อำเภอเมืองบุรีรัมย์

อำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย

เมืองบุรีรัมย์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นศูนย์กลางทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมของจังหวัด และเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน

อำเภอเมืองบุรีรัมย์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Buri Ram
ที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์
ที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์
คำขวัญ: 
เขากระโดงหินแกร่ง แหล่งรวมสกุณา พระพุทธยอดฟ้าประกาศิต สุภัทรบพิตรคู่เมือง ลือเลื่องวัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอเมืองบุรีรัมย์
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอเมืองบุรีรัมย์
พิกัด: 14°59′42″N 103°6′12″E / 14.99500°N 103.10333°E / 14.99500; 103.10333
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด718.235 ตร.กม. (277.312 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด220,843 คน
 • ความหนาแน่น307.48 คน/ตร.กม. (796.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 31000
รหัสภูมิศาสตร์3101
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ถนนจิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
โรงเรียนฮั้วเคี้ยว แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลอิสาณ
วัดกลางพระอารามหลวง
พื้นที่ตำบลในเมืองของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
ที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
ช้างอารีนา (อังกฤษ: Chang Arena, ชื่อเดิม: ไอ-โมบาย สเตเดียม) มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม (อังกฤษ: Thunder Castle Stadium) เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2447 ปัจจุบันมี นายวีระศักดิ์ พินิจ เป็นผู้อำนวยการ

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอเมืองบุรีรัมย์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

 
พระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปคู่เมืองของบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐฉาบปูนขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในเศียรบรรจุพระธาตุ จากจุดที่ตั้งขององค์พระสามารถมองเห็นทัศนียภาพของตัวเมืองบุรีรัมย์ได้
 
เขากระโดง สเตเดียม (อังกฤษ: Khao Kradong Stadium ) เป็นสนามเหย้าเดิมของ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ระหว่างปี พ.ศ. 2553–2554 มีความจุทั้งหมด 15,000 ที่นั่ง สนามนี้เคยเป็นสนามขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

ประวัติ

แก้

 จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในแถบนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ที่พบมากที่สุดคือหลักฐานทางวัฒนธรรมของขอมโบราณ ไม่ว่าจะเป็นทั้งปราสาทหิน ปราสาทอิฐต่างๆ หรือชิ้นส่วนโบราณวัตถุประเภทภาชนะ เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญจริงๆ ของบุรีรัมย์นั้นจะเริ่มประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายโดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมา เรียกว่า เมืองแปะ

ความเป็นมานั้นย้อนกลับไปได้ถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกรุงธนบุรี ครั้งนั้นพระยานางรองคบคิดเป็นกบฏร่วมกับเจ้าโอ, เจ้าอิน และอุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพไปปราบและจับตัวพระยานางรองประหารชีวิต จากนั้นสมทบกับเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมืองจำปาศักดิ์, เมืองโขง และเมืองอัตตะปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ, เจ้าอิน และอุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง, ตะลุง, สุรินทร์, สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอม และให้บุตรเจ้าเมืองผไทสมันต์แห่งพุทธไธสงขึ้นเป็นเจ้าเมืองคนแรก

