คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 26
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 ของไทย (21 มีนาคม พ.ศ. 2500 - 16 กันยายน พ.ศ. 2500)
คณะรัฐมนตรีแปลก 8 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
มีนาคม - กันยายน พ.ศ. 2500 | |
วันแต่งตั้ง | 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 |
วันสิ้นสุด | 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (0 ปี 169 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคเสรีมนังคศิลา (85) |
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลเสียงข้างมาก 85 / 160 |
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 25 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 27 |
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2500[1]
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ
พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 ของไทย
แก้ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[2]
- จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พันเอก นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
- พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงษ์ ลัดพลี) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- พลตรี ศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
- จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- พันตรี รักษ์ ปันยารชุน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พลตำรวจตรี ละม้าย อุทยานานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
- พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลตรี ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พันเอก หลวงบุรกรรมโกวิท (ล้อม บุรกรรมโกวิท) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายเลียง ไชยกาล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พลเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (ดล บุนนาค) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- พลตรี เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ขุนคงฤทธิศึกษากร (ปาน คงฤทธิ์ศึกษากร) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสุรพงษ์ ตรีรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- นายยศ อินทรโกมาลย์สุต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
- นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายชื่น ระวิวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 ของไทย
แก้รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 เมษายน และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน นโยบายของรัฐบาลคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2500 เล่ม 74 ตอน 36 หน้า 931
การปรับคณะรัฐมนตรี
แก้- วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 คณะรัฐมนตรีมีการแต่งตั้งเปลี่ยนแปลง คือ พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[3]
- วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2500 รัฐมนตรีดังต่อไปนี้ได้ขอกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง[4]
- จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลตรี ศิริ สิริโยธิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
- พลโท ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลโท ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
และในวันเดียวกันมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์อีก 2 ตำแหน่ง[5]
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 ของไทย
แก้- คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (จอมพล แปลก พิบูลสงคราม สมัยที่ ๖)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร (พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร) เล่ม 74 ตอน 69ก วันที่ 20 สิงหาคม 2500
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลตรี ศิริ สิริโยธิน พลโท ถนอม กิตติขจร พลโท ประภาส จารุเสถียร พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ลาออก แต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ๒ ตำแหน่ง)