สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
อดีตเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |
---|---|
จังหวัดพระนคร | |
จำนวนเขต | 1 |
เขตเลือกตั้งครั้งก่อน | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2476 |
ยุบเลิก | พ.ศ. 2514 |
ที่นั่ง | ประชาธิปัตย์ (15) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เล็ก นานา เกษม บุญศรี สมบุญ ศิริธร ธรรมนูญ เทียนเงิน ประชา บูรณธนิต ศิระ ปัทมาคม เสนาะ รักธรรม พิชัย รัตตกุล สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ดำรง ลัทธพิพัฒน์ เลขา อภัยวงศ์ ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม บุศรินทร์ ภักดีกุล |
ประวัติศาสตร์ แก้ไข
หลังจากประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงมีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 โดยการเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยจังหวัดพระนครมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก คือ พลโทพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) นายไต๋ ปาณิกบุตร และ ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) [1]
- นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากครั้งที่สุด คือ 4 สมัย ได้แก่ พันตรี ควง อภัยวงศ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีคนแรกของจังหวัดพระนคร คือ นางศิระ ปัทมาคม (จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512)
- ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด คือ
- เทพหัสดิน ณ อยุธยา (2 คน) ได้แก่ พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และพลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- โอสถานุเคราะห์ (2 คน) ได้แก่ ร้อยตำรวจเอก เสวียน โอสถานุเคราะห์ และร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
- อภัยวงศ์ (2 คน) ได้แก่ พันตรี ควง อภัยวงศ์ และคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์
- ปราโมช (2 คน) ได้แก่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
เขตการเลือกตั้ง แก้ไข
การเลือกตั้ง | เขตการเลือกตั้ง | จำนวน ส.ส. |
พ.ศ. 2476 | เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด | 3 คน (เขตละ 3 คน) |
พ.ศ. 2480 | · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอพระนคร, อำเภอสัมพันธวงศ์, อำเภอป้อมปราบ และอำเภอนางเลิ้ง · เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอดุสิต, อำเภอปทุมวัน, อำเภอบางรัก และอำเภอบ้านทะวาย · เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอพระโขนง, อำเภอบางกะปิ, อำเภอบางซื่อ, อำเภอบางเขน, อำเภอมีนบุรี, อำเภอหนองจอก และอำเภอลาดกระบัง |
3 คน (เขตละ 1 คน) |
พ.ศ. 2481 | · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอพระนคร, อำเภอสัมพันธวงศ์ และอำเภอป้อมปราบ · เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอดุสิต, อำเภอปทุมวัน, อำเภอบางรัก และอำเภอบ้านทะวาย · เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอพระโขนง, อำเภอบางกะปิ, อำเภอบางเขน, อำเภอมีนบุรี และอำเภอหนองจอก | |
พ.ศ. 2489 | · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอพระนครและอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย · เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอสัมพันธวงศ์, อำเภอบางรัก และอำเภอยานนาวา · เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอปทุมวันและอำเภอดุสิต · เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอบางกะปิ, อำเภอมีนบุรี และอำเภอหนองจอก · เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอบางเขน, อำเภอนนทบุรี และอำเภอปากเกร็ด · เขตเลือกตั้งที่ 6 : อำเภอพระโขนง, อำเภอพระประแดง, อำเภอสมุทรปราการ, อำเภอบางพลี และอำเภอบางบ่อ |
5 คน (เขตละ 1 คน) |
พ.ศ. 2491 | เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด | 4 คน (เขตละ 4 คน) |
พ.ศ. 2492 | ||
พ.ศ. 2495 | 6 คน (เขตละ 6 คน) | |
พ.ศ. 2500/1 | 9 คน (เขตละ 9 คน) | |
พ.ศ. 2500/2 | ||
พ.ศ. 2512 | 15 คน (เขตละ 15 คน) |
รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต แก้ไข
ชุดที่ 1; พ.ศ. 2476 แก้ไข
ชุดที่ 1 พ.ศ. 2476[2] |
พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) |
นายไต๋ ปาณิกบุตร |
ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) |
ชุดที่ 2–4; พ.ศ. 2480–2489 แก้ไข
เขต | ชุดที่ 2 พ.ศ. 2480 | ชุดที่ 3 พ.ศ. 2481 | ชุดที่ 4 เดือน มกราคม พ.ศ. 2489 | ชุดที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2489 เลือกตั้งเพิ่มเติม |
1 | พระยาโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันชิน) | ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) (เสียชีวิต) | นายโชติ คุ้มพันธ์ | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
นายโชติ คุ้มพันธ์ (แทนขุนสมาฯ) | ||||
2 | ร้อยตำรวจเอก เสวียน โอสถานุเคราะห์ | ร้อยโท ณเณร ตาละลักษณ์ (ขาดคุณสมบัติ) | พันตรี ควง อภัยวงศ์ | พระยาศรีวิสารวาจา |
นายเลื่อน พงษ์โสภณ (แทนร้อยโท ณเณร) | ||||
