โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม

โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2447[2] ปัจจุบันมี นายวีระศักดิ์ พินิจ เป็นผู้อำนวยการ

โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
ละติน: BuriramPitthayakhom School[1]
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.พ. / BPS
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญซื่อสัตย์ พัฒนา สามัคคี มีวินัย
นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี)
ก่อตั้ง1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (120 ปี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์
รหัส1031260846
ผู้อำนวยการนายวีระศักดิ์ พินิจ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
รองผู้อำนวยการนางญาดา ยุพานวิทย์
นางปณาลี คำมณี
นางชุติมันต์ โกรัมย์
นางสุธีรา วรรธนปิยกุล
ชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน

ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ

ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีน ภาษาจีนกลาง
สี  น้ำเงิน
  ชมพู
เพลงมาร์ชบุรีรัมย์พิทยาคม
ลา บ.พ.
เบอร์โทรศัพท์044-611098
แฟกซ์044-612888
พันธุ์ไม้สน
เว็บไซต์www.brp.ac.th

ประวัติ

แก้

โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จัดตั้งเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 เคยเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในเวลาต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้มีแยกโรงเรียนหญิงล้วนออกมา โดยตั้งชื่อว่า "โรงเรียนสตรีศรีบุรีรัมย์" ส่วนโรงเรียนชายก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัย" ในปี พ.ศ. 2491 สุดท้ายในปี พ.ศ. 2515 ได้ยุบ "โรงเรียนสตรีศรีบุรีรัมย์" รวมกับ "โรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัย" และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม[2]

สถานที่ภายในโรงเรียน

แก้
 
อาคาร 10 และพื้นที่พลศึกษา
  • อาคาร 1 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ห้องเรียนกลุ่มงานแนะแนว และศูนย์อาเซียนศึกษา
  • อาคาร 2 เป็นอาคาร 3 ชั้น ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันกับอาคาร 1 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • อาคาร 3 เป็นอาคาร 3 ชั้น ในชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และในชั้นที่ 2 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • อาคาร 4 เป็นอาคาร 3 ชั้น ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันกับอาคาร 3 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • อาคาร 5 หรือ อาคารอำนวยการ เป็นอาคาร 3 ชั้น ในชั้นที่ 1 จัดเป็นห้องทำงานของฝ่ายบริหารต่าง ๆ และในชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • อาคาร 6 หรือ อาคารปัญญาวิวัตร เป็นอาคาร 4 ชั้น ในชั้นที่ 1 จัดเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ(HCEC) และห้องประชุมเคียงสน ในชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องซ้อมดนตรี และในชั้นที่ 4 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และห้องเรียนพิเศษนานาชาติ(IP)
  • อาคาร 7 เป็นอาคารชั้นเดียวชั่วคราว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • อาคาร 8 เป็นอาคารชั้นเดียวชั่วคราว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
  • อาคาร 9 หรือ อาคารโรงเรียนบุรีรัมย์วิทยาลัย เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ในชั้นที่ 1 จัดเป็นที่ทำการของกรมนักศึกษาวิชาทหารโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ชมรมพฤฒาจารย์ และห้องเกียรติยศ ในชั้นที่ 2 จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นอาคารที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2556 ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด "ประดับธงชาติอาคารเรียน" จากนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันได้รับการยกย่องเป็น อาคารเกียรติยศศักดิ์ศรีบุรีรัมย์พิทยาคม
  • อาคาร 10 เป็นอาคาร 5 ชั้น ในชั้นที่ 1 จัดเป็นโรงอาหาร 3 และธนาคารโรงเรียน ในชั้นที่ 2 จัดเป็นห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์(SMT และ SMTE) ในชั้นที่ 3 จัดเป็นห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ(EP และ IEP) ในชั้นที่ 4 จัดเป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และในชั้นที่ 5 จัดเป็นสนามเทเบิลเทนนิส
  • อาคารโลหะ บริเวณข้างอาคารไฟฟ้าช่างยนต์
  • อาคารไฟฟ้าช่างยนต์ บริเวณข้างอาคารโลหะ
  • อาคารงานไม้ บริเวณตรงข้ามอาคาร 8
  • อาคารเขียนแบบ บริเวณข้างอาคารงานไม้
  • อาคารดนตรีไทย บริเวณหลังอาคาร 6
  • อาคารดนตรีสากล บริเวณข้างอาคาร 7
  • อาคารประชาสัมพันธ์ หรือ อาคารอนุวรรตน์ 90 ปี บริเวณตรงข้ามโรงอาหาร 1 ข้างอาคาร 9
  • อาคารฝ่ายส่งเสริมพฤติกรรมนักเรียน ตัวอาคารเชื่อมกับโรงอาหาร 2 บริเวณข้างอาคารประชาสัมพันธ์
  • ห้องฝ่ายบริหาร บริเวณใต้อาคาร 5
  • ห้องประชุมเครือข่ายไร้พรมแดน อยู่ใต้อาคาร 5
  • ห้องผู้อำนวยการโรงเรียน อยู่ใต้อาคาร 5
  • โรงพลศึกษาเก่า บริเวณข้างอาคาร 10
  • อาคารเกษตร อยู่ข้างสวนวรรณคดี
  • โรงอาหาร 1 อยู่ข้างโดมเอนกประสงค์ หน้าอาคารประชาสัมพันธ์
  • โรงอาหาร 2 ตัวอาคารเชื่อมกับอาคารฝ่ายส่งเสริมพฤติกรรมนักเรียน อยู่ระหว่างอาคาร 5 และอาคาร 9 บริเวณหน้าอาคาร 10
  • โรงอาหาร 3 อยู่ชั้นล่างของอาคาร 10
  • ร้านค้าสวัสดิการและศูนย์ถ่ายเอกสาร อยู่ระหว่างเรือนพยาบาล และอาคาร 2 บริเวณหน้าอาคารดนตรีสากล
  • เรือนพยาบาล อยู่ข้างอาคาร 1
  • ศาลาทรงไทย อยู่ข้างโรงพลศึกษาเก่า
  • ศาลาเคียงสน อยู่ข้างโรงอาหาร 1
  • ศาลา 8 เหลี่ยม อยู่ข้างสวนธรรมะ
  • สวนธรรมะ อยู่ระหว่างโดมเอนกประสงค์ และอาคาร 4
  • สวนวรรณคดี อยู่ข้างอาคาร 3
  • สนามกีฬา อยู่ข้างอาคาร 9
  • สนามเปตอง อยู่หลังอาคาร 9
  • สนามฟุตซอล
  • สนามวอลเลย์บอล
  • โดมเอนกประสงค์ อยู่ระหว่างโรงอาหาร 1 และสวนธรรมะ ได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2556
  • หอประชุมทิวสน อยู่ข้างสวนธรรมะ
  • ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก อยู่ใต้หอประชุมทิวสน
  • โรงปรับซ่อม บริเวณหลังอาคาร 1
  • ป่าไม้อนุรักษ์ อยู่บริเวณหลังอาคารเกษตร

