อดุล อดุลเดชจรัส
พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส หรือ หลวงอดุลเดชจรัส (28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512) นามเดิม บัตร พึ่งพระคุณ อดีตองคมนตรี รองนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการทหารบก
พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส ม.ป.ช., ม.ว.ม., อ.ป.ร.1 | |
---|---|
![]() | |
คณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 [1] – 23 มกราคม พ.ศ. 2492 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
นายกรัฐมนตรี | พันตรี ควง อภัยวงศ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 (2 ปี 164 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กันยายน พ.ศ. 2486 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 (0 ปี 313 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลแปลก พิบูลสงคราม |
ดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489 (0 ปี 136 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (1 ปี 145 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต |
ถัดไป | จอมพล ผิน ชุณหะวัณ |
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2479 – 19 กันยายน พ.ศ. 2488 | |
ก่อนหน้า | พันตำรวจเอก พระยาอนุสรณ์ธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ) |
ถัดไป | พลตำรวจโท พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512 (75 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคสหชีพ |
คู่สมรส | คุณหญิงเปี่ยมสุข อดุลเดชจรัส |
รับใช้ | กองทัพบกไทย กรมตำรวจ |
---|---|
ชั้นยศ | ![]() ![]() ![]() ![]() |
มีสมญานามว่า "นายพลตาดุ" เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยขณะนั้นหลวงอดุลเดชจรัส มียศเป็น ร้อยโท (ร.ท.)[2]ประจำกรมทหารปืนใหญ่ นครราชสีมา และได้หนีราชการมาพระนครด้วยรถไฟเพื่อร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถูกหมายจับจากทางต้นสังกัด ซึ่งตัวของหลวงอดุลเดชจรัสก็ได้อาศัยบ้านของพรรคพวกหลบซ่อนสลับกันไป โดยเฉพาะบ้านของหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท หรือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเวลาต่อมา [3]
เป็นรองนายกรัฐมนตรีและผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นรองหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ในช่วงปลายสงคราม หลังจากมีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งมีส่วนอย่างมากที่ทำให้การดำเนินงานเสรีไทยเป็นไปโดยราบรื่น ทั้งที่เป็นอธิบดีกรมตำรวจภายใต้รัฐบาลที่เป็นพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในอภิรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และองคมนตรี
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว หลวงอดุลเดชจรัส ยังได้ร่วมกับนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ก่อตั้งพรรคสหชีพขึ้น โดยมีแนวทางสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย โดยหลวงอดุลเดชจรัส เป็นหัวหน้าพรรค และ นายเดือน บุนนาค เป็นเลขาธิการพรรค[4]
ประวัติแก้ไข
อดุล อดุลเดชจรัส เป็นบุตรหลวงบุรีรัฐพิจารณ์ และนางจันทร์ พึ่งพระคุณ เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 ที่บ้านพักถนนเจริญกรุง อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร บิดานำตัวไปถวายงานเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ จึงพักอาศัยอยู่ในวังปารุสกวันตั้งแต่เด็ก
การศึกษาแก้ไข
- โรงเรียนอัสสัมชัญ
- โรงเรียนนายร้อยทหารบก
- นักเรียนทำการนายร้อยประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓
รับราชการแก้ไข
อดุล อดุลเดชจรัส เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 โดยได้รับพระราชทานยศเป็น นายร้อยตรี [5]
พ.ศ. 2475 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการทหาร ก่อนโอนมารับราชการในกรมตำรวจ
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ ในขณะที่ พ.ต.อ.พระยาอนุสสรธุรการ เป็นอธิบดี ขณะนั้นมียศทางทหารเป็น พันตรี [6][7] และได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจเอก ขณะมียศทางทหารเป็น พันโท[8]เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 [9]
1 เมษายน พ.ศ. 2479 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ [10]
พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจตรี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2483 [11] และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 [12]
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงอดุลเดชจรัสในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า อดุล อดุลเดชจรัส เมื่อ พ.ศ. 2484[13]
พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486[14] โดยก่อนหน้านั้นได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2486 [15] และพ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2488 เนื่องจากได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [16] [17] ก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2489[18] กระทั่งลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เพื่อดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว [19] โดยได้ดำรงตำแหน่งคณะอภิรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 [20] ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2493 ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านเป็นองคมนตรี [21] ทางราชการได้สร้างเรือนหลังเล็กในบริเวณวังปารุสกวันให้เป็นที่พัก จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยโรคชรา
ชีวิตส่วนตัวแก้ไข
พล.อ.อดุล สมรสกับคุณหญิงเปี่ยมสุข อดุลเดชจรัส[22]
ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง แต่กลับไม่แสวงหาอำนาจ กลับพอใจที่จะดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย และซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอด[23][24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2486 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[25]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[26]
- พ.ศ. 2487 - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา[27]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2481 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[28]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/A/054/688.PDF
- ↑ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๔๒)
- ↑ นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
- ↑ นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (พ.ศ. 2522)
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๔๙๙)
- ↑ ประกาศ ปลดและตั้งอธิบดีและรองอธิบดีกรมตำรวจ
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๗๘)
- ↑ ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศ ย้ายรองอธิบดีกรมตำรวจไปรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ เรื่องพระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
- ↑ เรื่อง พระราชทานยสทหาน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งประจำ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ผู้บัญชาการทหารบกกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งอภิรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ผู้บัญชาการทหารบกตั้งแต่อตีตจนถึงปัจจุบัน
- ↑ หนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรี ชอบ สุนทรพิพิธ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
- ↑ หนังสือเรื่อง นายพลที่ซื่อสัตย์ แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส พ.ศ. 2513
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง ส่งเหรียญดุษฎีมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๕๑, ตอน ๐ ง, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗, หน้า ๔๓๗๗
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ , หน้า ๒๙๕๘