กองทัพพายัพ
กองทัพพายัพ เป็นกองกำลังของกองทัพไทยซึ่งเคลื่อนพลเข้าตีรัฐฉานของพม่าเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ระหว่างการทัพพม่าในสงครามโลกครั้งที่สอง
กองทัพพายัพ | |
---|---|
แผนที่ของการทัพพม่า | |
ประจำการ | พฤษภาคม 2485 – พฤศจิกายน 2488 |
ประเทศ | ไทย |
ขึ้นต่อ | กองบัญชาการทหารสูงสุด |
เหล่า | กองทัพบกไทย กองทัพอากาศไทย |
รูปแบบ | ทหารช่าง ทหารปืนใหญ่ ทหารม้า ทหารราบ ทหารอากาศ เสนารักษ์ |
บทบาท | การประสานกำลังเหล่าทัพ การยิงตอบโต้ทางยุทธวิธี การยิงสนับสนุน การสู้รบระยะประชิด การสงครามต่อต้านอากาศยาน การสงครามทางอากาศ การสงครามในเมือง การสงครามป่าดงดิบ การสงครามภูเขา การสงครามรถถัง การสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด เข้าตี ตรวจการณ์หน้า ลาดตระเวน รื้อถอนทำลายสิ่งกีดขวาง |
กำลังรบ | กองทัพภาค |
กองบัญชาการ | เชียงตุง |
ปฏิบัติการสำคัญ | สงครามโลกครั้งที่สอง
|
ผู้บังคับบัญชา | |
ผบ. สำคัญ | พลโท หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) พลตรี หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) |
ประวัติ
แก้ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงลับกับประเทศญี่ปุ่นหนึ่งข้อ คือจะให้ไทยบุกขึ้นไปยึดพื้นที่ของรัฐฉานของพม่าเพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย และช่วยเป็นปีกขวาให้กับกองทัพญี่ปุ่นระหว่างการบุกพม่า ประเทศไทยจึงได้ก่อตั้งกองทัพพายัพขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ประกอบด้วยกำลังพลประมาณ 35,000 นายจากพื้นที่ภาคอีสานและภาคกลาง เพื่อรุกจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงรายไปยังเมืองเชียงตุงและเมืองในพื้นที่ของรัฐฉานจรดกับพรมแดนประเทศจีน[1]
ไทยได้เคลื่อนกำลังจำนวน 3 กองพลโดยมีจุดนัดพบคือเมืองเชียงตุง ซึ่งเวลานั้นอังกฤษได้ถอนกำลังออกไปและส่งมอบให้กองทัพจีนเข้ามาตั้งรับแทน เส้นทางการเคลื่อนพลเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย เนื่องจากภูมิประเทศที่กลายเป็นดินโคลนจากฤดูฝน ทำให้เคลื่อนที่ได้ช้า รวมถึงการระเบิดภูเขาเพื่อปิดช่องทางการเคลื่อนพลของฝ่ายตรงข้าม และโรคภัยไข้เจ็บระหว่างการเคลื่อนพลคือไข้ป่า เวชภัณฑ์ที่มีก็เพียงแค่ยาควินินเม็ด การส่งกำลังบำรุงประสบปัญหาทำให้ขาดเสบียง ทำให้กำลังพลต้องหาของป่าเพื่อประทังชีวิตระหว่างเคลื่อนพลไป[1]
ในที่สุดทั้ง 3 กองพลของไทยได้เคลื่อนกำลังไปจนถึงเมืองเชียงตุง โดยกองพลแรกที่ไปถึงคือ กองพลที่ 3 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลตรีหลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) สามารถเข้าตีและยึดป้อมปืนที่ใช้ในการป้องกันเมืองได้โดยปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน 10 ลำจากกองบินน้อยลำปางที่ช่วยทิ้งระเบิดเพื่อเปิดทาง[1]
หลังจากเคลื่อนพลมาครบทั้ง 3 กองพลแล้ว กองพลที่ 3 ได้รับมอบหมายให้เข้าครองเมืองเชียงตุง และได้มอบหมายให้กองพลอีก 2 กองพลรุกขึ้นไปต่อจนประชิดกับเขตแดนประเทศจีน และยึดครองพื้นที่รัฐฉานได้ทั้งหมด และถอนกำลังกลับมายังที่ตั้งคือลำปางและเชียงราย[1]
รัฐบาลไทยได้สถาปนารัฐฉานหรือสหรัฐไทยใหญ่เป็น สหรัฐไทยเดิม และแต่งตั้งให้ พลตรีผิน ชุณหะวัณ เป็นข้าหลวงประจำอยู่ และเลื่อนยศให้เป็นพลโท ซึ่งไทยได้ฟื้นฟูสภาพบ้านเมืองที่เสียหายจากสงคราม จัดระเบียบการปกครอง ตั้งศาลขึ้นมาจำนวน 3 แห่ง ณ เมืองเชียงตุง เมืองสาด และเมืองหาง และให้ตำรวจสนามคอยรักษาความสงบเรียบร้อย[1]
ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2486 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้ลงนามร่วมกับเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำกรุงเทพมหานคร เพื่อยอมรับการรวมสหรัฐไทยเดิมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พร้อมกันกับ กลันตัน ตรังกานู เคด้า ปะลิส และเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ในปกครองของแต่ละรัฐข้างต้น ซึ่งจอมพล โตโจ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เดินทางมาร่วมพิธีด้วยตนเองที่ทำเนียบรัฐบาลไทย ทำให้เวลานั้นไทยได้ดินแดนที่เคยเสียไปในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 คืนกลับมาทั้งหมด
หลังจากสงครามสิ้นสุดจากการยอมแพ้ของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ส่งผลให้ไทยในขณะนั้นรีบเร่งในการประกาศสันติภาพ ส่งผลให้ดินแดนที่ได้คืนมาทั้งหมดต้องถูกส่งคืนกลับไปยังเจ้าอาณานิคมเดิม คืออังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้กระทรวงกลาโหมต้องดำเนินการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ต่าง ๆ รวมไปถึงสหรัฐไทยเดิมที่กองทัพพายัพวางกำลังไว้อยู่ โดยมีการกำหนดตารางสำหรับขนย้ายกำลังพลเพื่อถอนกำลังออกมาทางรถไฟ แต่ในเวลานั้นอังกฤษต้องการใช้รถไฟทุกขบวน และยานพาหนะทุกประเภทเพื่อขนย้ายเชลยศึกชาวญี่ปุ่นออกมาก่อน[1]
เดินนับไม้หมอนรถไฟ
แก้มีการปลดกลางอากาศของกำลังพลในกองทัพพายัพ ทั้งระดับพลทหารไปจนถึงนายทหาร โดยไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน หรือค่าพาหนะในการเดินทางใด ๆ[1] ส่งผลให้กำลังพลในพื้นที่ที่ต้องถอนกำลังกลับมาบางส่วนจำเป็นต้องเดินเท้าตามเส้นทางรถไฟเพื่อกลับไปยังต้นสังกัดหรือภูมิลำเนา[2] เนื่องจากขบวนรถไฟของไทยถูกนำไปใช้ในการขนส่งเชลยศึกชาวญี่ปุ่น ทำให้กำลังพลต้องเดินเท้าตามทางรถไฟจากเชียงตุงมารอรถไฟต่อที่ลำปาง[1]
แต่หลังจากนั้นกลับไม่มีขบวนรถไฟ รวมถึงเส้นทางรถไฟต่าง ๆ ถูกระเบิดทำลายสะพานทำให้ไม่สามารถใช้การได้ ถึงแม้ในตัวเมืองลำปางจะมีค่ายทหารที่สามารถไปพักแรมได้ แต่กำลังพลส่วนใหญ่ต้องการกลับไปยังภูมิลำเนา จึงเลือกที่จะเดินกลับลงมาตามทางรถไฟแม้จะใช้เวลานานเป็นเดือน ประทังชีวิตด้วยการขออาหารจากชาวบ้านตามแนวทางรถไฟกิน บางส่วนก็เสียชีวิตก่อนจะถึงที่หมาย จึงทำให้เกิดวลีว่า เดินนับไม้หมอน[1]
ขณะที่กำลังพลบางส่วนที่ตัดสินใจปักหลักอยู่ที่ลำปาง ก็หางานและอาชีพทำให้พื้นที่นั้น รวมไปถึงทหารบางส่วนที่ปักหลักอยู่ที่เมืองเชียงตุงและสร้างครอบครัวอยู่กับประชาชนในพื้นที่นั้น[1]
หลวงกาจสงคราม ได้บรรยายถึงความรู้สึกของเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเต็มไปด้วยความโหดร้ายและทารุณ เนื่องจากการปลดกลางอากาศระหว่างกำลังนำกำลังพลเดินทางบนทางหลวงระหว่างลำปางและเชียงราย ทหารบางนายถูกสังหารจากการปล้นบนรถเมล์ระหว่างเดินทางกลับ บางนายได้รับบาดเจ็บระหว่างทางและมาเสียชีวิตที่กรุงเทพมหานคร เป็นการถอนทัพออกมาอย่างไม่ดีนัก ขณะที่ประชาชนบางส่วนมองทหารไทยในสถานะที่ไม่ต่างกันกับทหารญี่ปุ่นที่ตกเป็นเชลยศึกหลังจากสงครามสิ้นสุด สภาพทหารไทยในเวลานั้นสวมเสื้อและนุ่งกางเกงที่ขาดรุ่งริ่งกลับมายังที่ตั้งเดิมของหน่วยตนเอง แต่ไม่สามารถเบิกเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยงได้ เนื่องจากรัฐบาลขณะนั้นไม่มีเงินจ่าย ทำให้กองทหารต่าง ๆ ต่างมีสภาพเหมือนแค่ในนาม แต่ไม่สามารถปกครองหรือดูแลกำลังพลของตนได้[2]