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2440 - 2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า "บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ ในคราวนี้เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง" มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา จนกระทั่งสมัยปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็น อำเภอเมืองบุรีรัมย์[1]
  • วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2478 แยกพื้นที่ตำบลทะเมนชัย ตำบลตลาดโพธิ์ จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ และตำบลยางลาว (ตำบลโคกกลางในปัจจุบัน) จากอำเภอนางรอง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอลำปลายมาศ[2][3] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2479 จัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลในเมือง[4]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2481 ตั้งตำบลสตึก แยกออกจากตำบลดงพลอง ตั้งตำบลทุ่งวัง แยกออกจากตำบลดงพลอง ตั้งตำบลปะเคียบ แยกออกจากตำบลพระครู ตั้งตำบลร่อนทอง แยกออกจากตำบลปราสาท และตั้งตำบลหนองใหญ่ แยกออกจากตำบลปราสาท[5]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่ตำบลสตึก ตำบลทุ่งวัง ตำบลปะเคียบ ตำบลร่อนทอง ตำบลหนองใหญ่ และตำบลดงพลอง จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอสตึก[6] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
  • วันที่ 3 เมษายน 2482 ตั้งตำบลสะแกโพรง แยกออกจากตำบลบ้านบัว ตั้งตำบลเสม็ด แยกออกจากตำบลบ้านบัว ตำบลในเมือง และตำบลสวายจีก ตั้งตำบลกระสัง แยกออกจากตำบลสองชั้น และตำบลห้วยราช ตั้งตำบลลำดวน แยกออกจากตำบลห้วยราช ตั้งตำบลสามแวง แยกออกจากตำบลห้วยราช และตำบลบ้านยาง กับโอนพื้นที่หมู่ 19,20 (ในขณะนั้น) ของตำบลสวายจีก ไปขึ้นกับตำบลสองชั้น กับโอนพื้นที่หมู่ 1,7,18,19 (ในขณะนั้น) ของตำบลในเมือง ไปขึ้นกับตำบลบ้านบัว กับโอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลในเมือง และพื้นที่หมู่ 14 ของตำบลปราสาท ไปขึ้นกับตำบลบ้านยาง กับโอนพื้นที่หมู่ 1,5,23 (ในขณะนั้น) ของตำบลสวายจีก และพื้นที่หมู่ 8,9 ของตำบลบ้านยาง ไปขึ้นกับตำบลห้วยราช กับโอนพื้นที่หมู่ 1,22,24 (ในขณะนั้น) ของตำบลพระครู ไปขึ้นกับตำบลดงพลอง กิ่งอำเภอสตึก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ กับโอนพื้นที่หมู่ 19 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านบัว ไปขึ้นกับตำบลทะเมนชัย กิ่งอำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และตั้งตำบลลำปลายมาศ แยกออกจากตำบลทะเมนชัย[7]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลยางลาว กิ่งอำเภอลำปลายมาศ เป็น ตำบลโคกกลาง[8]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2490 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอสตึก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็น อำเภอลำปลายมาศ และ อำเภอสตึก[9]
  • วันที่ 24 พฤษภาคม 2492 ตั้งตำบลถลุงเหล็ก แยกออกจากตำบลพระครู ตั้งตำบลบ้านด่าน แยกออกจากตำบลปราสาท[10]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2497 แยกพื้นที่ตำบลกระสัง ตำบลลำดวน และตำบลสองชั้น อำเภอเมืองบุรีรัมย์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอกระสัง[11] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกระสัง ในท้องที่บางส่วนของตำบลกระสัง[12]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลเมืองไผ่ แยกออกจากตำบลกระสัง ตั้งตำบลชุมแสง แยกออกจากตำบลลำดวน[13]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็น อำเภอกระสัง[14]
  • วันที่ 9 พฤษภาคม 2504 ขยายเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล[15]
  • วันที่ 11 กันยายน 2505 ตั้งตำบลคูเมือง แยกออกจากตำบลพระครู[16]
  • วันที 19 มิถุนายน 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยราช ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้วยราช[17]
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน 2505 โอนพื้นที่หมู่ 14 (ในขณะนั้น) ของตำบลพระครู ไปตั้งเป็นหมู่ 10 ของตำบลคูเมือง[18] และเปลี่ยนแปลงเขตตำบลพระครูกับตำบลคูเมืองจากการโอนพื้นที่หมู่บ้าน
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2506 ตั้งตำบลตูมใหญ่ แยกออกจากตำบลถลุงเหล็ก[19]
  • วันที่ 20 เมษายน 2508 ตั้งตำบลหนองตาด แยกออกจากตำบลบ้านบัว และตำบลอิสาณ[20]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลหินเหล็กไฟ ในท้องที่บางส่วนของตำบลตูมใหญ่[21]
  • วันที่ 25 มิถุนายน 2511 โอนพื้นที่ตำบลปะเคียบ อำเภอสตึก ไปขึ้นกับ อำเภอเมืองบุรีรัมย์[22]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน 2512 แยกพื้นที่ตำบลคูเมือง ตำบลปะเคียบ และตำบลตูมใหญ่ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอคูเมือง[23] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
