เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เป็นบุตรของนายเหลียง กับนางเจียม เปี่ยมพงศ์สานต์
เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 (0 ปี 27 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ประกอบ หุตะสิงห์ |
ถัดไป | ทวิช กลิ่นประทุม บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (0 ปี 169 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ทวิช กลิ่นประทุม บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ |
ถัดไป | บุญชัย บำรุงพงศ์ อัมพร จันทรวิจิตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง |
เสียชีวิต | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (93 ปี) อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง |
คู่สมรส | นางโสภา เปี่ยมพงศ์สานต์ |
ลายมือชื่อ | |
นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นนักการเมืองจังหวัดระยอง ที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดระยอง ถึง 8 สมัยติดต่อกัน ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รองนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเก็บภาษียาสูบและสุรา ที่ยังคงมีการจัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน
ประวัติการศึกษา
แก้เมื่อแรกเข้าเรียนหนังสือ นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เรียนเก่ง สมองดี ทำให้การเรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และปีที่ 3 ของท่าน เรียนเพียงชั้นละครึ่งปีเท่านั้น และได้ทุนเรียนมาตลอดจนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 อันเป็นชั้นสูงสุดที่มีในจังหวัดระยอง เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 แล้ว ได้เดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปี พ.ศ. 2465 จนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 เมื่ออายุ 18 ปี
- พ.ศ. 2472 สมัครเข้าเรียนด้านวิชากฎหมายที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2475 จบเนติบัณฑิต เมื่ออายุได้ 22 ปี
- พ.ศ. 2482 สำเร็จปริญญาโท ทางเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติการทำงาน
แก้- พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยองสมัยแรก
- ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- พ.ศ. 2491 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 2
- ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[1]
- พ.ศ. 2495 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 3
- พ.ศ. 2500 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 4[2]
- พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี สั่งราชการกระทรวงการคลัง[6] ต่อมาแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[7] ริเริ่มให้มีการเก็บภาษียาสูบและสุรา
- พ.ศ. 2512 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 6
- พ.ศ. 2518 ตั้งพรรคการเมืองชื่อ “พรรคเกษตรสังคม” โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
- เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 7
- ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[8]
- พ.ศ. 2519 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง สมัยที่ 8
- ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[9] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[10] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่[11]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
งานเขียน
แก้- พ.ศ. 2485 แต่งสุภาษิต หนักก็เอาเบาก็สู้
- พ.ศ. 2486 แต่งคำฉันท์ เรื่องวีรชน แต่งบทร้อยกรองหัวข้อสิบปีแห่งวัฒนชัย
- พ.ศ. 2498 แต่งหนังสือพุทธวิปัสสนา
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
แก้- พ.ศ. 2507 เป็นผู้จัดหาทุนสร้างพุทธประทีป กรุงลอนดอน
- สมาชิก “วรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย”
เกียรติยศ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
รางวัล
แก้- พ.ศ. 2529 ได้รับโล่เกียรติคุณจากคณะกรรมการจัดงานฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่ ในฐานผู้ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของท่านสุนทรภู่
- พ.ศ. 2536 ได้รับโล่เกียรติคุณจากสภากวีไทย ในฐานะผู้ส่งเสริมและสร้างสรรค์วรรณคดีไทย
- พ.ศ. 2537 ได้รับการประกาศให้เป็นผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านภาษาและวรรณคดี
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรัฐมนตรีสั่งราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (นายเสวตร เปี่ยมพงษ์สานต์ นายชื่น ระวิวรรณ พลตรี เนตร เขมะโยธิน นายทิม ภูริพัฒน์ นายอารีย์ ตันติเวชกุล)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๙ก วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๕๑๑, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
ก่อนหน้า | เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
บุญชู โรจนเสถียร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.37, ครม.38) (21 เมษายน พ.ศ. 2519 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) |
สุพัฒน์ สุธาธรรม | ||
สมหมาย ฮุนตระกูล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.35) (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2518) |
บุญชู โรจนเสถียร |