นายชื่น ระวิวรรณ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอดีตรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย 6 สมัย

ชื่น ระวิวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม – 8 เมษายน พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 ธันวาคม พ.ศ. 2457
เสียชีวิต12 ตุลาคม พ.ศ. 253712 ตุลาคม พ.ศ. 2537 (79 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทย

การทำงาน แก้

ชื่น ระวิวรรณ เข้าสู่งานการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย และได้รับเลือกตั้งอีก 4 สมัยต่อเนื่องมา คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[1] (สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500[2] และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 (สังกัดพรรคสหประชาไทย)

ชื่น ระวิวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] โดยมีพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และสิ้นสุดลง เนื่องจากคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร

ในปี พ.ศ. 2501 ชื่น ระวิวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร สั่งราชการกระทรวงเกษตร[4] ต่อมาในเดือนเมษายนของปีเดียวกันจึงปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[5] ซึ่งมีนายวิบูลย์ ธรรมบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และสิ้นสุดลง เพราะนายกรัฐมนตรีกราบถวายบังคมลาออก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และในวันนั้นเองได้มีคณะปฏิวัติอันมี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้า ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ และสถาบันทั้งหลายอยู่ในความควบคุมของคณะปฏิวัติตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป[6]

ชื่น ระวิวรรณ กลับสู่การเมืองอีกครั้ง โดยได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ในนามพรรคชาติไทย

นายชื่น มีบุตรชายได้แก่ พิชัย ระวิวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 14 และบุตรีได้แก่ ทองมาก รามสูตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 12

สถานที่ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  4. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรัฐมนตรีสั่งราชการ
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (นายเสวตร เปี่ยมพงษ์สานต์ นายชื่น ระวิวรรณ พลตรี เนตร เขมะโยธิน นายทิม ภูริพัฒน์ นายอารีย์ ตันติเวชกุล)
  6. ครม.28[ลิงก์เสีย]
  7. "ข่าวประชาสัมพันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-24. สืบค้นเมื่อ 2018-07-18.