  • วันที่ 19 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลบ้านแพ แยกออกจากตำบลปะเคียบ ตั้งตำบลหินเหล็กไฟ แยกออกจากตำบลตูมใหญ่ ตั้งตำบลพรสำราญ แยกออกจากตำบลคูเมือง[24]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2515 ตั้งตำบลโนนขวาง แยกออกจากตำบลบ้านด่าน[25]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2518 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอคูเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็น อำเภอคูเมือง[26]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลตาเสา แยกออกจากตำบลสามแวง ตั้งตำบลลุมปุ๊ก แยกออกจากตำบลบ้านบัว ตั้งตำบลสองห้อง แยกออกจากตำบลสะแกโพรง[27]
  • วันที่ 23 กันยายน 2523 ตั้งตำบลบัวทอง แยกออกจากตำบลบ้านยาง[28]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลชุมเห็ด แยกออกจากตำบลอิสาณ[29]
  • วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลสนวน แยกออกจากตำบลสวายจีก[30]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลหลักเขต แยกออกจากตำบลสวายจีก[31]
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลวังเหนือ แยกออกจากตำบลปราสาท[32]
  • วันที่ 27 ธันวาคม 2531 ตั้งตำบลบ้านตะโก แยกออกจากตำบลห้วยราช[33]
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ตั้งตำบลสะแกซำ แยกออกจากตำบลเสม็ด[34]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 แยกพื้นที่ตำบลห้วยราช ตำบลสามแวง ตำบลตาเสา ตำบลบ้านตะโก และตำบลสนวน จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอห้วยราช[35] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
  • วันที่ 7 กันยายน 2533 ตั้งตำบลกลันทา แยกออกจากตำบลถลุงเหล็ก[36]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลกระสัง แยกออกจากตำบลบ้านบัว[37]
  • วันที่ 13 กันยายน 2534 ตั้งตำบลโคกเหล็ก แยกออกจากตำบลสามแวง[38]
  • วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2535 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ตำบลเสม็ด ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน[39] ตำบลห้วยราช ให้มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน[40] ตำบลบ้านบัว ให้มีเขตการปกครองรวม 27 หมู่บ้าน[41] ตำบลชุมเห็ด ให้มีเขตการปกครองรวม 18 หมู่บ้าน[42] ตำบลหนองตาด ให้มีเขตการปกครองรวม 18 หมู่บ้าน[43] ตำบลบ้านด่าน ให้มีเขตการปกครองรวม 18 หมู่บ้าน[44] ตำบลสะแกโพรง ให้มีเขตการปกครองรวม 19 หมู่บ้าน[45] ตำบลสวายจีก ให้มีเขตการปกครองรวม 16 หมู่บ้าน[46] ตำบลถลุงเหล็ก ให้มีเขตการปกครองรวม 18 หมู่บ้าน[47] ตำบลบ้านยาง ให้มีเขตการปกครองรวม 16 หมู่บ้าน[48] ตำบลสามแวง ให้มีเขตการปกครองรวม 18 หมู่บ้าน[49] ตำบลตาเสา ให้มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน[50] ตำบลปราสาท ให้มีเขตการปกครองรวม 15 หมู่บ้าน[51] ตำบลสองห้อง ให้มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน[52] ตำบลวังเหนือ ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน[53] ตำบลอิสาณ ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน[54] ตำบลบัวทอง ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน[55] ตำบลพระครู ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน[56] ตำบลโนนขวาง ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน[57] ตำบลลุมปุ๊ก ให้มีเขตการปกครองรวม 12 หมู่บ้าน[58] ตำบลสนวน ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน[59] ตำบลหลักเขต ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน[60] ตำบลบ้านตะโก ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน[61] และตำบลสะแกซำ ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน[62]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลเมืองฝาง แยกออกจากตำบลสองห้อง[63]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอห้วยราช อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็น อำเภอห้วยราช[64]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลเมืองโพธิ์ แยกออกจากตำบลตาเสา และตั้งตำบลห้วยราชา แยกออกจากตำบลห้วยราช[65]
  • วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลบ้านด่าน ตำบลปราสาท ตำบลวังเหนือ และตำบลโนนขวาง จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านด่าน[66] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
  • วันที 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบ้านด่าน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็น อำเภอบ้านด่าน[67]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลอิสาณ เป็น เทศบาลตำบลอิสาณ[68]
  • วันที่ 29 กันยายน 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหลักเขต เป็น เทศบาลตำบลหลักเขต[69]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลชุมเห็ด เป็น เทศบาลเมืองชุมเห็ด[70]
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบัว เป็น เทศบาลตำบลบ้านบัว[71]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาด เป็น เทศบาลตำบลหนองตาด[72]
 
