ละม้าย อุทยานานนท์
พลตำรวจตรี ละม้าย อุทยานานนท์ (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2507) อดีตรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม 3 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท
ละม้าย อุทยานานนท์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 |
เสียชีวิต | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2507 (56 ปี) |
พรรคการเมือง | เสรีมนังคศิลา |
คู่สมรส | วิเชียร อุทยานานนท์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พลตรี พลตำรวจตรี |
ประวัติ
แก้พลตรี ละม้าย อุทยานานท์ เป็นบุตรของนายพันโทพระเสนางควิจารณ์ (นิล อุทยานานนท์) กับใหญ่ เสนางควิจารณ์เกิดที่บ้านตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2451
การศึกษา
แก้ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนอัสสัมชัญ และต่อมาได้เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก เลขที่ 3551 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2464 จบหลักสูตรชั้นปีที่ 6 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2472 และได้รับพระราชทานยศ นายร้อยตรี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2473[1]
การสมรส
แก้สมรสกับวิเชียร ชังคานนท์ บุตรนาวาตรีหลวงสมุทรพรานุรักษ์ (ชิด ชังคานนท์) มีบุตร 1 คน คือ พันเอก วีรชาติ อุทยานานนท์
การทำงาน
แก้ตำแหน่งหน้าที่ราชการทหารที่สำคัญ
แก้- 7 เมษายน พ.ศ. 2481 – รองผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กองพันทหารรักษาวัง
- 5 เมษายน พ.ศ. 2483 – ผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กองพันทหารราบที่ 9 ทหารรักษาวัง
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 17
- 1 มกราคม พ.ศ. 2489 – ผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 11
- 2 ธันวาคม พ.ศ. 2490 – ผู้บังคับกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์
- 24 มกราคม พ.ศ. 2498 – ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
พลตรี ละม้าย เป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง ในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491 คือ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งตรงกับวันจักรี อันเป็นวันหยุดราชการ กลุ่มนายทหารจำนวน 4 คน ประกอบด้วย พันโท ก้าน จำนงภูมิเวท, พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ, พันเอก ขุนศิลป์ศรชัย และ พันโท ละม้าย อุทยานานนท์ ได้แต่งกายเต็มยศขัดกระบี่ถือปืนเข้าพบ ควง อภัยวงศ์ ที่บ้านพักในซอยตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ อ้างเหตุเรียกร้องให้ควงจ่ายเงินจำนวน 28 ล้านบาท อันเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางกลับจากเชียงตุง หลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายก่อนหน้านั้นแล้วจากกระทรวงการคลัง จำนวน 9 ล้านบาท แต่ควงไม่ยอมจ่าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างควงกับทหารกลุ่มนี้มาอยู่ก่อนแล้ว ที่ทำให้ก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่าจะเกิดการรัฐประหาร และที่สุดขอให้ควงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 24 ชั่วโมง โดยอ้างว่าคณะนายทหารที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั้น เห็นว่ารัฐบาลควงไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจของชาติที่ตกต่ำลงได้ โดยเฉพาะเรื่องค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นมาก จนที่สุดในเวลา 16.00 น. ที่ประชุมได้ร่างใบกราบบังคมทูลลาออกของควงเสร็จ และมีมติให้ ควงพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 เนื่องจากรัฐประหารครั้งนี้ กระทำเป็นการภายในใช้นายทหารเพียงไม่กี่คน โดยไม่มีการเคลื่ยนย้ายกำลังพลใด ๆ ทำให้ได้ชื่อว่า "รัฐประหารเงียบ" ซึ่งสื่อมวลชนในขณะนั้นเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น "การจี้นายกรัฐมนตรี"[2]
พลตรี ละม้าย อุทยานานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นอีก 3 วันได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[3] อยู่จนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ เข้ารับหน้าที่ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2495 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรอีกสมัย[4] ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2495 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง[5] แต่ก็ทำงานได้เป็นระยะเวลา 1 ปี ก็มีการปรับคณะรัฐมนตรี เขาจึงได้ทำหน้าที่ในกระทรวงเกษตรเพียงตำแหน่งเดียว
ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[6] อีกเป็นสมัยที่ 3 จนกระทั่งคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร
พลตรี ละม้าย เคยได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาทในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[7] สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา
พลตรี ละม้าย อุทยานานนท์ ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2507 สิริรวมอายุได้ 56 ปี 4 เดือน 17 วัน[8]
ยศและตำแหน่ง
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ละม้าย อุทยานานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[15]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[16]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[17]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[18]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[19]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[20]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ไต้หวัน:
- พ.ศ. 2497 – เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นที่ 2[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ หนังสือ นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2522)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการสหกรณ์ (นายพลตำรวจตรี ละม้าย อุทยานานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ อนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีละม้าย อุทยานานนท์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2509.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งนายตำรวจราชสำนัก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๕๑๑, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๖๔, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๑๔๑๒, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๖, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๒๕, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๔๐, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๑๖๒๓, ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๙๗