เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร (15 สิงหาคม พ.ศ. 2457 [1] - 14 เมษายน พ.ศ. 2503 [2]) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[3]
เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2500 – 14 เมษายน พ.ศ. 2503 (ถึงแก่กรรม) | |
ก่อนหน้า | จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี |
ถัดไป | พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2457 |
เสียชีวิต | 14 เมษายน พ.ศ. 2503 (46 ปี) ใกล้กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | พรรณี สมพงษ์(เสียชีวิต) คุณหญิงจำเพาะ วัฒนางกูร |
ประวัติ
แก้จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ศึกษาวิชาการบินจากกองโรงเรียนการบินที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2477 จบโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2489 และไปศึกษาต่อวิชาเสนาธิการที่ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2493
ในช่วงสงครามอินโดจีน เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2484 ขณะนั้นท่านมียศเป็น"เรืออากาศโท"เป็นหัวหน้าหมู่บินลาดตระเวน 3 ลำ บริเวณบ้านยาง ถึงบ้านกูบ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ท่านขับเครื่องบินขับไล่แบบที่ 9 (ฮอร์ค 2) ต่อสู้กับเครื่องบินทิ้งระเบิด และเครื่องบินขับไล่ของฝรั่งเศส เครื่องบินฝรั่งเศสถูกยิงตก 3 ลำ[4]
จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2503[2] ขณะมียศเป็น พลอากาศเอก[5] หลังการประชุมกองทัพอากาศภาคพื้นแปซิฟิก ที่ไทเป ไต้หวัน เครื่องบินดักลาส C-54 Skymaster ที่เป็นพาหนะ เกิดอุบัติเหตุชนภูเขาเสียชีวิตทั้งลำ[6][7] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นจอมพลอากาศในวันเดียวกัน[8] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2503 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
มีหลานชายได้แก่ นาวาอากาศตรี อัษฎาวุธ วัฒนางกูร อดีตอธิบดีกรมมหาดเล็ก 904
การเมือง
แก้เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[9] เขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย ในปี พ.ศ. 2500 ในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม[10] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2501 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2488 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.) (ประดับช่อชัยพฤกษ์)[15]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[16]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[17]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[18]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2490 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[20]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ:
- พ.ศ. 2503 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
- ไต้หวัน:
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติจากกองทัพอากาศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-12-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ 2.0 2.1 "ที่ระลึกวันครบรอบการถึงแก่อนิจกรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ "พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-18. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ "สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-11-07.
- ↑ ข้อมูลจาก plaincrashinfo ระบุว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2503 และเป็นเครื่องบินดักลาส DC-4 (เป็นเครื่องบินพลเรือนที่พัฒนามาเป็นเครื่องบินทหาร C-54 Skymaster)
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2019-10-04.
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร (พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร) เล่ม 74 ตอน 69ก วันที่ 20 สิงหาคม 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๑๖๘, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ และช่อชัยพฤกษ์ประดับแพรแถบเหรียญกล้าหาญ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๗ ง หน้า ๑๓๘, ๓๐ มกราคม ๒๔๘๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๕๘ ง หน้า ๒๓๓๕, ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๓๓๔๖, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๕๕๙, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