3 | นายอรุณ ทองปัชโชติ | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช | ร้อยตำรวจเอกภิเศก พรหมายน | |
4 | – | – | นายรังสฤษดิ์ เชาวนศิริ | ร้อยตำรวจเอก อภัย สงเคราะห์ราษฏร์ |
5 | – | – | ขุนชำนิอนุศาสน์ | นายประสาท สุขุม |
6 | – | – | – | นายดิเรก ชัยนาม (ลาออก) |
นายอรุณ พันธ์ฟัก (แทนนายดิเรก) |
ชุดที่ 5; พ.ศ. 2491–2492 แก้ไข
ชุดที่ | การเลือกตั้ง | เขตเลือกตั้งที่ 1 |
ชุดที่ 5 | พ.ศ. 2491 | พันตรี ควง อภัยวงศ์ |
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | ||
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ลาออก) | ||
พลโท ชิต มั่นศิลป์สินาดโยธารักษ์ (แทนหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์) | ||
ร้อยตำรวจเอก ภิเศก พรหมมายน | ||
พ.ศ. 2492 | ขุนปลดปรปักษ์ (เลือกตั้งเพิ่มเติม) | |
นายประพัฒน์ วรรณธนะสาร (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
ชุดที่ 7; พ.ศ. 2495 แก้ไข
ลำดับ | ชุดที่ 7 พ.ศ. 2495 |
1 | นายประพัฒน์ วรรณธนะสาร (เสียชีวิต/ไม่มีเลือกตั้งใหม่) |
2 | นายฉัตร ศรียานนท์ |
3 | พลโท ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์ (เสียชีวิต) |
นายจันโนทัย ฤกษสุต (แทนพลโทปลด) | |
4 | นายจินตะเสน ไชยาคำ |
5 | นายเพทาย อมาตยกุล |
6 | นายโชติ คุณะเกษม |
ชุดที่ 8–9; พ.ศ. 2500 แก้ไข
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- พรรคประชาธิปัตย์
- ไม่สังกัดพรรคการเมือง
ชุดที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | ชุดที่ 9 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2500 |
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม | หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ) |
พันตรี ควง อภัยวงศ์ | |
พลเอก เภา เพียรเลิศ | พลเรือตรี ชลิต กุลกำม์ธร |
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ | ร้อยโทถวิล ระวังภัย |
พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | นายสมบุญ ศิริธร |
นาวาโท พระประยุทธชลธี | |
พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ | นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย |
พลเอก มังกร พรหมโยธี | นาวาเอก หลวงศรีสาลีพิช |
พันเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ | พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ |
- | พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
- | พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
- | หลวงนรอัฎบัญชา (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
- | นายเล็ก นานา (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
- | นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
- | นายณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
- | นายเกษม บุญศรี (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
- | นายกมล จันทรสร (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
- | หลวงประกอบนิติสาร (เลือกตั้งเพิ่มเติม) |
ชุดที่ 10; พ.ศ. 2512 แก้ไข
ลำดับ | ชุดที่ 10 พ.ศ. 2512 |
1 | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
2 | นายเล็ก นานา |
3 | นายเกษม บุญศรี |
4 | นายสมบุญ ศิริธร |
5 | นายธรรมนูญ เทียนเงิน |
6 | พลตำรวจโท ประชา บูรณธนิต |
7 | นางศิระ ปัทมาคม |
8 | พลเรือเอก เสนาะ รักธรรม |
9 | นายพิชัย รัตตกุล |
10 | ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ |
11 | นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ |
12 | นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ |
13 | นาวาเอก ผัน เปรมมณี (เสียชีวิต) |
คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ (แทนนาวาเอกผัน) | |
14 | นายณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม |
15 | พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล |
รูปภาพ แก้ไข
-
พลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
-
นายโชติ คุ้มพันธ์
-
ร้อยโท ณ เณร ตาละลักษมณ์
-
นาวาอากาศเอก เลื่อน พงษ์โสภณ
-
พันตรี ควง อภัยวงศ์
-
พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
-
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
-
พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)
-
นายประสาท สุขุม
-
นายดิเรก ชัยนาม
-
พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์
-
พลโท ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภานุวัธน์
-
นายโชติ คุณะเกษม
-
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
-
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฏ์
-
พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
-
นาวาโท พระประยุทธชลธี (แป๊ วีราสา)
-
พลเอก มังกร พรหมโยธี
-
นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)
-
นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์
-
นายเกษม บุญศรี
-
นายเล็ก นานา
-
นายธรรมนูญ เทียนเงิน
-
นายพิชัย รัตตกุล
-
นายดำรง ลัทธพิพัฒน์
-
คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก จาก เว็บไซต์ สำนักข่าวออนไลน์อาร์วายทีไนน์
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1