ขุนคงฤทธิศึกษากร (ปาน คงฤทธิ์ศึกษากร)

ว่าที่รองอำมาตย์ตรี[1] ขุนคงฤทธิศึกษากร[2][3][4][5] นามเดิม ปาน ณรงค์ฤทธิ์[6] เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 6 สมัย

ขุนคงฤทธิศึกษากร
(ปาน คงฤทธิ์ศึกษากร)
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่หนึ่ง
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2498 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่สอง
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน พ.ศ. 2497 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2498
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มกราคม พ.ศ. 2442
เสียชีวิต26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 (70 ปี)
คู่สมรสเที่ยง คงฤทธิศึกษากร
บุตร4 คน

ประวัติ

แก้

ขุนคงฤทธิศึกษากร นามเดิม ปาน ณรงค์ฤทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2442 เป็นชาวอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายคนเดียวของ หลวงฤทธิณรงค์ (สง ณรงค์ฤทธิ์) กับ นางฤทธิณรงค์ (น้อย ณรงค์ฤทธิ์)[7]

ขุนคงฤทธิศึกษากร สมรสกับ นางคงฤทธิศึกษากร (เที่ยง คงฤทธิศึกษากร) มีบุตร 3 คน

การทำงาน

แก้

ขุนคงฤทธิศึกษากร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สมัยแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2491 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี[8][9] ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึงปี พ.ศ. 2500

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ได้รับเลือกตั้ง[10]ในสังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[11][12] ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และได้รับเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้งปีเดียวกัน[13] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศพลเรือน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๐๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ออกประทวนบรรดาศักดิ์ตั้งข้าราชการ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๖๙, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๑๙ ง หน้า ๕๘๐, ๒๔ มีนาคม ๒๔๘๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกลับมีบรรดาศักดิ์, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๔๐๔, ๒๐ มีนาคม ๒๔๘๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๙๖๒, ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศเสือป่า, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๗๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๖๗
  7. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนคงฤทธิศึกษากร ม.ป.ช. ป.ม. อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๑๖ มีนาคม 2513
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  9. "คณะที่ 22 - The Secretariat of the Cabinet, THAILAND". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.
  10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  11. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  12. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.
  13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๒, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำตักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๖๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๙๒, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๐, ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๑๗๐๒, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๖