ผิน ชุณหะวัณ
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ หรือ หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 – 26 มกราคม พ.ศ. 2516) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ผู้นำรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ผิน ชุณหะวัณ | |
---|---|
ผินใน พ.ศ. 2496 | |
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะทหารแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | ควง อภัยวงศ์ (นายกรัฐมนตรี) |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 19 เมษายน พ.ศ. 2499 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ |
ถัดไป | ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร | |
ดำรงตำแหน่ง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พิศาล สุนาวิน |
ถัดไป | วิบูลย์ ธรรมบุตร |
ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 | |
ก่อนหน้า | พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส |
ถัดไป | จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ผิน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 อำเภอสี่หมื่น เมืองราชบุรี ประเทศสยาม (ปัจจุบัน อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย) |
เสียชีวิต | 26 มกราคม พ.ศ. 2516 (81 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) |
คู่สมรส |
|
บุตร |
|
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2459 - 2497 |
ยศ | จอมพล[1] พลเรือเอก พลอากาศเอก[2] |
บังคับบัญชา | มณฑลทหารบกที่ 3 กองทัพพายัพ กระทรวงกลาโหม กองทัพไทย |
ผ่านศึก | |
ประวัติ
แก้ผินเกิดที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายไข่ และ นางพลับ ชุณหะวัณ ชาวสวนและแพทย์แผนโบราณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คนหนึ่งในนั้นคือ พล.ท.พจน์ ชุณหะวัณ หรือ ขุนพจน์ศรศักดิ์[3]
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรมในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2516 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุ 81 ปี 104 วัน
บุตรธิดา
แก้จอมพล ผิน ชุณหะวัณ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงวิบุลลักสม์ ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2497) มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ
- คุณหญิง อุดมลักษณ์ ศรียานนท์ (พ.ศ. 2456 - 2524) สมรสกับพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์
- นางพร้อม ทัพพะรังสี (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2542) สมรสกับ นายอรุณ ทัพพะรังสี เป็นมารดาของนาย กร ทัพพะรังสี
- ท่านผู้หญิง เจริญ อดิเรกสาร (22 มกราคม พ.ศ. 2460 - พ.ศ. 2555) สมรสกับพล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร
- พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2541) สมรสกับท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ
- นางพูนสุข (พรสม) ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2465 - ปัจจุบัน) สมรสกับนายเฉลิม เชี่ยวสกุล
หลังจากคุณหญิงวิบุลลักสม์ถึงแก่อนิจกรรม จึงสมรสครั้งที่สองกับ นางสุภาพ ชุณหะวัณ มีบุตร 1 คน คือ
- นายปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ สมรสกับณัฏฐินี ชุณหะวัณ (สกุลเดิม สาลีรัฐวิภาค)
ชีวิตการรับราชการ
แก้จอมพล ผิน ได้รับสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ ที่โรงเรียนนายสิบ กรมทหารที่ 4 ราชบุรี เมื่อมีอายุได้ 16 ปี เมื่อจบหลักสูตรสามารถสอบไล่ได้คะแนนดีเยี่ยม จึงได้เลื่อนขั้นไปศึกษาต่อใน โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนจบ (รุ่นเดียวกับจอมพล แปลก พิบูลสงคราม) และได้พระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459[4] ประจำกรมทหารราบที่ 4 ราชบุรี จากนั้นในปี 2462 จึงได้ย้ายมารับราชการที่ กรมยุทธศาสตร์ทหารบก[5] หลังจากนั้นได้เข้าเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2471 ขณะอายุได้ 37 ปีมียศและบรรดาศักดิ์เป็น ร้อยเอก ขุนชำนาญยุทธศาสตร์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงชำนาญยุทธศาสตร์"[6] และ พ.ศ. 2472 ได้เลื่อนยศเป็นพันตรีในเวลาถัดมา
- พ.ศ. 2476 เสนาธิการกองผสมปราบปรามพวกกบฏ และเสนาธิการมณฑล ทหารบกที่ 3
- พ.ศ. 2477 รองผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 รับพระราชทานยศเป็น"นายพันโท"[7]
- 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 [8]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2480 - รับพระราชทานยศ"นายพันเอก" [9]
- พ.ศ. 2483 รองแม่ทัพอีสาน
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 - รับพระราชทานยศ"นายพลตรี"[10]
- 3 ตุลาคม พ.ศ. 2485 - ประจำกรมเสนาธิการทหารบก[11]
- พ.ศ. 2485 ข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยใหญ่ (สหรัฐไทยเดิม)
- พ.ศ. 2486 ผู้ช่วยแม่ทัพกองทัพพายัพ รับพระราชทานยศ"พลโท" [12] และกลับไปเป็นข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยเดิม
- พ.ศ. 2487 ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 - ออกจากประจำการ [13]
- 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รองผู้บัญชาการทหารบก[14]
- 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 - ผู้บัญชาการทหารบก[15]
- 17 เมษายน พ.ศ. 2493 - รับพระราชทานยศ"พลเอก" [16]
- พ.ศ. 2494 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[17] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[18]
