ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข รองนายกรัฐมนตรี
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2500 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์พันลึก |
ถัดไป | จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (1 ปี 208 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (0 ปี 179 วัน) | |
ก่อนหน้า | พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |
ถัดไป | จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 | |
ก่อนหน้า | พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ |
ถัดไป | พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 |
เสียชีวิต | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 (87 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีมนังคศิลา |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี มีนามเดิมว่า ฟื้น ฤทธาคนี เป็นบุตรของนายฟุ้ง ฤทธาคนีและนางพุดตาน ฤทธาคนี [1] ศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2452 สมัครเข้าโรงเรียนนายร้อย ประจำกรมทหารพราน และเป็นศิษย์การบินโรงเรียนการบินเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. 2456 เข้าประจำการกรมอากาศยาน กองทัพบก เมื่อ พ.ศ. 2457 ย้ายเหล่าทัพไปประจำกองทัพอากาศไทย ยศนายเรืออากาศเอก เมื่อ พ.ศ. 2470 และไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2477 [2]
ช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 ขณะนั้นท่านมียศเป็น นาวาอากาศโท ขุนรณนภากาศ ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับฝูงบินพิบูลสงคราม นำเครื่องบินไปทิ้งระเบิดทำลายฐานทัพฝรั่งเศส ที่เมืองสตึงเตรง พระตะบองและเสียมราฐ [3] [4]
ช่วงปี พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2500 ท่านดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้สถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 [5][6] ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระหว่าง พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2498 รองนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2500[7] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ช่วงสั้นๆ ในปี พ.ศ. 2500 ในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม[8]
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เกษียณอายุราชการที่กองบัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2504 และ เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 สิริอายุ 87 ปี
ยศทหารแก้ไข
- พ.ศ. 2495: พลเอก พลเรือเอก[9]
- ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นจอมพลอากาศ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมพ.ศ. 2497 [1][2] เป็นจอมพลอากาศคนแรกของกองทัพอากาศไทย[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2496 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2477 - เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[12]
- พ.ศ. 2484 - เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[13]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 ประวัติจาก กองบัญชาการทหารสูงสุด
- ↑ 2.0 2.1 ประวัติ จากกองทัพอากาศ
- ↑ ประวัติศาสตร์การรบของกองทัพอากาศไทย
- ↑ ประวัติการยุทธทางอากาศ กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๔
- ↑ ประวัติโรงเรียนนายเรืออากาศ
- ↑ วันนี้ในอดีต: 7 พฤษภาคม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/D/026/1023_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/047/1672.PDF
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2496" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (29ง): 2052. 12 พฤษภาคม 2496. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/2333.PDF