สหรัฐไทยเดิม[1][2] เดิมชื่อ แคว้นสหรัฐไทยใหญ่[3] คือดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตรวมดินแดนของรัฐฉาน, อันได้แก่ เชียงตุงและเมืองพาน

สหรัฐไทยเดิม
พ.ศ. 2486 – 2488
ธงชาติสหรัฐไทยเดิม
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของสหรัฐไทยเดิม
ตราแผ่นดิน

สหรัฐไทยเดิม (สีม่วงอ่อน)
สหรัฐไทยเดิม (สีม่วงอ่อน)
สถานะเขตการปกครองของประเทศไทย
เมืองหลักเชียงตุง
รัฐบาล
• พระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
• เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง
เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ
นายกรัฐมนตรี 
• 2485-2487
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
• 2487-2488
ควง อภัยวงศ์
ข้าหลวงทหารประจำรัฐไทย 
• 2485-2488
ผิน ชุณหะวัณ
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2
• ญี่ปุ่นส่งมอบดินแดนให้
18 สิงหาคม พ.ศ. 2486
• ส่งคืนดินแดนแก่สหประชาชาติ
22 กันยายน พ.ศ. 2488
ก่อนหน้า
ถัดไป
พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร
พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของธงของประเทศพม่า พม่า

ส่วนพื้นที่ปกครองทางทหารแต่ไม่ได้รวมเป็นแคว้นสหรัฐไทยเดิม คือ รัฐกะยาจนไปถึงครึ่งใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ในประเทศพม่า

สหรัฐไทยเดิมเคยเป็นอดีตเขตการปกครองเสมือนจังหวัด[4] ของประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2485 ก่อนที่จะคืนดินแดนดังกล่าวแก่สหประชาชาติในปี พ.ศ. 2488 หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง

ประวัติ

แก้

ความเดิม

แก้

ในการรับรู้ของรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม สหรัฐไทยเดิมหรือแคว้นสหรัฐไทยใหญ่คือดินแดนที่มีชนชาติไทอาศัยอยู่ และในอดีตอาณาจักรล้านนาเคยแผ่อิทธิพลไปครอบครอง[5] ก่อนหน้านี้ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยพยายามขยายอำนาจเข้าเมืองเชียงตุงถึงสามครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ[5] ก่อนที่เชียงตุงจะตกเป็นของพม่า และเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2433

การเข้ายึดและรวมเข้ากับไทย

แก้
 
ธงชาติไทยในเมืองเชียงตุง

กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นขอให้รัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารขึ้นไปยึดดินแดนส่วนนี้จากทหารจีนก๊กมินตั๋ง ของจอมพลเจียงไคเช็กและกองทัพอังกฤษ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485

ต่อมาวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้เปลี่ยนชื่อ "แคว้นสหรัฐไทยใหญ่" เป็น "สหรัฐไทยเดิม" อย่างเป็นทางการ[6] และวันที่ 18 พฤษภาคมจึงได้ประกาศยกเลิกกำหนดในทางอรรถคดีที่กองทัพทำสงครามทั่วราชอาณาจักรยกเว้นจังหวัดเชียงรายและสหรัฐไทยเดิม[7] วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 พลเอกฮิเดกิ โทโจ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้มาพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อมอบพื้นที่จำนวน 12 เมือง ไทยจึงผนวกดินแดนแคว้นสหรัฐไทยใหญ่และรัฐเมืองพาน (เมืองปั่น) เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย[5][8][9] ทั้งนี้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอ 12 อำเภอ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 มีการสถาปนาเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง และจัดการปกครองสหรัฐไทยเดิมเสมือนจังหวัดหนึ่ง[4]

ไทยได้มีการทำสนธิสัญญากับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2486 หลังการประกาศมอบดินแดนทั้งหมดให้แก่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ราชกิจจานุเบกษาระบุว่า "ฉะนั้น กลันตัน ตรังกานู ไซบุรี ปะลิส และบันดาเกาะที่ขึ้นหยู่ กับทั้งเชียงตุงและเมืองพาน จึงเปนอันรวมเข้าไนราชอานาจักรไทยตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พุทธสักราช 2486 เปนต้นไป"[10]

