จังหวัดสตึงแตรง
สตึงแตรง[2] หรือ ซตึงแตรง[2] (เขมร: ស្ទឹងត្រែង; แปลว่า แม่น้ำต้นกก) เป็น 1 ใน 2 จังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศกัมพูชา ชาวลาวเรียกชื่อที่แห่งนี้ว่า เซียงแตง (ลาว: ຊຽງແຕງ) ส่วนในภาษาไทยเดิมเรียกตามภาษาลาวว่า เชียงแตง[3][4] บ้างก็ทับศัพท์ตามภาษาเขมรเป็น สตึงเตรง[5] หรือ สะตึงแตรง พื้นที่ส่วนนี้เคยเป็นเขตแดนของอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ (ภายหลังเป็นประเทศราชของสยาม) ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 23–25 ก่อนจะตกมาเป็นของกัมพูชาใน พ.ศ. 2447 จากการที่ฝรั่งเศสได้พื้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงในบังคับสยามมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศส
จังหวัดสตึงแตรง ខេត្តស្ទឹងត្រែង ຊຽງແຕງ; เชียงแตง | |
---|---|
วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสตึงแตรง | |
แผนที่ประเทศกัมพูชาเน้นจังหวัดสตึงแตรง | |
พิกัด: 13°31′N 105°57′E / 13.517°N 105.950°E | |
ประเทศ | กัมพูชา |
เมืองหลัก | สตึงแตรง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 11,092 ตร.กม. (4,283 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2551)[1] | |
• ทั้งหมด | 111,734 คน |
• ความหนาแน่น | 10 คน/ตร.กม. (26 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+07 |
รหัสโทรศัพท์ | +855 |
รหัส ISO 3166 | KH-19 |
อำเภอ | 6 |
เขตการปกครอง
แก้จังหวัดสตึงแตรงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ ดังนี้
รหัส | อำเภอ | อักษรเขมร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
19-01 | เซซาน | ស្រុកសេសាន, สรุกฺเสสาน | |
19-02 | เซียมโบก | ស្រុកសៀមបូក, สรุกฺเสียมบูก | |
19-03 | เซียมปาง | ស្រុកសៀមប៉ាង, สรุกฺเสียมปาง | เอกสารไทยและลาวเรียก "แสนปาง" (ແສນປາງ) |
19-04 | สตึงแตรง | ក្រុងស្ទឹងត្រែង, กรุงสตึงแตรง | เอกสารไทยและลาวเรียก "เชียงแตง" (ຊຽງແຕງ) |
19-05 | ธาราบริวัตร | ស្រុកថាឡាបរិវ៉ាត់, สรุกฺถาฬาบริวาต | |
19-06 | บอเร็ยโอร์ซวายแซนเจ็ย[6] | ស្រុកបុរីអូរស្វាយសែនជ័យ, สรุกฺบุรีอูรสวายแสนชัย |
อ้างอิง
แก้- ↑ "General Population Census of Cambodia 2008 - Provisional population totals" (PDF). National Institute of Statistics, Ministry of Planning. 3 September 2008.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ บ้านจอมยุทธ. สงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส. เรียกดูเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ โอเคเนชั่น. ๑๕. สยามเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ ศานติ ภักดีคำ. "เขมร "เขม่น" ไทย ในแบบเรียนประวัติศาสตร์กัมพูชา เก็บถาวร 2009-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2546, กรุงเทพฯ : มติชน, 2546
- ↑ "Government establishes new districts, town for better management". The Phnom Penh Post. 31 January 2019.