อำเภอบางคนที

อำเภอในจังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย

บางคนที เป็นหนึ่งในอำเภอสำคัญของจังหวัดสมุทรสงครามในด้านการท่องเที่ยว เป็นที่ตั้งของอาสนวิหารแม่พระบังเกิด สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) โดยบาทหลวงเปาโล ซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส และเป็นปลายของคลองดำเนินสะดวก ซึ่งเชื่อมกับแม่น้ำแม่กลองที่ตลาดบางนกแขวกเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 100 ปี ซึ่งเป็นตลาดริมน้ำที่ยาวที่สุดของจังหวัด มีประตูน้ำบางนกแขวกสร้างขึ้นเป็นทางปล่อยเรือเข้าออกคลองซึ่งมีมากมายในสมัยก่อน และมีเขตประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ ค่ายบางกุ้ง และวัดเจริญสุขารามวรวิหาร

อำเภอบางคนที
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Khonthi
ภายในอาสนวิหารแม่พระบังเกิด สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) โดยบาทหลวงเปาโล ซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ใช้เวลาก่อสร้างถึง 6 ปี ในเขตเทศบาลตำบลบางนกแขวก
ภายในอาสนวิหารแม่พระบังเกิด สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) โดยบาทหลวงเปาโล ซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ใช้เวลาก่อสร้างถึง 6 ปี ในเขตเทศบาลตำบลบางนกแขวก
คำขวัญ: 
ค่ายบางกุ้งคู่เมือง ลือเลื่องโบสถ์ปรกโพธิ์ หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ งามจิตรอาสนวิหาร ลิ้นจี่หวานส้มโอดี วิถีชีวิตพอเพียง
แผนที่จังหวัดสมุทรสงคราม เน้นอำเภอบางคนที
แผนที่จังหวัดสมุทรสงคราม เน้นอำเภอบางคนที
พิกัด: 13°28′6″N 99°56′24″E / 13.46833°N 99.94000°E / 13.46833; 99.94000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสงคราม
พื้นที่
 • ทั้งหมด65.40 ตร.กม. (25.25 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด31,045 คน
 • ความหนาแน่น474.69 คน/ตร.กม. (1,229.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 75120
รหัสภูมิศาสตร์7502
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางคนที เลขที่ 10
หมู่ที่ 6 ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ภาพถ่ายของโบราณสถานในประเทศไทย ระบุโดยเลขทะเบียนกรมศิลปากร วัดบางกุ้ง
หลวงพ่อนิลมณี พระประธานประจำพระอุโบสถที่ถูกต้นไทรปกคลุม
พระอุโบสถวัดบางกุ้ง เมื่อมองผ่านหน้าต่างเข้าสู่ภายในจะเห็นพระประธาน "หลวงพ่อนิลมณี"

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอบางคนทีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 
วัดบางกุ้ง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งทางประวัติศาสตร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ช่วง พ.ศ.2308 กองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ จึงรับสั่งให้หัวเมืองปากใต้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้ง ที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า ค่ายบางกุ้ง

ประวัติ แก้

สมุทรสงครามหรือเมืองแม่กลองในอดีตคือแขวงบางช้าง ของเมืองราชบุรีแขวงบางช้างมีศูนย์กลาง อยู่ที่ตําบลบางช้าง อําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน) แขวงบางช้างมีอีกชื่อว่า สวนนอก ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัย กรุงธนบุรีแขวง บางช้างแยกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง" สมุทรสงครามมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พม่าส่ง กองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตําบลบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรง รวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจนข้าศึกพ่ายแพ้ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้ามายังไทยครั้งสําคัญในช่วงเวลานั้น

อำเภอบางคนที หรือนามเดิมคือ "อำเภอสี่หมื่น" มีนายศุขเป็นนายอำเภอ ต่อมาใน พ.ศ. 2449 ได้ตั้งนายมังกร ซึ่งเป็นผู้ตรวจการมณฑลราชบุรีเป็นนายอำเภอสี่หมื่นแทน[1] ในขณะนั้นจังหวัดราชบุรีมีทั้งหมด 7 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอพระแท่น อำเภอลำพระยา อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอแม่น้ำอ้อม อำเภอสี่หมื่น และกิ่งอำเภอจอมบึง กิ่งอำเภอวัดเพลง ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน 2454 ทางราชการได้ยกอำเภอสี่หมื่น และอำเภอแม่น้ำอ้อมจากเมืองราชบุรี มาขึ้นเมืองสมุทรสงคราม เนื่องจากเมืองสมุทรสงครามมีการปกครองแค่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านปรก และอำเภออัมพวา จนเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอให้ตรงตามตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเปลี่ยนตามชื่อของตำบลบางคณฑี จากอำเภอสี่หมื่น กลายเป็น "อำเภอบางคณฑี" หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2510 ทางราชการได้กำหนด การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอ เพื่อให้เขียนเป็นแบบเดียวกัน โดยได้เปลี่ยนการสะกดจาก "อำเภอบางคณฑี" เป็น "อำเภอบางคนที"[2][3] อย่างเป็นทางการ