สิ้นสุดการครอบครองของไทย

แก้

ทว่าหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยจำต้องส่งมอบรัฐเชียงตุง รัฐกะยาและรัฐเมืองพาน ให้กับกองพลอินเดียที่ 7 เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยสมัยควง อภัยวงศ์ ได้คืนดินแดนส่วนนี้ให้กับสหประชาชาติ และวันเดียวกันนั้นได้มีการประกาศจากกรมบัญชาการทัพใหญ่ ว่ามีการเปลี่ยนชื่อ "สหรัฐไทยเดิม" เปลี่ยนกลับเป็น "แคว้นสหรัฐไทยใหญ่" ตามเดิม โดยให้เหตุผลว่าประกาศเก่านั้นไร้ผลและยกเลิกเสีย[3] จนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 ไทยได้ตกลงทำสัญญาที่เรียกว่า สัญญาความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อเลิกสถานะสงคราม ระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร ประกอบด้วยสัญญา 24 ข้อ[11] เป็นอันสิ้นสุดการครอบครองดินแดนสหรัฐไทยเดิม เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ และครอบครัวได้ติดตามกองทัพไทยเข้ามาพำนักในเชียงใหม่ จนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2498[12] ซึ่งหลังจากนี้อังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในการผนวกดินแดนนี้เข้ากับประเทศพม่าในเวลาต่อมา

เขตการปกครอง

แก้
 
วัดเจ้าฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงตุง ใน พ.ศ. 2486

เมื่อกองทัพพายัพปกครองสหรัฐไทยเดิม ได้จัดการปกครองเป็นแบบทหารเสมือนจังหวัด[4] การนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง[4] โดยมีพลตรีผิน ชุณหะวัณ รองแม่ทัพกองทัพพายัพ เป็นข้าหลวงทหารประจำรัฐไทยใหญ่เพียงคนเดียว โดยมีสำนักงานอยู่ที่เมืองเชียงตุง[13] จัดการปกครองสหรัฐไทยเดิมเสมือนเป็นจังหวัดหนึ่ง[4] ให้นายตำรวจซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจทำหน้าที่เป็นนายอำเภอ[4] และมีการตั้งศาลากลางสหรัฐไทยเดิมขึ้นที่เมืองเชียงตุง แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ[1]

  1. อำเภอเมืองเชียงตุง
  2. อำเภอเมืองยอง
  3. อำเภอเมืองพยาค
  4. อำเภอเมืองยู้
  5. อำเภอเมืองปิง
  6. อำเภอเมืองมะ
  1. อำเภอเมืองยาง
  2. อำเภอเมืองขาก
  3. อำเภอเมืองเลน
  4. อำเภอเมืองโก
  5. อำเภอเมืองสาต
  6. อำเภอเมืองหาง

ส่วนรัฐเมืองพาน (เมืองปั่น) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ถูกจัดการปกครองแบบทหารเช่นเดียวกับท้องที่สหรัฐไทยเดิม กำหนดให้รัฐเมืองพานเป็นอำเภอหนึ่งชื่อ อำเภอเมืองพาน[4] โดยให้หัวหน้าสถานีตำรวจเป็นนายอำเภออยู่ในบังคับบัญชาของตำรวจสนามเชียงใหม่และทัพพายัพ[14]

การศาล

แก้
 
พระธาตุบนดอยเหมย อำเภอเมืองเชียงตุง ใน พ.ศ. 2486

ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้ตั้งศาลขึ้น 3 แห่ง ที่เมืองเชียงตุง เมืองสาด และเมืองหาง[1][15] โดยมีตราประจำศาลสหรัฐไทยเดิม ทั้ง 3 ศาล โดยใช้ตราประจำชาด คือดวงตรารูปวงกลม ศูนย์กลางกว้าง 5 เซนติเมตร ลายกลางเป็นตราแผ่นดิน เบื่องล่างมีอักษรชื่อศาลตามชื่อเมือง ดังนี้ สาลเมืองเชียงตุง สาลเมืองสาต และสาลเมืองหาง[2] ส่วนทางอรรถคดีของอำเภอเมืองพานให้ขึ้นกับศาลเมืองหางของสหรัฐไทยเดิมตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486[14] โดยมีการส่งอัยการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่[16] เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายใต้การปกครองของไทย