ปราสาทเขากระโดงและพระพุทธบาทจำลอง ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟกระโดง เป็นศาสนสถาน สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย เดิมเป็นปรางค์หินทราย ก่อบนฐานศิลาแลงองค์เดียวโดดๆ ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 4×4 เมตร มีช่องทางเข้า 4 ด้าน ต่อมาหินพังหรือถูกรื้อลงมา มีผู้นำหินมาเรียงขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ตรงตามรูปแบบเดิม ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตระกูลสิงห์เสนีย์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองไว้ในองค์ปรางค์ แล้วสร้างมณฑปครอบทับ
  • วันที่ 6 กันยายน 2567 ยกฐานะเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็น เทศบาลนครบุรีรัมย์ พร้อมกับให้ยุบเทศบาลตำบลอิสาณ และรับพื้นที่บางส่วนของตำบลเสม็ด จากองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดให้ไปรวมกับพื้นที่เทศบาลนครบุรีรัมย์

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเมืองบุรีรัมย์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 19 ตำบล 323 หมู่บ้าน

 
แผนที่แสดงขอบเขตตำบลในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์
1. ในเมือง (Nai Mueang) -0
2. อิสาณ (Isan) -0
3. เสม็ด (Samet) 19 หมู่บ้าน
4. บ้านบัว (Ban Bua) 18 หมู่บ้าน
5. สะแกโพรง (Sakae Phrong) 26 หมู่บ้าน
6. สวายจีก (Sawai Chik) 19 หมู่บ้าน
7. บ้านยาง (Ban Yang) 19 หมู่บ้าน
8. พระครู (Phra Khru) 13 หมู่บ้าน
9. ถลุงเหล็ก (Thalung Lek) 16 หมู่บ้าน
10. หนองตาด (Nong Tat) 22 หมู่บ้าน
11. ลุมปุ๊ก (Lumpuk) 19 หมู่บ้าน
12. สองห้อง (Song Hong) 16 หมู่บ้าน
13. บัวทอง (Bua Thong) 15 หมู่บ้าน
14. ชุมเห็ด (Chum Het) 22 หมู่บ้าน
15. หลักเขต (Lak Khet) 14 หมู่บ้าน
16. สะแกซำ (Sakae Sam) 19 หมู่บ้าน
17. กลันทา (Kalantha) 13 หมู่บ้าน
18. กระสัง (Krasang) 19 หมู่บ้าน
19. เมืองฝาง (Mueang Fang) 16 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้
 
