เทศบาลเมืองชุมเห็ด

เทศบาลเมืองในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย

เทศบาลเมืองชุมเห็ด เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ทางด้านทิศเหนือของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองเมื่อในช่วงกลางปี พ.ศ. 2555 โดยมีลักษณะเป็นเมืองปริมณฑลที่รองรับการขยายตัวของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ในปัจจุบัน เมืองชุมเห็ด กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์

เทศบาลเมืองชุมเห็ด
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองชุมเห็ด
ตรา
ทม.ชุมเห็ดตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
ทม.ชุมเห็ด
ทม.ชุมเห็ด
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองชุมเห็ด
พิกัด: 15°00′56″N 103°05′59″E / 15.01556°N 103.09972°E / 15.01556; 103.09972
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
อำเภอเมืองบุรีรัมย์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสมศักดิ์ แมนไธสง
พื้นที่
 • ทั้งหมด46 ตร.กม. (18 ตร.ไมล์)
ความสูง160 เมตร (520 ฟุต)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด21,299 คน
 • ความหนาแน่น463.02 คน/ตร.กม. (1,199.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04310107
เว็บไซต์chumhed.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองชุมเห็ดได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลชุมเห็ดเป็นเทศบาลเมืองชุมเห็ดในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภูมิศาสตร์

แก้

ลักษณะที่ตั้ง

แก้

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงโดยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 150 – 180 เมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 46 ตารางกิโลเมตร หรือ 28,750 ไร่ โดยมีที่ทำการตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร

ลักษณะทรัพยากรธรรมชาติ

แก้

สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินชุดร้อยเอ็ด ดินบางส่วนเป็นดินชุดโคราช และดินชุดสตึก

ตำบลชุมเห็ดไม่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ ต้องอาศัยแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น แหล่งน้ำใต้ดิน และน้ำจากลำห้วย ทั้ง 4 สาย ได้แก่

  1. ลำห้วยโกรกขี้หนู ไหลผ่าน หมู่ที่ 3,8,10,14,20,21
  2. ลำห้วยชุมเห็ด ไหลผ่าน หมู่ที่ 2,4,7,9,10,11,16,17,19
  3. ลำห้วยชุมแสง ไหลผ่าน หมู่ที่ 5,9,15
  4. ลำห้วยลุง ไหลผ่าน หมู่ที่ 3,4,5,11,15,17

ลักษณะสภาพแวดล้อม

แก้

พื้นที่เทศบาลเมืองชุมเห็ด มีลักษณะผสมผสานระหว่างสภาพสังคมเมืองและชนบทประกอบกับมีพื้นที่ติดกับเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จึงมีความเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ซึ่งความเจริญเติบโตดังกล่าวหากไม่มีมาตรการควบคุมที่ถูกต้องย่อมจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนได้

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การคมนาคม

แก้

การคมนาคมติดต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้านใช้การคมนาคมทางบกโดยทางรถยนต์เป็นหลักในการติดต่อและขนส่งผลิตผลทางการเกษตร โดยมีเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้

โทรคมนาคม

แก้

แม้การให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานยังไม่ทั่วถึงแต่จากการที่ประชาชนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กันอย่างแพร่หลาย และเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบล ทำให้การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว

การไฟฟ้า

แก้

อยู่ใกล้ตัวเมืองและมีสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ในพื้นที่ทำให้สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุมแทบทุกหลังคาเรือน

ด้านสาธารณสุข

แก้

ด้านการศึกษา

แก้

สถานศึกษา จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย

เศรษฐกิจ

แก้

ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาข้าว แต่โดยศักยภาพด้านพื้นที่ที่อยู่ชานเมืองติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดทำให้การขยายตัวด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและการบริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว

  • ด้านการอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายแห่ง อาทิเช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า, โรงงานยาสูบ, โรงงานทำคอนกรีต, โรงงานผลิตน้ำดื่ม และโรงงานผลิตไอศกรีม เป็นต้น
  • ด้านพาณิชย์ มีการประกอบกิจการด้านการพาณิชยกรรมและการบริการจำนวนมาก อาทิเช่น โรงพยาบาลเอกชนบุรีรัมย์, ธุรกิจบ้านจัดสรร, ธุรกิจโรงแรมที่พัก, ภัตตาคาร, ร้านอาหาร และสถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น
  • ด้านเกษตร ปัจจุบันราษฎรส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาข้าว แต่พื้นที่บางส่วนได้ทดแทนโดยภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจที่พักอาศัย เช่น โรงงานผลิตน้ำดื่ม และบ้านจัดสรร เป็นต้น

ประชากรและการปกครอง

แก้

เทศบาลเมืองชุมเห็ด มีประชากรตามสำเนาทะเบียนบ้านทั้งสิ้น 20,193 คน แยกเป็นชาย 9,979 คน หญิง 10214 คน จำนวน 6,611 หลังคาเรือน [2]

ประกอบด้วย 22 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านรังกา
  • หมู่ที่ 2 บ้านมะค่า
  • หมู่ที่ 3 บ้านโกรกขี้หนู
  • หมู่ที่ 4 บ้านตราดตรวน
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองไผ่น้อย
  • หมู่ที่ 6 บ้านหนองไผ่ใหญ่
  • หมู่ที่ 7 บ้านเล็บเหยี่ยว
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองม่วง
  • หมู่ที่ 9 บ้านกุง
  • หมู่ที่ 10 บ้านหนองตราดน้อย
  • หมู่ที่ 11 บ้านชุมเห็ด
  • หมู่ที่ 12 บ้านโคกเพ็ก
  • หมู่ที่ 13 บ้านยายอ่อน
  • หมู่ที่ 14 บ้านหนองถนน
  • หมู่ที่ 15 บ้านสระขี้ตุ่น
  • หมู่ที่ 16 บ้านฟันปลา
  • หมู่ที่ 17 บ้านชุมทอง
  • หมู่ที่ 18 บ้านหมื่นพิทักษ์
  • หมู่ที่ 19 บ้านเมืองใหม่
  • หมู่ที่ 20 บ้านโกรกขี้หนูใหม่
  • หมู่ที่ 21 บ้านหนองไทรงาม
  • หมู่ที่ 22 บ้านพรหมนิมิต

ด้านการศาสนาและวัฒนธรรม

แก้

ราษฎรส่วนใหญ่ร้อยละ 95 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่นร้อยละ 1 มีศาสนสถานที่สำคัญ ดังนี้

อ้างอิง

แก้
  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ตำบลชุมเห็ด ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ข้อมูลสรุปประชากรในตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://stat.bora.dopa.go.th/xstat/p5431_01.html
  • ข้อมูลสรุปประชากรในตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2555 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://stat.bora.dopa.go.th/xstat/p5431_01.html

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้