แก้

หลังจากที่ไทยเข้าครอบครองดินแดนของพม่าตามที่ได้วางเป้าหมายไว้แล้วก็ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นทุกอำเภอ[17] รัฐบาลถือว่าการผนวกดินแดนสหรัฐไทยเดิมและรัฐเมืองพานอยู่ภายใต้นโยบายรวมชนเผ่าไทยเพื่อสร้างชาติไทยให้ยิ่งใหญ่เป็นมหาอำนาจในแหลมทอง และรัฐบาลถือว่าราษฏรในดินแดนที่ผนวกมานั้นต้องได้รับการคุ้มครองดูแลเช่นเดียวกับราษฎรในประเทศไทย มีการห้ามข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนใช้อำนาจสร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎร

หลังอยู่ภายใต้การปกครองของไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคมของกลุ่มชนพื้นเมืองของพม่ามีการเรียนการสอนภาษาไทย[18]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "ประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่องการปกครองสหรัฐไทยเดิม". ราชกิจจานุเบกษา. 60 (31ก): 1082–1083. 15 มิถุนายน พ.ศ. 2486. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. 2.0 2.1 "แจ้งความกรมเลขาธิการคนะรัถมนตรี เรื่องไห้ไช้ตราประจำชาดสำหรับสาลที่ตั้งขึ้นไหม่ไนสหรัถไทยเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (42ง): 2538. 10 สิงหาคม พ.ศ. 2486. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกรมบัญชาการทัพใหญ่ เรื่องยกเลิกประกาศบัญชาการทหารสูงสุด เรื่องเปลี่ยนชื่อแคว้นสหรัฐไทยใหญ่เป็นสหรัฐไทยเดิม". ราชกิจจานุเบกษา. 62 (55ง): 1446. 2 ตุลาคม พ.ศ. 2488. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 575
  5. 5.0 5.1 5.2 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 574
  6. ประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่องเปลี่ยนชื่อดินแดนที่กองทัพไทยตีได้ ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 60 ตอนที่ 7 หน้า 544 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486
  7. "ประกาสกองบันชาการทหานสูงสุด เรื่องกำหนดไนทางอัถคดีไห้จังหวัดเชียงรายและดินแดนที่ยึดได้ไนสหรัถไทยเดิม เปนเขตซึ่งกองทัพได้กะทำสงครามต่อไป ส่วนดินแดนไนราชอาณาจักรนอกนั้น ไห้พ้นเปนเขตซึ่งกองทัพได้กะทำสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (27ง): 1751. 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2486. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. สหรัฐไทยใหญ่และรัฐเมืองพาน (เมืองปั่น) เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-11.
  10. "ประกาส รวมกลันตัน ตรังกานู ไซบุรี ปะลิส เชียงตุง และเมืองพาน เข้าไนราชอาณาจักรไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (55ก): 1532–1533. 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-15.
  12. พรหมานุสรณ์. อนุสรณ์พระราชานเพลิงศพเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ เชียงตุง) ณ เมรุวัดสวนดอก เชียงใหม่. 8 ตุลาคม 2498, หน้า 8
  13. กรมยุทธศึกษาทหาร. ประวัติศาสตร์การสงครามของไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา. กรุงเทพฯ:กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม, 2540, หน้า 216-218
  14. 14.0 14.1 "ประกาสกองบันชาการทหานสูงสุด เรื่องการจัดการปกครองรัถเมืองพาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (55ง): 3272. 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  15. ไทยกับสงครามมหาเอเซียบูรพา
  16. "ประกาสกะซวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งอัยการไปรับราชการไนสหรัถไทยเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 61 (37ง): 1108. 20 มิถุนายน พ.ศ. 2487. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  17. บ. บุญค้ำ. เที่ยวเมืองเชียงตุง และแคว้นสาละวิน. 2499. มปถ., หน้า 175
  18. บรรจบ พันธุเมธา. ไปสอบคำไทย. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทย กระทรวงศึกษาธิการ, 2522, หน้า 174