ประมาณ อดิเรกสาร
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
พลเอก ประมาณ อดิเรกสาร (31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553) เป็นตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคชาติไทย
ประมาณ อดิเรกสาร | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 (−1 ปี 304 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ถัดไป | นายทวิช กลิ่นประทุม |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519 (0 ปี 156 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ |
ถัดไป | นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ดำรงตำแหน่ง 25 กันยายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 11 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ |
ถัดไป | นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 (3 ปี 16 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ พลเอก เสริม ณ นคร พลเอก เล็ก แนวมาลี สมภพ โหตระกิตย์ |
ถัดไป | พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พิชัย รัตตกุล พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 มกราคม พ.ศ. 2533 (1 ปี 153 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร |
ถัดไป | นายบรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 301 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | พลเอก ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา |
ถัดไป | พลเอก กฤษณ์ สีวะรา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 169 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | นายทวิช กลิ่นประทุม |
ถัดไป | นายอินทรีย์ จันทรสถิตย์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (0 ปี 169 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
ถัดไป | พลเอก หลวงสวัสดิ์กลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์) |
ดำรงตำแหน่ง 9 มกราคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (0 ปี 334 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | นายบรรหาร ศิลปอาชา |
ถัดไป | นายประมวล สภาวสุ |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 (ยุบสภา) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ดำรงตำแหน่ง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | นายชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ถัดไป | นายบรรหาร ศิลปอาชา |
หัวหน้าพรรคชาติไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2529 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งพรรค |
ถัดไป | กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ (รักษาการหัวหน้าพรรคชาติไทย) |
ดำรงตำแหน่ง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ |
ถัดไป | นายบรรหาร ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (96 ปี) โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคชาติไทย (2517 - 2539)[1] |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงเจริญ อดิเรกสาร (ชุณหะวัณ) |
บุตร | 3 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลเอก พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ |
ประวัติ
แก้ประมาณ อดิเรกสาร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ที่ตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรของนายเน้ย และนางจี้ อดิเรกสาร มีพี่น้อง คือ
- คุณหญิงสอาด ปุณณกันต์ (2449-2525)
- นางสาวตวงพร อดิเรกสาร (ถึงแก่กรรมเมื่อ 2546)
- พลเอก ประมาณ อดิเรกสาร
ประมาณ อดิเรกสาร จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รับราชการเป็นนายทหารปืนใหญ่ กองทัพบก ลพบุรี ยศสูงสุดเป็นพลตรี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[2] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[3][4] รัฐมนตรีช่วยว่าการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[5][6] ระหว่าง พ.ศ. 2494-2500 ในคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจอมพล แปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งจากการรัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พล.ต. ประมาณ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2518[8] และ พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช[9] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[10] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพล.ร.อ. สงัด ชลออยู่[11]
ในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์[12]
พล.ต. ประมาณ ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น พลตำรวจเอก เป็นกรณีพิเศษเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [13] จนกระทั่งวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พล.ต. ประมาณได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลเอก เป็นกรณีพิเศษ [14]
ในปี พ.ศ. 2533 เขาได้สลับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สลับกับนายบรรหาร ศิลปอาชา[15] และในรัฐบาลต่อมาของพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[16]
พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร สมรสกับท่านผู้หญิงเจริญ อดิเรกสาร (ชุณหะวัณ) พี่สาวของพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ มีบุตรชายรวมกัน 3 คน คือ
- นายปองพล อดิเรกสาร
- นายยงยศ อดิเรกสาร
- นายวีระพล อดิเรกสาร
การเมือง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดสระบุรี
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา → พรรคชาติสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
งานอุตสาหกรรม
แก้พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร เป็นผู้บุกเบิกวงการอุตสาหกรรม ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย และเคยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลวและอาการไตวาย ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ สิริอายุได้ 96 ปี 232 วัน[17] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
รางวัลและเกียรติยศ
แก้พลเอก พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น พลเอก พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ ประมาณ อดิเรกสาร เมื่อ พ.ศ. 2531[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พล.อ. ประมาณ อดิเรกสาร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[21]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[22]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[23]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[24]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[25]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[26]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[27]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
- พ.ศ. 2490 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[28]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[29]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เกาหลีใต้:
- พ.ศ. 2524 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 1 เหรียญกวางหวา[30]
- ญี่ปุ่น:
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1 เคียวกุจิสึ ไดจูโช[31]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประมาณ อดิเรกสาร : ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก/พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว อดีตรองนายกรัฐมนตรี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2553. หน้าที่ 444 https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/575859 หน้าที่ 444
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๙ก วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ เก็บถาวร 2018-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอน 22 ง หน้า 1 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร) เก็บถาวร 2018-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘ ตอน ๒ ข หน้า ๑๔๒ ๓ มกราคม ๒๕๓๔
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (๑.นายบรรหาร ศิลปอาชา พ้นจากตำแหน่ง รมต.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็น รมต.กระทรวงมหาดไทย ๒.พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร พ้นจากตำแหน่ง รมต. กระทรวงมหาดไทย เป็น รมต. กระทรวงอุตสาหกรรม)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ "ประมาณ อดิเรกสาร"เสียชีวิตแล้วหัวใจล้มเหลว เก็บถาวร 2010-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากคมชัดลึก
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-05-31.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๙, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๓๓๓๑, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑๐๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๕๒๑๑, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