ผลสืบเนื่อง
แก้ขณะที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลในเวลานั้นทอดทิ้งทหารไทย หรือ ลอยแพ แต่เนื่องจากในเวลานั้นสถานภาพทางการเงินของไทยอยู่ในขั้นถดถอยที่สุด เนื่องจากต้องดูแลทหารของสหประชาชาติที่เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ดูแลทหารเชลยศึกชาวญี่ปุ่น และดูแลคนงานที่ญี่ปุ่นเกณฑ์มาใช้แรงงานจากประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้ค่าเงินบาทของไทยขณะนั้นตกต่ำถึงขีดสุด จาก 11 บาทต่อ 1 ปอนด์ กลายเป็น 80 บาทต่อ 1 ปอนด์ ส่งผลให้ไม่มีเงินในการจ่ายเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และเงินต่าง ๆ ให้กับทหารที่ถูกปลดกลางอากาศ[1]
บางข้อมูลระบุว่ารัฐบาลใหม่ที่เข้ามาดูแลประเทศหลังสงครามสิ้นสุดนั้นต้องการที่จะเอาในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่ปกครองรัฐฉานในพม่าซึ่งถูกไทยยึดครอง และยังเป็นตัวแทนของสัมพันธมิตรในการดูแลพื้นที่ ได้พยายามพลิกสถานะของไทยให้ตกไปเป็นผู้แพ้สงคราม ทำให้รัฐบาลได้แสดงท่าทีว่าไม่ได้เห็นด้วยกับการนำกำลังไปยึดรัฐฉานในปกครองของอังกฤษ ทำให้ไทยต้องรีบปลดทหารทั้งหมด และทำให้กองทัพพายัพกลายเป็นจำเลยรับผิดไป[1]
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว กองทัพบกไทยได้ถูกดูหมิ่นและเหยียดหยามโดยบุคคลในเสรีไทยบางคน เนื่องจากมองว่าทหารบกเป็นเครื่องมือของเผด็จการในช่วงเวลาที่ผ่านมา และบางส่วนได้วิพากษ์ว่ากองทัพบกได้ก่อตั้งมาถึง 50 ปี แต่มีผลงานไม่เท่ากับเสรีไทยที่ก่อตั้งมาเพียงแค่ 2 ปี[2] และจากการเมืองภายในประเทศเวลานั้น เป็นผลสืบเนื่องให้เกิดการรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[2]
นอกจากนี้ การยุบกองทัพพายัพและเหตุการณ์เดินนับไม้หมอนได้เป็นอีกเหตุผลในการก่อตั้ง องค์การทหารผ่านศึก เมื่อปี พ.ศ. 2491 โดยที่ พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น[1]
การจัดกำลังรบ
แก้กำลังรบ ณ พ.ศ. 2485
แก้กองทัพพายัพ มี พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ ตั้งกองบัญชาการกองทัพพายัพครั้งแรกที่จังหวัดลำปาง หลังจากกองทัพพายัพบุกเข้ายึดเมืองเชียงตุงและรัฐฉานได้แล้ว จึงมีการย้ายกองบัญชาการกองทัพพายัพมาตั้งที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 และย้ายพลโท จิร วิชิตสงคราม เสนาธิการทหารบก มารับหน้าที่แม่ทัพพายัพแทน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2485
กำลังรบที่ขึ้นตรงต่อกองทัพพายัพมีดังนี้
- กองพลที่ 2 มีพลตรี หลวงไพรีระย่อเดช (กี๋ ชมะบูรณ์) เป็นผู้บัญชาการกองพล ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 4 (ปราจีนบุรี) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 10 (ปราจีนบุรี)
- กองพันทหารราบที่ 11 (ปราจีนบุรี)
- กองพันทหารราบที่ 12 (ปราจีนบุรี)
- กรมทหารราบที่ 5 ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 13
- กองพันทหารราบที่ 14
- กองพันทหารราบที่ 15
- กรมทหารราบที่ 12 (พิษณุโลก) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 28 (นครสวรรค์)
- กองพันทหารราบที่ 29 (พิษณุโลก)
