คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 25
คณะรัฐมนตรีของประเทศไทย
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 25 ของไทย (24 มีนาคม พ.ศ. 2495 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500)
คณะรัฐมนตรีแปลก 7 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 25 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500 | |
![]() | |
วันแต่งตั้ง | 28 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
วันสิ้นสุด | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (4 ปี 335 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
ประมุขแห่งรัฐ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
หัวหน้ารัฐบาล | แปลก พิบูลสงคราม |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 24 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 26 |
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2495
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ
พลเอก พระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 25 ของไทย แก้
ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2495 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[1]
- จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลตรีเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
- พลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (พิศาล สุนาวินวิวัฒน์) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
- จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลตรี บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร์) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- พลเอก มังกร พรหมโยธี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายวรการบัญชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- พระบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี
- จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลตรี ประยูร ภมรมนตรี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พันตำรวจเอก ละม้าย อุทยานานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
- พลเรือตรี หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พันเอก ประมาณ อดิเรกสาร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลโท เดช เดชประดิยุทธ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลโท หลวงสวัสดิ์สรยุทธ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- พลอากาศโท หลวงเชิดวุฒากาศ (สุดใจ เชิดวุฒิ) เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พันเอก ศิริ สิริโยธิน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- นายเลื่อน พงษ์โสภณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
การแถลงนโยบายของ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 25 ของไทย แก้
รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความไว้วางใจ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2495
นโยบายของรัฐบาลคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2495 เล่ม 69 ตอน 26 หน้า 1026
การปรับปรุง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 25 ของไทย แก้
- วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2495[2]
- นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
- พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2495[3]
- พลตำรวจตรี ละม้าย อุทยานานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2496[4]
- พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงษ์ ลัดพลี) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แทนพระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร์) ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
- วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 มีการปรับปรุงรัฐมนตรีใหม่บางท่าน คือ[5]
- พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒ (พิศาล สุนาวิน) พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- จอมพล ผิน ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร อีกตำแหน่งหนึ่ง
- พลตำรวจตรี ละม้าย อุทยานานนท์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
- พลจัตวา ศิริ สิริโยธิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- พลจัตวา ประมาณ อดิเรกสาร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2496
- พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2497[6]
- จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
- พลจัตวา ศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497
- พันเอก นายวรการบัญชา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และแต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497
- พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2497
- พลโท ประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
- พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
- พลโท ประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497
- จอมพล ผิน ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่งหนึ่ง
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- พลตรี ศิริ สิริโยธิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- พันตรี รักษ์ ปันยารชุน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2497
- นายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
- วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2497[7]
- พลตรี ศิริ สิริโยธิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
- พลเอก เดช เดชประดิยุทธ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
- พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่ง
- พลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒ (พิศาล สุนาวิน) พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงงวัฒนธรรม
- จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ ไปเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลโท ไสว ไสวแสนยากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
- วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง คือ[8]
- จอมพล ผิน ชุณหะวัณ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก เดช เดชประดิยุทธ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
- พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- พลโท ประยูร ภมรมนตรี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2499 ได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรี คือ
- จอมพล ผิน ชุณหะวัณ พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ
- พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2499
- หม่อมหลวงชูชาติ กำภู เป็นรัฐมนตรี
การสิ้นสุดของ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 25 ของไทย แก้
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุด เนื่องจากสมาชิกชุดที่ให้ความไว้วางใจขณะเข้ารับหน้าที่สิ้นสุดลงตามวาระ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
อ้างอิง แก้
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายสุกิจ นิมมานเหมินท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลาออกจากตำแหน่ง แต่งตั้งให้ พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมสืบแทน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการสหกรณ์ (นายพลตำรวจตรี ละม้าย อุทยานานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ (พลเรือเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล และพลจัตวา ศิริ สิริโยธิน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ปรับปรุงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ (๑. พลตรี ศิริ สิริโยธิน พ้นจากตำแหน่ง ๒. พลเอก เดช เดชประดิยุทธ ดำรงตำแหน่ง)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง (จอมพล ผิน ชุณหะวัณ พลเอก เดช เดชประดิยุทธ นายพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ พลโท ประยูร ภมรมนตรี)