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  3. นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นายศรีเสนา สมบัติศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  5. นายจิตร ศรีธรรมาธิเบศ ณ สงขลา (เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  6. พลเรือตรี ผัน นาวาวิจิต เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  7. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  8. พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  9. พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  10. นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  11. นาวาเอก บุง ศุภชลาศัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  12. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  13. นายจิตร ศรีธรรมาธิเบศ ณ สงขลา (เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  14. นายทวี บุณยเกตุ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  15. ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  16. นายศรีธรรมราช กาญจนโชติ เป็น รัฐมนตรี
  17. พลตรี พิน อมรวิสัยสรเดช เป็น รัฐมนตรี
  18. นาวาเอก ทหาร ขำหิรัญ เป็น รัฐมนตรี
  19. นาวาเอก ชลิต กุลกำม์ธร เป็น รัฐมนตรี
  20. พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็น รัฐมนตรี
  21. นายโป-ระ สมาหาร เป็น รัฐมนตรี
  22. พลเอก พจน์ พหลโยธิน (พระยาพหลพลพยุหเสนา) เป็น รัฐมนตรี

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี แก้

คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2487 และได้รับความไว้วางใจ ในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2487 เล่ม 61 หน้า 1519

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรี แก้

คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ

  • วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2487[2]
  1. พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  • วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2487[3]
  1. นายโป - ระ สมาหาร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  2. นายประจวบ บุนนาค เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  3. พันเอก เรือง เรืองวีระยุทธ เป็น รัฐมนตรี
  4. นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็น รัฐมนตรี
  5. พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิ์พันลึก ทัตตานนท์ เป็น รัฐมนตรี
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487
  1. พลโท จิร วิชิตสงคราม เป็น รัฐมนตรี
  • วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487
  1. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์
  • วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2488
  1. นายศรีธรรมราช กาญจนโชติ รัฐมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
  • วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2488
  1. พลโท จิร วิชิตสงคราม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[4]
  • วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2488
  1. พันตรี ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
  2. นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  3. นายเดือน บุนนาค พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2488[5]
  1. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2488
  1. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  2. นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อีกตำแหน่ง[6]

ที่มา แก้

ในหนังสือ 36 รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย กล่าวว่า ภายหลังจากการลาออกของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม การซาวเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีมีขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ซึ่งสมาชิกสภาเลือกพระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยคะแนน 81 ต่อ 19 ซึ่งเป็นคะแนนเสียงของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ พระยาพหลพลพยุหเสนาขอถอนตัว เนื่องจากป่วยเป็นอัมพาต จึงมีการซาวเสียงใหม่ เสนอ ควง อภัยวงศ์ สินธุ์ กมลนาวิน และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผลปรากฏว่า ควง อภัยวงศ์ ได้คะแนนไป 69 คะแนน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ 22 คะแนน และ สินธุ์ กมลนาวิน ได้ 8 คะแนน

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 11 แก้

คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 11 สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นายกรัฐมนตรีและคณะ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลว่าได้มีการ ประกาศสันติภาพ ตามพระบรมราชโองการแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีนิยมแห่งวิถีการเมือง และเพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้ที่มีความเหมาะสม ในอันที่จะยังมิตรภาพและดำเนินการเจรจา ทำความเข้าใจอันดีกับ ฝ่ายพันธมิตร เข้าบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ประกาศเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พลโท ชิต มั่นสิลป์ สินาถโยธารักษ์)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายโป - ระ สมาหาร, นายประจวบ บุนนาค, พันเอกเรือง เรืองวีระยุทธ, นายทองอิน ภูริพัธน์, พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิ์พันลึก ทัตตานนท์)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พลโท จีระ วิชิตสงคราม)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น.)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้