- กองพันทหารราบที่ 33 (พิษณุโลก)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 (ปราจีนบุรี)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 5 (ปราจีนบุรี)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 6
- หน่วยขึ้นสมทบ:
- กรมทหารม้าที่ 5 กองพลทหารม้า
- กองพันรถรบ กรมยานเกราะ
- กรมทหารราบที่ 4 (ปราจีนบุรี) ประกอบด้วย
- กองพลที่ 3 มีพลตรี หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) เป็นผู้บัญชาการกองพล ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 7 (นครราชสีมา) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 19 (นครราชสีมา)
- กองพันทหารราบที่ 20 (นครราชสีมา)
- กองพันทหารราบที่ 21 (นครราชสีมา)
- กรมทหารราบที่ 8 (สุรินทร์) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 17
- กองพันทหารราบที่ 18
- กองพันทหารราบที่ 52
- กรมทหารราบที่ 9 (อุบลราชธานี) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 25 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารราบที่ 26 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารราบที่ 27 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 (นครราชสีมา)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 8 (นครราชสีมา)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 9
- กองจักรยานยนต์ลาดตะเวน
- กองรถรบ
- กรมทหารราบที่ 7 (นครราชสีมา) ประกอบด้วย
- กองพลที่ 4 มีพันเอก หลวงหาญสงคราม (พิชัย หาญสงคราม) เป็นผู้บัญชาการกองพล ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 3 (ลพบุรี) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 4 (ลพบุรี)
- กองพันทหารราบที่ 6 (ลพบุรี)
- กองพันทหารราบที่ 8 (สระบุรี)
- กรมทหารราบที่ 13 (ลำปาง) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 30 (ลำปาง)
- กองพันทหารราบที่ 31 (เชียงใหม่)
- กองพันทหารราบที่ 34 (ลำปาง)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 10 (นครสวรรค์)
- กรมทหารราบที่ 3 (ลพบุรี) ประกอบด้วย
- กองพลทหารม้า - พันโท ทวน วิชัยขัทคะ
- กรมทหารม้าที่ 35 ประกอบด้วย
- กองพันทหารม้าที่ 3 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารม้าที่ 5 (ร้อยเอ็ด)
- กรมทหารม้าที่ 46 ประกอบด้วย
- กองพันทหารม้าที่ 4 (จันทบุรี)
- กองพันทหารม้าที่ 6
- กรมทหารม้าที่ 35 ประกอบด้วย
- กองพันรถรบ
- กรมทหารม้าที่ 12 (อิสระ) มีพันโท หลวงจำรัสโรมรัน (จำรัส รมยะบุรุษ) เป็นผู้บังคับการกรม ประกอบด้วย
- กองพันทหารม้าที่ 1 (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารม้าที่ 2 (ปราจีนบุรี)
- กองพันทหารราบที่ 35 (เชียงใหม่)
- กองพันทหารช่างที่ 1 (ราชบุรี)
- กองพันทหารช่างที่ 2 (ฉะเชิงเทรา)
- กองพันทหารช่างที่ 3
- กองพันทหารช่างที่ 4
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 (กรุงเทพ)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11
- กองพันปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองทัพพายัพ
- กองพันขนส่ง กองทัพพายัพ
- กองพันลำเลียงน้ำ กองทัพพายัพ
การปรับกำลัง
แก้ระหว่างการรบ กองทัพพายัพได้จัดกำลังผสมเพิ่มเติมในกองทัพดังนี้
- กรมทหารราบสนามที่ 17 ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 32 (นครสวรรค์)
- กองพันทหารราบที่ 35 (เชียงใหม่)
- กองพันทหารราบที่ 39 (นครศรีธรรมราช)
สภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายเป็นปัจจัยบังคับให้ต้องยุบกองพลทหารม้าเร็วกว่าที่ควร และย้ายกรมทหารม้าที่ 31 ไปยังจังหวัดร้อยเอ็ด กับย้ายกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (กองพันทหารม้าใช้ม้า) กลับไปยังกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ตาม กองทัพบกไทยก็ได้จัดตั้งหน่วยทหารทดแทนหน่วยทหารม้าขึ้นในกองทัพพายัพ ดังนี้
- กองพันปืนกลหนักที่ 11
- กองพันปืนกลที่ 1
- กองพันปืนกลที่ 2
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 27
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 29
กองทัพที่ 2
แก้หลังจากฟื้นฟูความสงบในเมืองเชียงตุงได้ ในปี พ.ศ. 2486 กองทัพบกไทยจึงถอนกำลังของกองทัพพายัพบางส่วน และจัดตั้งกองทัพที่ 2 ขึ้นเป็นกำลังรบสำรอง โดยมีกองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย
- กองพลที่ 1 (เชียงราก) ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 1 (กรุงเทพฯ) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารราบที่ 3 (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารราบที่ 9 (กรุงเทพฯ)
- กรมทหารราบที่ 2 (กรุงเทพฯ) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 2 (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารราบที่ 7 (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารราบที่ 37 (ราชบุรี)
- กองพันทหารราบที่ 45 (เพชรบุรี)
- กรมทหารราบที่ 1 (กรุงเทพฯ) ประกอบด้วย
- กองพันทหารม้าที่ 1 (ย้ายจากกองทัพพายัพกลับมายังกรุงเทพฯ หลังจากยุบกรมทหารม้าที่ 12 อิสระ เนื่องจากม้าที่หน่วยดังกล่าวใช้งานเป็นของกองพันทหารม้าที่ 1 เกิดเจ็บป่วยและล้มตายจำนวนมาก)
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1
- กองพลที่ 7 (ลพบุรี) ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 19 (ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 58 (ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี)
- กองพันทหารราบที่ 59 (ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี)
- กรมทหารราบที่ 20 (อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์)
- กองพันทหารราบที่ 60 (อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์)
- กองพันทหารราบที่ 61 (อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์)
- กรมทหารราบที่ 21 (ตำบลวังชมภู อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์)
- กองพันทหารราบที่ 62 (ตำบลวังชมภู อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์)
- กองพันทหารราบที่ 63 (ตำบลวังชมภู อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์)
- กองพันทหารราบที่ 64 (ตำบลวังชมภู อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์)
- กรมทหารราบที่ 12 ย้ายจากกองทัพพายัพกลับมายังจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 28 (นครสวรรค์)
- กองพันทหารราบที่ 65 (นครสวรรค์)
- กรมทหารราบที่ 6 ย้ายจากกองทัพพายัพกลับมายังจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 29 (พิษณุโลก) - แยกมาจากกรมทหารราบที่ 12
- กองพันทหารราบที่ 66 (นครสวรรค์)
- กองพันทหารราบที่ 67 (ตาก)
- กรมทหารราบที่ 19 (ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี) ประกอบด้วย