- 16 เมษายน พ.ศ. 2495 - รับพระราชทานยศ"พลเรือเอก"และ"พลอากาศเอก"[19]
- พ.ศ. 2495 รับพระราชทานยศ"จอมพล"[20] และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
- พ.ศ. 2497 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[21] รองจเรทหารทั่วไป
- พ.ศ. 2499 จเรทหารทั่วไป [22]
- พ.ศ. 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และวุฒิสมาชิก
- พ.ศ. 2500 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร[23][24]
ฉายา
แก้จอมพลผิน ชุณหะวัณ ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "บุรุษผู้รักชาติจนน้ำตาไหล" หรือ "วีรบุรุษเจ้าน้ำตา" เนื่องจากให้สัมภาษณ์ในเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ. 2490 ว่าทำไปเพราะ รักชาติ ขณะที่ให้สัมภาษณ์ทุกครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มักน้ำตาไหลด้วยความตื้นตัน
เกียรติยศ
แก้บรรดาศักดิ์
แก้- 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2467: ขุนชำนาญยุทธศาสตร์[25]
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: หลวงชำนาญยุทธศาสตร์[26] (ยกเลิกใน พ.ศ. 2485)[27]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[28] ดังนี้
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[29]
- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[30]
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[31]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[32]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[33]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[34]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[35]
- พ.ศ. 2472 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[36]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[37]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[38]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ลาว :
- พ.ศ. 2498 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นประถมาภรณ์[39]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2500 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[40][41]
- พม่า :
- พ.ศ. 2500 - เครื่องอิสริยาภรณ์สิริสุธรรมะ ชั้นอรรคมหาสิริสุธรรมะ[42]
เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ได้รับพระราชทานยศจอมพล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศพลอากาศเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๖๓๒)
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๔๙๘)
- ↑ ข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๕๗๕)
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๗๗)
- ↑ ประกาศ เรื่อง ตั้งผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ ๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๘๒๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง นายทหารออกจากประจำการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (หน้า ๓๐๗๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๕ ราย)
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๐๒๔)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๕๒๕)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ว่าการกระทรวงกลาโหม
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 41 หน้า 1261
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์ เล่ม 45 หน้า 575
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง การยกเลิกบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (33ก): 1089. 15 พฤษภาคม 2485. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-13. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-10. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๐๕๒, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๙๖, ๑๕ มกราคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๖๓๔๕, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๔, ๒๙ เมษายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๒๓๒๔, ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๔, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๑, ๘ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๓๙, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๕๓๐, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม ณ วัดพระศรีมหาธาตุ วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักราช 2516. [ม.ป.ท.]: ห.จ.ก. อรุณการพิมพ์; 2516.
- ↑ AGO 1957-39 — INDIVIDUAL AWARDS
- ↑ ประกาศรับ ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 64 หน้า 1776, 30 กรกฎาคม 2500
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Maeklong Dee เก็บถาวร 2007-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ทำเนียบผู้บัญชาการทหารบก เก็บถาวร 2016-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ผิน ชุณหะวัณ :หัวหน้าคณะรัฐประหาร ปี 2490 (1)
- ผิน ชุณหะวัณ :หัวหน้าคณะรัฐประหาร ปี 2490 (2)
ก่อนหน้า | ผิน ชุณหะวัณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จอมพล หลวงพิบูลสงคราม | ผู้บัญชาการทหารบก (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) |
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |