อำเภอห้วยราช
ห้วยราช เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นอำเภอที่อยู่ใกล้กับอำเภอเมืองบุรีรัมย์มากที่สุด และเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน
อำเภอห้วยราช | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Huai Rat |
ถนนสายหนึ่งในอำเภอห้วยราช | |
คำขวัญ: ข้าวหอมมะลิดี มากมีวัฒนธรรม เลิศล้ำผ้าไหม มหกรรมไทยว่าวอีสาน | |
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอห้วยราช | |
พิกัด: 14°57′36″N 103°11′18″E / 14.96000°N 103.18833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 182.12 ตร.กม. (70.32 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 37,563 คน |
• ความหนาแน่น | 206.25 คน/ตร.กม. (534.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 31000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3116 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอห้วยราช ตำบลห้วยราช อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอห้วยราชมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสตึก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกระสัง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกระสังและอำเภอเมืองบุรีรัมย์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์และอำเภอบ้านด่าน
ประวัติ
แก้ท้องที่อำเภอห้วยราชเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลห้วยราช ตำบลบ้านยาง และตำบลสวายจีก ของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ เดิมตำบลห้วยราชมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอห้วยราชและอำเภอกระสัง[1] ในปัจจุบันเกือบทั้งหมด พื้นเพเดิมของชาวบ้านเป็นชาวไทยที่มีภาษาเขมรเป็นภาษาท้องถิ่น และต่อมาได้มีราษฎรอพยพมาจากท้องถิ่นอื่นและจังหวัดใกล้เคียง ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะมีพื้นเพเดิมเป็นชาวไทยเขมร พูดภาษาไทยเขมร แต่ก็ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกับประชาชนส่วนใหญ่ของภาคอีสานทั่วไป
เมื่อปี พ.ศ. 2532 ทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรในพื้นที่รวม 5 ตำบล ได้พิจารณาว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ แนวโน้มมีความเจริญในอนาคต และความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ จังหวัด สภาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกระทรวงมหาดไทย จึงได้ประกาศเขตท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์แยกพื้นที่ตำบลห้วยราช ตำบลสามแวง ตำบลตาเสา ตำบลบ้านตะโก และตำบลสนวน ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอห้วยราช[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน
ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ยกฐานะกิ่งอำเภอแห่งนี้ขึ้นเป็น อำเภอห้วยราช[3] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ปีเดียวกัน
- วันที่ 3 เมษายน 2482 ตั้งตำบลกระสัง แยกออกจากตำบลสองชั้น และตำบลห้วยราช ตั้งตำบลลำดวน แยกออกจากตำบลห้วยราช และตั้งตำบลสามแวง แยกออกจากตำบลห้วยราช และตำบลบ้านยาง[1] กับโอนพื้นที่หมู่ 1,5,23 (ในขณะนั้น) ของตำบลสวายจีก และพื้นที่หมู่ 8,9 ของตำบลบ้านยาง มาขึ้นกับตำบลห้วยราช
- วันที 19 มิถุนายน 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยราช ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้วยราช[4]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลตาเสา แยกออกจากตำบลสามแวง[5]
- วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลสนวน แยกออกจากตำบลสวายจีก[6]
- วันที่ 27 ธันวาคม 2531 ตั้งตำบลบ้านตะโก แยกออกจากตำบลห้วยราช[7]
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 แยกพื้นที่ตำบลห้วยราช ตำบลสามแวง ตำบลตาเสา ตำบลบ้านตะโก และตำบลสนวน จากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอห้วยราช[2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
- วันที่ 13 กันยายน 2534 ตั้งตำบลโคกเหล็ก แยกออกจากตำบลสามแวง[8]
- วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2535 กำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอห้วยราช โดยกำหนดให้ตำบลห้วยราช มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน[9] ตำบลสามแวง มีเขตการปกครองรวม 18 หมู่บ้าน[10] ตำบลตาเสา มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน[11] ตำบลสนวน มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน[12] และตำบลบ้านตะโก มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน[13]
- วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะกิ่งอำเภอห้วยราช อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็น อำเภอห้วยราช[3]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลเมืองโพธิ์ แยกออกจากตำบลตาเสา และตั้งตำบลห้วยราชา แยกออกจากตำบลห้วยราช[14]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลห้วยราช เป็นเทศบาลตำบลห้วยราช[15] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 17 กันยายน 2546 ยุบสภาตำบลห้วยราชา รวมกับเทศบาลตำบลห้วยราช[16] และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอห้วยราชแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ห้วยราช | (Huai Rat) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
2. | สามแวง | (Sam Waeng) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
3. | ตาเสา | (Ta Sao) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
4. | บ้านตะโก | (Ban Tako) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
5. | สนวน | (Sanuan) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
6. | โคกเหล็ก | (Khok Lek) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
7. | เมืองโพธิ์ | (Mueang Pho) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
8. | ห้วยราชา | (Huai Racha) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอห้วยราชประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลห้วยราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยราชาทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลห้วยราช
- เทศบาลตำบลโคกเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเหล็กทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสามแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามแวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยราช (นอกเขตเทศบาลตำบลห้วยราช)
- องค์การบริหารส่วนตำบลตาเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาเสาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตะโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านตะโกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสนวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์ทั้งตำบล
การคมนาคม
แก้อำเภอห้วยราชมีจุดจอดรถไฟทั้งหมด 1 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟห้วยราช ซึ่งเป็นสถานีประจำอำเภอและมีขบวนรถไฟหยุดรับ - ส่งผู้โดยสารทั้งหมด 16 ขบวน/วัน
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 16–19. วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2482
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (25 ง): 1353. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. August 8, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (56 ง): 1405–1406. June 19, 1962.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอประโคนชัย อำเภอบ้านกรวด อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (192 ง): 4347–4369. November 20, 1979.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (150 ง): 3920–3925. October 23, 1984.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (234 ง): (ฉบับพิเศษ) 52-57. December 27, 1988.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองกี่ และกิ่งอำเภอห้วยราช อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (161 ง): (ฉบับพิเศษ) 50-63. September 13, 1991.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 6-10. February 7, 1992.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 59-64. February 7, 1992.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 65-70. February 7, 1992.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 109-113. February 7, 1992.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (21 ง): (ฉบับพิเศษ) 118-122. February 7, 1992.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอประโคนชัย อำเภอสตึก และกิ่งอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 111–133. November 14, 1995.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกายุบรวมสภาตำบลห้วยราชากับเทศบาลตำบลห้วยราช และกำหนดเขตเทศบาลตำบลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (87 ก): 1–3. September 17, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.