กองพลที่ 37
แก้ในปี พ.ศ. 2488 กองทัพบกไทยได้จัดตั้งหน่วยทหารเพื่อช่วยฝึกด้านยุทธวิธีแก่ขบวนการเสรีไทย ดังนี้
- กองพลที่ 37 (นครราชสีมา) ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 107 (นครราชสีมา)
- กรมทหารม้าที่ 35 (ร้อยเอ็ด) - ย้ายมาจากกองทัพพายัพ ประกอบด้วย
- กองพันทหารม้าที่ 3 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารม้าที่ 5 (ร้อยเอ็ด)
- กรมทหารราบที่ 108 (อุดรธานี - นครพนม
- กรมทหารราบที่ 9 (อุบลราชธานี) - ย้ายมาจากกองทัพพายัพ
- กองพันทหารราบที่ 25 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารราบที่ 26 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารราบที่ 27 (อุบลราชธานี)
การยุบหน่วย
แก้หลังการประกาศสันติภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หน่วยต่างๆ ของกองทัพได้ถูกยุบเลิกและสลายกำลัง ดังนี้
- ประกาศยุบเลิกหน่วยและสลายกำลังเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2488
- กองพันปืนกลหนักที่ 11
- กองพันปืนกลที่ 1
- กองพันปืนกลที่ 2
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 27
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 28
- ประกาศยุบเลิกหน่วยและสลายกำลังเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488
- กองบัญชาการกองทัพพายัพ
- กองทัพที่ 2
- กองพลที่ 7
- กองพลที่ 37
- กองพลน้อยผสมที่ 18 ประจำการ ณ สี่รัฐมาลัย
- กรมทหารราบที่ 20
- กรมทหารราบที่ 107
- กองพันทหารม้าที่ 4
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 6
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 14
- กองพันทหารราบที่ 32 (นครสวรรค์)
- กองพันทหารราบที่ 33 (กำลังสำรอง)
- กองพันทหารราบที่ 34 (ลำปาง)
- กองพันทหารราบที่ 35 (เชียงใหม่)
- กองพันทหารราบที่ 54
- กองพันทหารราบที่ 56
- กองพันทหารราบที่ 40 (ตรัง)
- กองพันทหารราบที่ 41 (สงขลา)
การปรับกำลังหลังสิ้นสุดสงคราม
แก้หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2489 กองทัพบกไทยได้ปรับกำลังใหม่ดังนี้
- มณฑลทหารบกที่ 1 (กรุงเทพฯ) ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (กรุงเทพฯ) - ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารราบที่ 3 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารราบที่ 9 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (กรุงเทพฯ)
- กรมทหารราบที่ 11 (กรุงเทพฯ) - แปรสภาพหน่วยมาจากกรมทหารราบที่ 2 - ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 2 (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารราบที่ 7 (กรุงเทพฯ)
- กองพันทหารราบที่ 37 (ราชบุรี)
- กองพันทหารราบที่ 45 (เพชรบุรี)
- กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (กรุงเทพฯ) - ประกอบด้วย
- มณฑลทหารบกที่ 2 (ปราจีณบุรี) ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 2 (ลพบุรี) - แปรสภาพหน่วยมาจากกรมทหารราบที่ 3 ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 4
- กองพันทหารราบที่ 6
- กองพันทหารราบที่ 8
- กรมทหารราบที่ 12 (ปราจีณบุรี) - แปรสภาพหน่วยมาจากกรมทหารราบที่ 4 ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 10
- กองพันทหารราบที่ 11
- กองพันทหารราบที่ 12
- กรมทหารราบที่ 2 (ลพบุรี) - แปรสภาพหน่วยมาจากกรมทหารราบที่ 3 ประกอบด้วย
- มณฑลทหารบกที่ 3 ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 3 (นครราชสีมา) - แปรสภาพหน่วยมาจากกรมทหารราบที่ 7 ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 19
- กองพันทหารราบที่ 20
- กองพันทหารราบที่ 21
- กรมทหารราบที่ 13 (อุบลราชธานี) - แปรสภาพหน่วยมาจากกรมทหารราบที่ 9 ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 25 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารราบที่ 26 (อุบลราชธานี)
- กองพันทหารราบที่ 27 (อุบลราชธานี)
- กรมทหารราบที่ 3 (นครราชสีมา) - แปรสภาพหน่วยมาจากกรมทหารราบที่ 7 ประกอบด้วย
- มณฑลทหารบกที่ 4 ประกอบด้วย
- กรมทหารราบที่ 4 (นครสวรรค์) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 28 (นครสวรรค์)
- กองพันทหารราบที่ 29 (พิษณุโลก)
- กองพันทหารราบที่ 30 (ลำปาง)
- กองพันทหารราบที่ 31 (เชียงใหม่)
- กรมทหารราบที่ 4 (นครสวรรค์) ประกอบด้วย
- มณฑลทหารบกที่ 5 (นครศรีธรรมราช) ประกอบด้วย
- กองพันทหารราบที่ 5 (อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา)
- กองพันทหารราบที่ 38 (ชุมพร)
- กองพันทหารราบที่ 39 (นครศรีธรรมราช)
- กองพันทหารราบที่ 42 (อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี)
กองทัพอากาศสนาม
แก้- แม่ทัพอากาศสนาม - พลอากาศตรี หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์)
- รองแม่ทัพอากาศสนาม - พลอากาศตรี หลวงเทวฤทธิ์พันลึก (กาพย์ ทัตตานนท์)
- เสนาธิการกองทัพอากาศสนาม และผู้บังคับกองบินใหญ่ผสมภาคพายัพ - พลอากาศตรี ขุนรณนภากาศ (ฟื้น ฤทธาคนี)
กองบินผสมที่ 90 - ไม่ทราบจำนวนอากาศยาน
- ฝูงบินที่ 41
- เครื่องบิน Curtiss Hawk III
- ฝูงบินที่ 42
- เครื่องบิน Curtiss Hawk III
- ฝูงบินที่ 32
- เครื่องบิน Vought Corsair V-93s
- ฝูงบินที่ 11
- เครื่องบิน Mitsubishi Ki-30
- ฝูงบินที่ 12
- เครื่องบิน Mitsubishi Ki-30 จำนวน 17 เครื่อง
- ฝูงบินที่ 61
- เครื่องบิน Martin 139WS
- ฝูงบินที่ 62
- เครื่องบิน Mitsubishi Ki-21-I
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- Thailand
- The Northern Campaign
- Phayap Army เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สงครามมหาเอเซียบูรพา - จากวันวีรไทย ถึง วันประกาศสงคราม (Thai)
- กองทัพไทยจัดกำลังพลไปรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา
- ลุยโคลนไปยึดเชียงตุง สถาปนาเป็น “สหรัฐไทยเดิม”! ชิงดินแดนที่เสียไปในสมัย ร.๔-ร.๕ คืนมาได้ครบ!!
- ภาพเก่าเล่าตำนาน : กองทัพญี่ปุ่นไปทำอะไร…ใน‘ลำปาง’ โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
- การจัดตั้งกองทัพพายัพ
- การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
- ประวัติศาสตร์การสงครามของไทยในสงครามมหาเอเซียบูรพา, กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด. 2540 (Thai)
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 "สุดขมขื่นของทหารไทยที่ต้องจำจนวันตาย! ถูกส่งไปรบเพื่อชาติ หลังชัยชนะ ต้อง "เดินนับไม้หมอน" กลับบ้าน!!". mgronline.com. 21 พฤษภาคม 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ชวาลศิลป์, บัญชร (30 ตุลาคม 2024). "ปรีดี แปลก อดุล : คุณธรรมน้ำมิตร (37)". www.matichonweekly.com. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)