สุรพงษ์ ตรีรัตน์
สุรพงษ์ ตรีรัตน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2500 และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี 3 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500
สุรพงษ์ ตรีรัตน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ประวัติ
แก้สุรพงษ์ ตรีรัตน์ เป็นบุตรของเกิด และกิมโซ๊ะ ตรีรัตน์ เกิดที่จังหวัดจันทบุรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ และเข้าศึกษาระดับปริญาตรี ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เขาสมรสกับอุบล ตรีรัตน์ มีบุตรธิดา 8 คน
การทำงาน
แก้หลังจบการศึกษาแล้ว สุรพงษ์ ได้เปิดสำนักงานทนายความตรีรัตน์ และประกอบอาชีพทนายความ[1] ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี สมัยแรก และต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในนามพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งนำโดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และสุรพงษ์ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป.[2] จนกระทั่งคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร
สุรพงษ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งโดยไม่สังกัดพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 หลังจากนั้นเขาได้รับตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพฯ[3] คนสุดท้ายก่อนจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ โรงพยาบาลกลาง
- ↑ "วุฒิสภาไทยชุดที่ 3" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙๓, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