หลวงสวัสดิสรยุทธ (ดล บุนนาค)
พลเอก หลวงสวัสดิสรยุทธ (ดล บุนนาค)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร และอดีตแม่ทัพภาคที่ 3
หลวงสวัสดิสรยุทธ (ดล บุนนาค) | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2437 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ |
เสียชีวิต | 17 มีนาคม พ.ศ. 2528 (90 ปี) |
คู่สมรส | ผูก บุนนาค (เสียชีวิต 2472) หม่อมราชวงศ์เกื้อกมล บุนนาค |
ประวัติ
แก้หลวงสวัสดิ์สรยุทธ เป็นบุตรของหลวงสวัสดิโกษา (ชม) กับนางทรัพย์ (สกุลเดิม ศรีเพ็ญ) เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2437 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเข้ารับราชการเป็นนายทหารเหล่าทหารปืนใหญ่ และได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2459[2] ต่อมาเป็นปลัดกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลพบุรี เจ้ากรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ผู้บัญชาการกองพลที่ 3[3] แม่ทัพกองทัพที่ 2 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 4[4] ผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 2 แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 และผู้บัญชาการภาคทหารบก ที่ 3[5]
หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสวัสดิ์สรยุทธ ถือศักดินา 800 เมื่อ พ.ศ. 2472 และได้รับพระราชทานยศพลเอก เมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
พลเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (ดล บุนนาค) ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการพิเศษ ดังนี้ เป็นราชองครักษ์เวร ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษประจำกรมปืนใหญ่ ที่ 1 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2476 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง[6] พ.ศ. 2494 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2480 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง[7] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรมครั้งแรก และใน พ.ศ. 2500 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ครั้งที่ 2[8]
หลวงสวัสดิ์สรยุทธ ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2528 สิริรวมอายุ 90 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงสวัสดิสรยุทธ
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า 498)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-13. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/816.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/078/5387.PDF