พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์)
พลตำรวจโท พระรามอินทรา นามเดิม ดวง รามอินทรา (สกุลเดิม จุลัยยานนท์; 27 มีนาคม พ.ศ. 2433 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2498) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 6 และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยคนที่ 11
พลตำรวจโท พระรามอินทรา (ดวง รามอินทรา) | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน 2488 – 1 ธันวาคม 2489 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส |
ถัดไป | พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ |
ปลัดกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม 2489 – 27 ตุลาคม 2490 | |
ก่อนหน้า | พระยาอรรถกรมมณุตตี |
ถัดไป | ร้อยเอก ขุนพิพัฒน์สรการ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มีนาคม พ.ศ. 2433 ตำบลต้นม่วง อำเภอเมืองเพชรบุรี เมืองเพชรบุรี |
เสียชีวิต | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 (65 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงปานใจ รามอินทรา |
ประวัติ
แก้พลตำรวจโท พระรามอินทรา (ดวง รามอินทรา) เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2432 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2433) ที่ตำบลต้นม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนายขลิบและนางกรอง จุลัยยานนท์[1] สมรสกับคุณหญิงปานใจ (สกุลเดิม ศิริไพบูลย์) ซึ่งเป็นป้าของคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือทมยันตี[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
รับราชการ
แก้- ผู้ช่วยผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครชัยศรี
- 15 ตุลาคม พ.ศ. 2471 – รั้งผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครชัยศรี[3]
- 26 เมษายน พ.ศ. 2472 – ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครชัยศรี[4]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2475 – ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลราชบุรี[5]
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 – ผู้บังคับการตำรวจภูธรภาคกลาง[6]
- 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 – จเรตำรวจภูธรภาค 1[7]
- 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 – ข้าหลวงนครบาลกรุงเทพธนบุรี[8]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 – อธิบดีกรมมหาดไทย[9]
- อธิบดีกรมตำรวจ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2489)[10][11]
- ปลัดกระทรวงมหาดไทย (1 ธันวาคม พ.ศ. 2489 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2490)[12][13]
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้- 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 – ร้อยตำรวจตรี[14]
- 26 เมษายน พ.ศ. 2458 – ร้อยตำรวจโท[15]
- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2458 – นายหมวดตรี[16]
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2461 – นายหมวดโท[17]
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2461 – ร้อยตำรวจเอก[18]
- 26 เมษายน 2463 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทาน[19]
- 28 สิงหาคม พ.ศ. 2463 – ขุนรามอินทรา ถือศักดินา 400[20]
- 8 พฤศจิกายน 2463 – นายหมวดเอก[21]
- 25 พฤศจิกายน 2463 – ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน[22]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 – พันตำรวจตรี[23]
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 – หลวงรามอินทรา ถือศักดินา ๖๐๐[24]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 – พันตำรวจโท[25]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 – พระรามอินทรา ถือศักดินา ๘๐๐[26]
- 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 – พันตำรวจเอก[27]
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – พลตำรวจตรี[28]
- 26 เมษายน พ.ศ. 2489 – พลตำรวจโท[29]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2486 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[30]
- พ.ศ. 2485 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[31]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[32]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[33]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[34]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[35]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[36]
- พ.ศ. 2456 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ พระรามอินทรา (ดวง รามอินทรา) ,พล.ต.ท.[ลิงก์เสีย]
- ↑ วิศวนาถ, วิศวนาถ. กว่าจะถึงวันนี้ของทมยันตี. ณ บ้านวรรณกรรม. ISBN 9789744468604.
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลดและตั้งผู้บังคับการตำรวจภูธร
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่องให้นายพันตำรวจตรี ขุนรามอินทรา เป็นผู้บังคับการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย (หน้า ๕๐๓๙)
- ↑ ประกาศประธานคณะกรรมการราษฎร ปลดตั้งและย้ายนายตำรวจ (หน้า ๔๙๖)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง บรรจุนายตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าหลวงนครบาลกรุงเทพธนบุรี
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมมหาดไทย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ปลัดทูลฉลองและปลัดกระทรวงมหาดไทยในอดีต เก็บถาวร 2021-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. จากเว็บไซต์กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารกรมตำรวจภูธร (หน้า ๔๘๕)
- ↑ พระราชทานยศนายตำรวจภูธร (หน้า ๒๙๓)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๔๗๙)
- ↑ ส่งสัญญาบัตรยศตำรวจภูธรและตำรวจพระนครบาลไปพระราชทาน
- ↑ "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 กันยายน 1920.
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน (หน้า ๒๔๕๓)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๘๘๙)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๙๕๐)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๓๐๒๑)
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๑, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๓๑๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๕๐, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๒ ง หน้า ๘๗๙, ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๑๐, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๘๖, ๕ มิถุนายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๘, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑
ก่อนหน้า | พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส |
ไฟล์:ตราผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ.png อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 11 (2488 – 2489) |
พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ |