ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ เฉลิม พรมมาส หรือ หลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์ (19 สิงหาคม พ.ศ. 2439 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2518) แพทย์ชาวไทย อดีตผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

เฉลิม พรมมาส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
ก่อนหน้าจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ถัดไปพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2439
เสียชีวิต26 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 (78 ปี)

ประวัติ

แก้

น.พ.เฉลิม เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2439 บ้านเกิดเป็นชาวจังหวัดตาก ต่อมาได้เข้ามาศึกษาและจบชั้นมัธยมที่ ร.ร.เทพศิรินทร์ น.พ.เฉลิมเป็นนักศึกษาที่ผลการเรียนดีเป็นที่หนึ่งมาตลอด จบการศึกษาแพทยศาสตร์ จากศิริราช และได้ทุนสมเด็จพระบรมราชชนก ไปเรียนต่อด้านสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอบกิ้นและเป็นคนไทยคนแรกที่จบวิชานี้จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอบกิ้นโดยผลการเรียนอยู่ในอันดับต้นๆจนเป็นที่ยอมรับของอาจารย์ทุกท่าน เมื่อกลับเมืองไทยต่อมาได้ร่วมมือกับนายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่างค้นพบวงจรชีวิตพยาธิตัวจี๊ดเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งแพทย์ทั่วโลกให้การยอมรับและยกย่องให้เป็นผู้ค้นพบคนแรก เคยเป็นผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2500[1] และได้รับแต่งตั้งให้รักษาการคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึงปี พ.ศ. 2500 ต่อมาในปีเดียวกันได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน[2][3] และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร รวม 2 สมัยตามลำดับ

เฉลิม พรมมาส เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2518[4]

ผลงาน

แก้

น.พ.เฉลิม พรมมาส ในฐานะผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ขอความร่วมมือจากพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) และท่านอื่นๆอีกหลายท่าน ในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2490 และแห่งที่สามที่เชียงใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เทิดพระนาม มหิดล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-10. สืบค้นเมื่อ 2015-11-05.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 27 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  4. ข่าวเสียชีวิต[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๙๒, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๓๐ ง หน้า ๑๑๔๑, ๔ เมษายน ๒๕๑๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๔๘, ๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๘, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๑๔๙๕, ๒ ตุลาคม ๒๔๘๘
ก่อนหน้า เฉลิม พรมมาส ถัดไป
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(21 กันยายน พ.ศ. 2500 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500 สมัยแรก
1 มกราคม พ.ศ. 2501 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 สมัยที่สอง)
  พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)