  • วันที่ 11 มิถุนายน 2454 โอนพื้นที่อำเภอแม่น้ำอ้อม และอำเภอสี่หมื่น จากเมืองราชบุรี มาขึ้นกับเมืองสมุทรสงคราม[4]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2456 ยกเลิกอำเภอสี่หมื่น อำเภอแม่น้ำอ้อม เมืองราชบุรี เนื่องจากโอนไปอยู่ในการปกครองของเมืองสมุทรสงคราม[5]
  • วันที่ 11 ตุลาคม 2457 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอสี่หมื่น มณฑลราชบุรี เป็น อำเภอบางคณฑี[6]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2464 ท้องที่มีฐานะเป็น "อำเภอบางคณฑี" จังหวัดสมุทรสงคราม มณฑลราชบุรี มีเขตการปกครองตลอดท้องที่ ได้แก่ ตำบลโรงหีบ ตำบลไทรโยค ตำบลบางน้อย ตำบลโพธิ์งาม ตำบลสำโรง ตำบลโรงหวี ตำบลจอมปลวก[7] ตำบลบางคณฑี ตำบลดอนมะโนรา ตำบลกระดังงา ตำบลบางกล้วย ตำบลยายแพง ตำบลบางพรม[8][9] ตำบลบางยี่รงค์[10] ตำบลบางนกแขวก ตำบลคลองฝรั่ง[11] ตำบลบางพลับ ตำบลบางกระบือ และตำบลวัดโบสถ์[12][13]
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2483 รวมตำบลบ้านฝรั่ง กับตำบลบางยี่รงค์ แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลบางยี่รงค์ รวมตำบลโพธิ์งาม กับตำบลบางนกแขวก แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลบางนกแขวก และรวมตำบลวัดโบสถ์ กับตำบลไทรโยค แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลบางกุ้ง[14]
  • วันที่ 22 ตุลาคม 2483 ยุบตำบลบางพลับ รวมเข้ากับตำบลบางพรม ยุบตำบลบางน้อย รวมเข้ากับตำบลกระดังงา ยุบตำบลบางกล้วย รวมเข้ากับตำบลบางคนที และรวมตำบลสำโรง กับตำบลโรงหวี แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลบางสะแก[15]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลยายแพง แยกออกจากตำบลกระดังงา และตำบลจอมปลวก ตั้งตำบลบางกระบือ แยกออกจากตำบลบางพรม และตำบลจอมปลวก[16]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลกระดังงา ในท้องที่บางส่วนของตำบลกระดังงา[17]
  • วันที่ 26 มีนาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลบางนกแขวก ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลบางนกแขวก และพื้นที่หมู่ 6 ตำบลบางคนที[18]
  • วันที่ 23 มิถุนายน 2510 เปลี่ยนการสะกด "อำเภอบางคณฑี" จังหวัดสมุทรสงคราม เป็น อำเภอบางคนที[2][3]
  • วันที่ 5 กันยายน 2510 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบางคนที[19] ในท้องที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
  • วันที่ 12 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งสภาตำบลกระดังงา (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลกระดังงา) สภาตำบลบางสะแก สภาตำบลดอนมะโนรา สภาตำบลบางกุ้ง สภาตำบลโรงหีบ สภาตำบลบางพรม สภาตำบลจอมปลวก สภาตำบลยายแพง สภาตำบลบางกระบือ สภาตำบลบางยี่รงค์ และสภาตำบลบางคนที (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบางนกแขวก)[20]
  • วันที่ 7 กันยายน 2525 ตั้งตำบลบ้านปราโมทย์ แยกออกจากตำบลบางยี่รงค์ และตำบลบางสะแก[21]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลกระดังงา (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลกระดังงา) สภาตำบลบางสะแก สภาตำบลดอนมะโนรา สภาตำบลบางกุ้ง สภาตำบลโรงหีบ สภาตำบลบางพรม สภาตำบลจอมปลวก สภาตำบลยายแพง สภาตำบลบางกระบือ สภาตำบลบางยี่รงค์ สภาตำบลบ้านปราโมทย์ และสภาตำบลบางคนที (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบางนกแขวก) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลกระดังงา) องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา องค์การบริหารส่วนตำบลบางกุ้ง องค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ องค์การบริหารส่วนตำบลบางพรม องค์การบริหารส่วนตำบลจอมปลวก องค์การบริหารส่วนตำบลยายแพง องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ องค์การบริหารส่วนตำบลบางยี่รงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปราโมทย์ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบางนกแขวก)[22] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกระดังงา และสุขาภิบาลบางนกแขวก เป็นเทศบาลตำบลกระดังงา และเทศบาลตำบลบางนกแขวก ตามลำดับ[23] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปราโมทย์ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางกุ้ง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ และยุบองค์การบริหารส่วนตำบลยายแพง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที[24]
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางยี่รงค์ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบางยี่รงค์[25] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลบางกระบือ[26]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอบางคนทีแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 13 ตำบล 101 หมู่บ้าน