แผนการเรียน

แก้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (SMTE)
  • ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (EP)
  • ห้องเรียนพิเศษนานาชาติ (IP)
  • ห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ
  • ห้องเรียนหลักสูตรปกติ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (SMTE)
  • ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ (IEP)
  • ห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนศิลป์-ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ
  • แผนการเรียนศิลป์-ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนศิลป์-ภาษาฝรั่งเศส
  • แผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น
  • แผนการเรียนศิลป์-ภาษาจีน

คณะสีของโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม

แก้

โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม เป็นโรงเรียนที่ตั้งชื่อคณะสีตามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ในอดีต โดยจะมีการประกาศคณะสีของนักเรียนในวันปฐมนิเทศของนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 โดยจะอยู่ในคณะสีนั้นยาวนาน 3 ปี ตลอดการเรียนในแต่ละช่วงชั้น มีคณะสีทั้งหมด 6 คณะสี ในแต่ละปีจะมีกีฬาสีภายในประจำปีของโรงเรียน ภายใต้ชื่อ ทิวสนเกมส์ โดยมีการแข่งขันกีฬา ขบวนพาเหรด การแข่งขันแสตนเชียร์และเชียร์หลีดเดอร์ และการแข่งขันการเต้น Cover Dance

  • ██ คณะนครภักดี (สีเหลือง)
  • ██ คณะรังสรรค์สารกิจ (สีแสด)
  • ██ คณะพิทักษ์สมุทรเขต (สีเขียว)
  • ██ คณะประเสริฐสุนทราศรัย (สีฟ้า)
  • ██ คณะสุนทรเทพกิจจารักษ์ (สีม่วง)
  • ██ คณะกล้ากลางสมร (สีแดง)

รายชื่อผู้อำนวยการ

แก้
อันดับ รายนาม วาระดำรงตำแหน่ง
1 นายเจ๊ก สุขปัญญา พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2459
2 นายดี อ้นปัน พ.ศ. 2460 - พ.ศ. 2465
3 ขุนคงฤทธิ์ศึกษากร พ.ศ. 2466 - พ.ศ. 2472
4 นายเลื่อน สุวรรณาคร พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2473
5 นายทิม ภูริพัฒน์ พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2476
6 นายสุข จำลองกุล พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2477
7 นายสิน ภักดีพิพัฒน์ พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2480
8 นายระบิล แสงชัย พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2484
9 นายโกวิท ต่อวงศ์ พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2486
10 นายผ่อน ชีวะประเสริฐ พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2492
11 นายสำเภา วงศ์อิน พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2497
12 นายเสถียร โพพิพัฒน์ พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2500
13 นายสเริง วัฒนสุข พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2509
14 นายทรงยศ พงษ์พรต พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2519
15 นายกิตติ นรัฐกิจ พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2530
16 นายพีรพันธุ์ ฉกรรจ์ศิลป์ พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2532
17 นายอุดร มหาเมฆ พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2535
18 นางสาวปรีดา เชื้อตระกูล พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2535
19 นายอุทัย นิวัฒนวงศ์ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536
20 นายบุญช่วย บุญญะภานุพล พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2540
21 นายวุฒิพงศ์ คงเสนา พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543
22 นายประกิจ แมนประโคน พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546
23 นายธงชัย นิยโมสถ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551
24 นายวิฑูรย์ วงศ์อิน พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2554
25 นายสมศักดิ์ แต้มโคกสูง พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558
26 นายปัณณฑัต วิวัตรชัย พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562
27 ว่าที่พันตรี ดร.สุพจน์ ธนานุกูล พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566
28 นายวีระศักดิ์ พินิจ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เว็บไซต์โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
  2. 2.0 2.1 "ประวัติโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2013-07-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

15°00′11″N 103°06′16″E / 15.003013°N 103.104308°E / 15.003013; 103.104308