เขตเทศบาลในอำเภอเมืองบุรีรัมย์

ท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครบุรีรัมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองและตำบลอิสาณทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเสม็ด[73][74][75]
  • เทศบาลเมืองชุมเห็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมเห็ดทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหลักเขต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักเขตทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบัวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองตาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสม็ด (นอกเขตเทศบาลนครบุรีรัมย์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกโพรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะแกโพรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวายจีกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระครู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระครูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลถลุงเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถลุงเหล็กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุมปุ๊ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมปุ๊กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสองห้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองห้องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะแกซำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกลันทา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลันทาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระสังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองฝางทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-03-22. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอลำปลายมาศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ง): 3418–3419. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478
  3. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๓ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอลำปลายมาศ หน้า ๓๔๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ง): 3811. วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1206–1210. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3746–3747. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอสตึก ขึ้นอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3876. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 16–19. วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2482
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ก): 263–267. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01. วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2483
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (50 ง): 2661–2662. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30. วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2490
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (29 ง): 2237–2239. วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 71 (35 ง): 1314–1315. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-03-15. วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2497
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกระสัง กิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 27-28. วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอกบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลย์มังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2500
  14. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ง): 321–327. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501
  15. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (40 ก): 463–466. วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (84 ง): 1943–1946. วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2505
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (56 ง): 1405–1406. วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2505
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนเขตท้องที่หมู่บ้านและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (99 ง): 2318. วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอกระสัง และอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (20 ง): 487–496. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (32 ง): 1209–1212. วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2508
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหินเหล็กไฟ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (61 ง): 2333–2334. วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2509
  22. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสตึกและอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (57 ก): 395–397. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2511
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (99 ง): 3329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31. วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512
  24. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอคูเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (111 ง): 2850–2882. วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2514
  25. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอสตึก อำเภอนางรอง และอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (121 ง): 1983–1998. วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2515
  26. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (166 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518
  27. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอประโคนชัย อำเภอบ้านกรวด อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (192 ง): 4347–4369. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522
  28. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (147 ง): 3296–3313. วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2523
  29. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง อำเภอประโคนชัย กิ่งอำเภอปะคำ อำเภอละหานทราย กิ่งอำเภอหนองหงส์ อำเภอลำปลายมาศ และอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (137 ง): 3489–3508. วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2527
  30. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (150 ง): 3920–3925. วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2527
  31. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (219 ง): (ฉบับพิเศษ) 54-62. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2529
  32. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ประโคนชัย พุทไธสง ลำปลายมาศ บ้านกรวด และกิ่งอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (150 ง): 5581–5602. วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2530
  33. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (234 ง): (ฉบับพิเศษ) 52-57. วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531
  34. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 88-99. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532
  35. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (25 ง): 1353. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
  36. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (168 ง): (ฉบับพิเศษ) 53-68. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2533
  37. [1]"ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง และอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 143-156. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
  38. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองกี่ และกิ่งอำเภอห้วยราช อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (161 ง): (ฉบับพิเศษ) 50-63. วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2534
  39. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลเสม็ด]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-5. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  40. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลห้วยราช]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 6-10. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  41. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลบ้านบัว]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 11-16. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  42. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลชุมเห็ด]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 17-22. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  43. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลหนองตาด]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 23-27. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  44. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลบ้านด่าน]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 28-33. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  45. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลสะแกโพรง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 34-39. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  46. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลสวายจีก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 40-45. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  47. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลถลุงเหล็ก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 46-52. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  48. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลบ้านยาง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 53-58. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  49. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลสามแวง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 59-64. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  50. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลตาเสา]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 65-70. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  51. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลปราสาท]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 71-75. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  52. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลสองห้อง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 76-79. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  53. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลวังเหนือ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 80-83. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  54. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลอิสาณ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 84-88. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  55. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลบัวทอง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 89-92. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  56. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลพระครู]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 93-97. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  57. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลโนนขวาง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 98-103. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  58. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลลุมปุ๊ก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 104-108. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  59. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลสนวน]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 109-113. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  60. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลหลักเขต]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 114-117. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  61. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลบ้านตะโก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 118-122. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  62. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ [ตำบลสะแกซำ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 123-126. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
  63. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 68-76. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
  64. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31. วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538
  65. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอประโคนชัย อำเภอสตึก และกิ่งอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 111–133. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
  66. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านด่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 18 ง): 31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
  67. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  68. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล อิสาณ เป็น เทศบาลตำบล". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  69. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล หลักเขต เป็น เทศบาลตำบลหลักเขต". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552
  70. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลชุมเห็ด เป็น เทศบาลเมืองชุมเห็ด". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  71. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบัว เป็น เทศบาลตำบลบ้านบัว". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  72. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาด เป็น เทศบาลตำบลหนองตาด". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  73. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบเลิกเทศบาลตำบลอิสาณ รับพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดมารวมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์" (PDF). ratchakitcha. กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.
  74. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แยกพื้นที่บางส่วนไปรวมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ratchakitcha. กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.
  75. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์" (PDF). ratchakitcha. กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.