แผนที่ตำบลในอำเภอบางคนที # ชื่อตำบล อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[27]
  1. กระดังงา Kradangnga
13
5,126
2. บางสะแก Bang Sakae
7
1,940
3. บางยี่รงค์ Bang Yi Rong
10
1,684
4. โรงหีบ Rong Hip
9
2,053
5. บางคนที Bang Khonthi
9
2,241
6. ดอนมะโนรา Don Manora
8
4,017
7. บางพรม Bang Phrom
8
2,654
8. บางกุ้ง Bang Kung
7
1,538
9. จอมปลวก Chom Pluak
7
3,058
10. บางนกแขวก Bang Nok Khwaek
7
1,253
11. ยายแพง Yai Phaeng
5
1,452
12. บางกระบือ Bang Krabue
5
1,979
13. บ้านปราโมทย์ Ban Pramot
6
1,693

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอบางคนทีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

 
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด เป็นอาสนวิหารประจำเขตมิสซังราชบุรี ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่การบังเกิดของพระแม่มารีย์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางนกแขวก

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

สถาบันอุดมศึกษา แก้

อำเภอบางคนทีเป็นที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาแห่งเดียวของจังหวัดสมุทรสงคราม คือ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของจังหวัดสมุทรสงคราม ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2553[28]

อ้างอิง แก้

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (6): 113. May 6, 1906.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอและกิ่งอำเภอ เป็นอักษรโรมัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (56 ง): (ฉบับพิเศษ) 1. June 23, 1967.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (56 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-35. June 23, 1967.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเขตอำเภอแม่น้ำอ้อม อำเภอสี่หมื่น จากเมืองราชบุรีไปขึ้นเมืองสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 489. June 11, 1911.
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกอำเภอแม่น้ำอ้อม กับ อำเภอสี่หมื่น เมืองราชบุรีมาเป็นเขตเมือง สมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1073. August 24, 1913. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 1514. October 11, 1914. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2011-09-16.
  7. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 499–506. December 11, 1921.
  8. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 154–161. October 1, 1922.
  9. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๒๗ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลราชบุรี หน้า ๑๕๘,๑๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ง): 1942. October 15, 1922.
  10. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 277–278. March 2, 1923.
  11. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 58–60. July 29, 1923.
  12. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 165–166. October 5, 1924.
  13. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๒๗ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลราชบุรี หน้า ๑๖๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ง): 2253. October 19, 1924.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 1332. August 6, 1940.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2529–2530. October 22, 1940.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกระดังงา อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 123-124. September 17, 1955.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางนกแขวก อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (29 ง): 803–804. March 26, 1963.
  19. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกันทรวิชัย เกษตรวิสัย อาจสามารถ ปากพะยูน สารภี สันกำแพง น้ำปาด ป่าซาง บางคนที บรรพตพิสัย ศรีประจันต์ ปากท่อ และที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหนองแค" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (83 ง): 2456. September 5, 1967.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. May 22, 1974.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (126 ง): 3589–3592. September 7, 1982.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  23. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-05.
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 17–20. September 15, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.
  25. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล บางยี่รงค์ เป็น เทศบาลตำบลบางยี่รงค์". October 12, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  26. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล บางกระบือ เป็น เทศบาลตำบลบางกระบือ". October 12, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  27. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  28. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้